กึ่งสำเร็จรูป

ผู้เขียน : กึ่งสำเร็จรูป

อัพเดท: 20 พ.ย. 2013 09.06 น. บทความนี้มีผู้ชม: 75385 ครั้ง

เข้าเนตบ่อยๆ
แชตกันเป็นประจำ
เจอศัพท์เด็ด น่าสนใจ ก็เอามาให้ดูกัน


EHIA การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จากข่าวกรณีคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ เราจะได้ยินคำว่า EHIA เต็มไปหมด

EHIA คืออะไร

EHIA มาจากตัวย่อของ EIA และ HIA ซึ่งเป็นการศึกษาถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่ง HIA จะเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาผลกระทบใน EIA โดย EIA เป็นตัวย่อมาจาก Environmental Impact Assessment ซึ่งหมายถึง  การประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะมีผลต่อสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง การประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะมีผลต่อสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง

สำหรับประเทศไทยได้ประกาศใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นทางการฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518 ซึ่งในปีในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกฎหมายสิ่งแวดล้อมออกเป็น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ในส่วนของการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และกฎหมายฉบับดังกล่าวได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์แก่ผู้รักษาการ (แต่ยังมิได้ระบุไว้ในมาตราโดยตรง) วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องนำเสนอพร้อมรายงานฯ เพิ่มเติม

โดยที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ระบุไว้ชัดในมาตราที่ 56 โดยมีประเด็นหลักที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาใด ๆ ก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตชุมชน จะไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการใด ๆ หากไม่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อน ดังนั้น จากกฎหมายหลักฉบับนี้ของไทย ทำให้กฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว

ทำไมต้องมีการทำ EHIA

เนื่องจากมีโครงการพัฒนาต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นของรัฐ และเอกชน จึงจำเป็นต้องมีการทำ EIA และ HIA เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมหรือเรื่องสุขภาพ

โครงการที่ต้องจัดทำ EIA

  1. โครงการด้านเหมืองแร่และการพัฒนาปิโตรเลียม
  2. โครงการด้านอุตสาหกรรม
  3. โครงการด้านคมนาคม
  4. โครงการด้านพัฒนาชุมชนและที่พักอาศัย
  5. โครงการด้านแหล่งน้ำและพัฒนาเกษตรกรรม

ข้อมูลจาก : wikipedia.org, mnre.go.th
ภาพประกอบ : facebook.com/Sasin.Chalermlarp


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที