เมตตา

ผู้เขียน : เมตตา

อัพเดท: 26 พ.ค. 2007 10.49 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1833757 ครั้ง

การทำแผนธุรกิจแบบใหม่ ที่เน้นการใส่แนวความคิดเรื่องนวัตกรรมใหม่เข้าไปด้วย ระดมสมอง และ สร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มทีมบริหารทุกผ่าย ภายใต้บรรยากาศธรรมชาติเขาใหญ่


ขั้นตอนที่ 16 การจัดทำกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ – แผนปฏิบัติการของฝ่ายสารสนเทศ

องค์กรระดับใหญ่ มีศักยภาพที่จะลงทุนด้านระบบสารสนเทศสูง บางองค์กรถึงขนาดสร้าง Decision Rooms หรือ ห้อง Management Cockpit ซึ่งเป็นห้องประชุมที่ออกแบบให้มีสภาวะเหมาะสมต่อการรับรู้และตัดสินใจของผู้บริหาร 

ห้อง Management Cockpit นี้จะประกอบด้วยโต๊ะประชุมอยู่กลางห้อง ผนัง 3 ด้านของห้องจะประกอบด้วยจอแสดงผลดัชนีชี้วัดหลักด้านละ 6 จอ และจอแต่ละจอจะมีกราฟแสดงดัชนีชี้วัดผลจอละ 6 รูป เนื่องจากมีผลงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าสายตาของมนุษย์จะรับรู้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มทีครั้งละไม่เกิน 6 ภาพ และแต่ละภาพควรจะมีขนาดเท่า ๆ กัน  ลองตรวจสอบดูด้วยตาของตนเองว่าเป็นจริงหรือไม่

 

 

18646_729_ecard.jpg


 

18646_138_6823636.jpg



18646_95nature_waterfall02-s_6823696.jpg


18646_09135_014.jpg

18646_2384847_2b.jpg

   18646__rad3061276331009569828111260.jpg

               

     

 

จอเหล่านี้จะมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาเพื่อช่วยให้ที่ประชุมสามารถดึงข้อมูลที่ต้องการขึ้นมาแสดงผลสำหรับประกอบการนำเสนอและใช้ในการตัดสินใจได้

แต่ถ้าเราต้องการจะจำลองห้อง Management Cockpit ได้อย่างง่าย ๆ ด้วยการทดลองจัดทำข้อมูลแสดงผลเป็น 6 ช่องต่อหน้า ดังตัวอย่างข้างต้น

 

เนื่องจากข้อมูลของแต่ละองค์กรเริ่มมีมากขึ้น และข้อมูลที่ใช้งานได้ต้องมีการจัดหมวดหมู่และการประมวลผลก่อนจึงจะนำไปใช้ประโยชน์และช่วยในการตัดสินใจได้  ข้อมูลจำนวนมากมายเหล่านี้ไม่สามารถใช้คนในการรวบรวม จัดเก็บและประมวลคนได้แล้ว  อย่างน้อยในสำนักงานแต่ละแห่ง ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยในการพิมพ์งานและเก็บข้อมูล

ข้อมูล (Data) คือ ข้อมูลดิบที่ได้จากการปฏิบัติงานและทำการบันทึกไว้

สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ได้รับการรวบรวม ตรวจสอบความถูกต้อง จัดหมวดหมู่  และประมวลผลแล้ว

ลำดับขั้นของการพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้

1.      IT INFRA-STRUCTURE  คือ การจัดให้มีระบบโครงสร้างพื้นฐาน เครือข่าย และอุปกรณ์ต่าง ๆ  เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์  โปรแกรม  การจัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่ายภายในและการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายกับภายนอก

2.     Operational Level Processes  คือ สามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการประมวลผลได้ ทั้งทางด้านการตลาด  การขาย  การเงิน  การผลิต  ด้านบุคลากร 

3.      Knowledge Level Processes  คือ ระดับที่สามารถใช้ประโยชน์ในการรวบรวม จัดหมวดหมู่ความรู้ ถ่ายทอดความรู้ระหว่างหน่วยงาน และกับคู่ค้าได้  เป็นส่วนหนึ่งของการทำ KM (Knowledge Management)

4.    Management Level Processes คือ ระดับที่สามารถใช้ข้อมูลในการบริหารจัดการ ทำการวิเคราะห์และการตัดสินใจได้

5.     Strategic Level Processes คือ ระดับที่สามารถใช้ข้อมูลเพื่อดูแนวโน้ม พยากรณ์ยอดขาย  การตลาด  การเงิน  การผลิต  และสามารถใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ในแต่ละด้านได้

 

องค์กรที่มีการตั้งหน่วยงานด้านสารสนเทศ  ต้องมีการวางแผนงานเป็นอย่างดีและต้องสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรให้มาก  เนื่องจากการลงทุนพัฒนาทางด้านนี้ต้องใช้เงินทุนสูง  ระบบค่อนข้างใหญ่  และเมื่อดำเนินการและใช้งานไปแล้ว  ข้อมูลผลการปฏิบัติงานจะค่อย  ๆ สะสมเข้าไปอยู่ในระบบสารสนเทศอย่างมากมาย  ถ้าเริ่มต้นวางรากฐานไม่ถูกต้องแล้ว  การจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านไปแล้วจะไม่เกิดประโยชน์  มีหลายองค์กรมีปัญหาอย่างมากเมื่อต้องการเปลี่ยนระบบโปรแกรมใหม่  หรือต้องเสียเวลาในการปรับตัวหลายเดือน 

เช่นกันการคัดเลือกกลยุทธ์และจัดทำแผนปฏิบัติการของหน่วยงานด้านสารสนเทศต้องให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของหน่วยงานอื่นเช่นกัน เพราะเป็นหน่วยงานที่ต้องเป็นฝ่ายสนับสนุนให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งองค์กร ดังนั้นต้องย้อนกลับไปตรวจสอบกลยุทธ์ในขั้นตอนที่ 6 ตรวจสอบสมรรถนะการแข่งขันขององค์กร  ขั้นตอนที่ 8 และ 9 การเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรและกลยุทธ์ระดับธุรกิจก่อน  หลังจากนั้นให้ตรวจสอบแผนปฏิบัติการของฝ่ายอื่น ๆ  ประกอบ

ตัวอย่างเช่น 

•            ถ้าฝ่ายผลิตคัดเลือกกลยุทธ์ในการปรับปรุงระบบลอจีสติกส์  และใช้ SCM (Supply chain management ) เป็นเครื่องมือในการปรับปรุง  ฝ่ายสารสนเทศต้องมีแผนปฏิบัติการสนับสนุนโดยจัดหาโปรแกรมซอฟท์แวร์สนับสนุน ติดตั้งโปรแกรม  จัดอบรมการใช้งาน  และช่วยในการประมวลผลข้อมูล 

•            ถ้าฝ่ายผลิตคัดเลือกกลยุทธ์ปรับปรุงระบบการวางแผนการผลิตและควบคุมระดับวัตถุดิบ  ฝ่ายสารสนเทศต้องมีแผนปฏิบัติการสนับสนุนจัดหาโปรแกรมวางแผนที่เหมาะสมให้  หรือ ซอฟท์แวร์  เช่น ระบบ MRP หรือ ERP เป็นต้น 

      การลงทุนทางด้านสารสนเทศเป็นการลงทุนเพื่อหวังผลความสะดวกรวดเร็วในการวิเคราะห์ข้อมูล  และใช้ในการตัดสินใจ  ซึ่งต้องใช้เงินทุนสูง ผู้บริหารระดับสูงต้องเป็นผู้เห็นคุณค่า และให้การสนับสนุนอย่างจริงจังจึงจะประสบความสำเร็จได้


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที