เมตตา

ผู้เขียน : เมตตา

อัพเดท: 26 พ.ค. 2007 10.49 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1833116 ครั้ง

การทำแผนธุรกิจแบบใหม่ ที่เน้นการใส่แนวความคิดเรื่องนวัตกรรมใหม่เข้าไปด้วย ระดมสมอง และ สร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มทีมบริหารทุกผ่าย ภายใต้บรรยากาศธรรมชาติเขาใหญ่


ขั้นตอนที่ 5 วิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงทางธุรกิจ

การวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงทางธุรกิจ จะใช้ธุรกิจที่เราอยู่เป็นตัวตั้ง  แล้วมองสิ่งแวดล้อมรอบธุรกิจและตัวธุรกิจเองว่า มีอะไรบ้างที่เป็นจุดสำคัญ  และถ้าจุดนั้นสำคัญถึงขนาดที่เรียกว่า ถ้าเกิดผลกระทบเลวร้ายแล้วกับจุดนี้แล้ว ธุรกิจของเราอาจมีปัญหาได้  จุดนี้คือ Critical point

                     วัฎจักรของการประเมินความเสี่ยง  เริ่มต้นจาก

 

1.       กำหนดความเสี่ยง 

ตรวจสอบดูว่าในธุรกิจของเรามีอะไรที่เป็นความเสี่ยงบ้าง  ลองตรวจสอบดูที่ละด้านดังนี้

– ด้านการตลาด

– ด้านการผลิต

– ด้านการเงิน

– ด้านบุคลากร

–แถมด้วยด้านอื่น ๆ  ถ้าพบว่ามีมากกว่าที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

 

2.       ประเมินความเสี่ยง

เมื่อสามารถระบุจุดวิกฤตหรือความเสี่ยงได้แล้ว ต้องประเมินให้ดีอีกครั้งว่า ความเสี่ยงนี้รุนแรงระดับไหน จัดลำดับความเสี่ยง เรียงตามลำดับความรุนแรง

 

3.       กำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันความเสี่ยง

เมื่อจัดลำดับความเสี่ยงได้แล้ว   ให้ลองพิจารณาจุดวิกฤตแต่ละตัว ดังนี้

– สาเหตุของการเกิดจุดวิกฤตนั้น ๆ

– ผลกระทบของจุดวิกฤตที่จะเกิดกับธุรกิจเป็นอย่างไร

– ถ้าจะเกิดจุดวิกฤตนั้นจะมีอะไรเป็นตัวบอกเหตุ

– ถ้ามีแนวโน้มว่าจะเกิดจุดวิกฤตนั้นกับวงการธุรกิจที่เราอยู่  องค์กรจะป้องกันอย่างไร

– และถ้าจุดวิกฤตนั้นมาถึงแล้ว  องค์กรจะมีมาตรการอะไรมาแก้ไข

 

4. ประเมินผลของมาตรการแก้ไขและป้องกัน

อยากให้ทีมงานที่ทำแผนธุรกิจ  วิเคราะห์ดูให้ดีว่า

– ความเสี่ยงตัวไหนที่เราผ่านเลยไปแล้ว และเราผ่านมันไปได้อย่างไร มาตรการอะไรที่เคยใช้ได้ผล

– ความเสี่ยงตัวไหนที่กำลังเผชิญอยู่  และมาตรการแก้ไขที่เราใช้อยู่  มีการประเมินหรือไม่ว่า มาตรการแก้ไขนั้น ใช้ได้ผลหรือไม่  ถ้าใช้ไม่ได้ผลเราต้องปรับกลยุทธ์อย่างไร

– ความเสี่ยงตัวไหนที่กำลังจะมาถึง  มาตรการป้องกันที่วางไว้ได้ลงมือทำแล้วหรือยัง ทำแล้วเป็นอย่างไร  ต้องปรับกลยุทธ์ใหม่หรือไม่

– ความเสี่ยงตัวไหนที่ยังมาไม่ถึง  องค์กรได้ศึกษาความเป็นไปได้หรือไม่ว่า มาตรการป้องกันที่เตรียมไว้  จะได้ผลดีหรือไม่  หรือเคยใช้ได้ผลในองค์กรอื่น ๆ หรือไม่

– และที่สำคัญควรกำหนดความถี่ในการประเมินผลมาตรการแก้ไขและป้องกันเป็นระยะ ๆ เพื่อจะได้คอยปรับแผนกลยุทธ์ใหม่ ถ้าเห็นว่าไม่ได้ผล

                    

              นี้คือการเตรียมความพร้อมขององค์กรที่สำคัญมาก  องค์กรที่ดีในปัจจุบัน ต้องมีความตื่นตัว ยืดหยุ่น รู้จักปรับตัวเพื่อรับสถานการณ์ยุ่งยากได้ง่าย


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที