GIT Information Center

ผู้เขียน : GIT Information Center

อัพเดท: 02 เม.ย. 2018 08.12 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1389 ครั้ง

กลุ่มประเทศตะวันออกกลางนับเป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง และข้อได้เปรียบของภาพลักษณ์สินค้าไทยที่ได้รับการยอมรับจากชาวอาหรับว่าเป็นสินค้าดีที่มีคุณภาพสูง โดยตลาดที่ไทยน่าจะเข้าไปทำตลาดขยายฐานการค้าอัญมณีและเครื่องประดับโดยตรง ได้แก่ โอมาน บาห์เรน และกาตาร์ ซึ่งประเทศเหล่านี้มีช่องทางสำหรับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยอย่างไรอ่านต่อได้ที่: https://infocenter.git.or.th/Content_View.aspx?id=2428&Lang=TH&mail=1


เจาะขุมทรัพย์โอมานและบาห์เรนเปิดตลาดใหม่อัญมณีและเครื่องประดับไทย

 

ประเทศโอมาน

กลุ่มประเทศตะวันออกกลางนับเป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง และข้อได้เปรียบของภาพลักษณ์สินค้าไทยที่ได้รับการยอมรับจากชาวอาหรับว่าเป็นสินค้าดีที่มีคุณภาพสูง จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะเจาะเข้าตลาดตะวันออกกลาง

ตลาดที่ไทยควรเร่งรุกบุกตลาด นอกจากสหรัฐอาหรับ-เอมิเรตส์ ซึ่งมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี และเป็นประเทศผู้นำเข้าและส่งออกต่อไปยังประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลางให้กับไทยแล้ว ไทยยังมีโอกาสใหม่ที่จะเจาะเข้าไปยังประเทศอื่นๆ ได้เองโดยตรง อย่างเช่น โอมาน เป็นประเทศหนึ่งที่ประชาชนมีกำลังซื้อสูง และผู้ค้าส่งจากดูไบหลายรายได้เข้าไปเปิดกิจการขายส่งสินค้าในประเทศนี้ ดังนั้น ไทยก็สามารถขายสินค้าผ่านพ่อค้าผู้มากประสบการณ์เหล่านี้ไปให้กระจายต่อในโอมาน รวมถึงใช้โอมานเป็นฐานเชื่อมการค้าเข้าสู่ตลาดตะวันออกกลางได้ 

 

ประเทศบาห์เรน

 

ประเทศกาตาร์

ตลาดบาห์เรน เป็นอีกหนึ่งประเทศที่เสถียรภาพทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และเปิดกว้างทางวัฒนธรรมมากกว่าประเทศอาหรับอื่นๆ อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศไทยมาเป็นเวลานาน และสินค้าไทยก็ได้รับการยอมรับ รวมถึงมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อไปยังเพื่อนบ้านได้สะดวก จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะสามารถส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไปยังตลาดบาห์เรนได้เพิ่มมากขึ้น  และเหมาะจะเป็นประตูการค้าเข้าสู่ตลาดตะวันออกกลางได้เช่นเดียวกัน กาตาร์ เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และปัจจุบันผู้นำเข้าชาวกาตาร์ ลดการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับผ่านสหรัฐ-อาหรับเอมิเรตส์ โดยหันมานำเข้าสินค้าจากไทยโดยตรงมากขึ้น จึงทำให้สินค้าจากไทยทั้งเครื่องประดับทอง เพชรเจียระไน และเครื่องประดับแพลทินัมเติบโตในตลาดกาตาร์เป็นอย่างมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับไทยจึงควรหยิบฉวยโอกาสอันดีนี้ เร่งบุกเจาะตลาดเหล่านี้ให้เร็วที่สุด เพื่อครองความเป็นผู้นำในตลาดก่อนที่ประเทศอื่นจะเข้าไปยึดครองพื้นที่จนไม่เหลือที่ว่างให้ไทย

ทั้งนี้ การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำไปยังตะวันออกกลางในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2561 มีมูลค่า 108.89 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 10.98 สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องประดับทอง เพชรเจียระไน และเครื่องประดับเงิน

 

--------------------------

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เมษายน 2561


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที