ขนิษฐา

ผู้เขียน : ขนิษฐา

อัพเดท: 16 ม.ค. 2007 11.28 น. บทความนี้มีผู้ชม: 347461 ครั้ง

เข้าใจ เรียนรู้ถึงปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับน้ำที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม


สีย้อม

สีย้อม (dyestuffs)  คือ  สีชนิดหนึ่งที่ใช้ในการย้อมเส้นใยของผ้า อาจจะเป็นสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ก็ได้  มีลักษณะเป็นผลึกหรือผงละเอียด   สีย้อมบางชนิดละลายน้ำได้   บางชนิดจะไม่สามารถละลายน้ำแต่จะละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ได้   เมื่อนำสีย้อมไปใช้ในกระบวนการย้อมจะทำให้โมเลกุลของสีย้อมซึมผ่านเข้าไปในโมเลกุลของเส้นใยโดยจะทำลายโครงสร้างผลึกของวัตถุนั้นชั่วคราว  ซึ่งอาจเกิดพันธะไอออนิก(ionic  bond)  หรือพันธะโควาเลนท์ (covalent  bond) กับวัตถุที่ต้องการย้อมโดยตรง   สีที่เห็นจากสีย้อมนั้นเกิดจากอิเล็กตรอนในพันธะคู่ซึ่งอยู่ในโมเลกุลของสีย้อมนั้นมีความสามารถดูดกลืนพลังงานในช่วงสเปคตรัมต่างกัน พลังงานแสงที่สายตามองเห็นจะมีความยาวคลื่นช่วง 400 – 700 นาโนเมตร  สีย้อมที่มีโครงสร้างทางโมเลกุลต่างกันจะมีความสามารถในการดูดกลืนพลังงานแสงที่ช่วงความยาวคลื่นต่างๆ กันไป ซึ่งสายตาสามารถรับภาพได้  จึงทำให้โมเลกุลสีย้อมต่างโทนสีกันแสดงสีให้เราเห็นด้วยสายตาออกมาเป็นต่างกันไป   ทั้งนี้เราสามารถแบ่งสีย้อมออกได้เป็น  2  ประเภทใหญ่ๆ  คือ

สีย้อมธรรมชาติ ( natural  dyestuffs) เป็นสีย้อมที่มาจากแหล่งธรรมชาติ    โดยเฉพาะพืชและสัตว์    สีย้อมที่มาจากส่วนประกอบพืช  เช่น   ส่วนลำต้น  ส่วนดอก  ส่วนที่เป็นเปลือก  ส่วนที่เป็นใบ  เป็นต้น  ตัวอย่างเช่น  สีดำจากลูกมะเกลือ   สีน้ำเงินจาก        ต้นคราม  สีเหลืองจากเนื้อไม้โอ๊ก   สีแสดจากดอกกรรณิการ์   สีแดงจากรากต้นเข็ม   ส่วนสีย้อมที่มาสัตว์  เช่น  สีม่วงแดงของครั่ง  สีม่วงจากหอยสังข์หนาม  เป็นต้น

สีย้อมสังเคราะห์ (synthetic  dyestuffs) เป็นสีย้อมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทางเคมี 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที