KC

ผู้เขียน : KC

อัพเดท: 01 ก.พ. 2007 12.46 น. บทความนี้มีผู้ชม: 200862 ครั้ง

โลกของเรากำลังป่วยไข้แล้วครับ ภูมิอากาศโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว มนุษย์โลกจะำำแก้ไขสถานการณ์นี้ำำได้อย่างไร


เกิดอะไรขึ้นกับโลกของเราเมื่อโลกร้อนขึ้น

เมื่อมนุษย์โลกเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งอย่างต่อเนื่อง ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกก็จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน และแน่นอนอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกก็จะเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน และมีผลทำให้ภูมิอากาศอากาศโลกเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผลโดยตรงหรือเกิด direct effect  ขึ้น และทำให้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ หรือ spiral effect ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่งก็ถึงจุดที่เรียกว่า No return point ซึ่งธรรมชาติไม่อาจจะเยียวยาตัวเองได้อีกแล้ว (self curing) ซึ่งเป็นจุดที่นักวิทยาศาสตร์วิตกอยู่


ตัวอย่างของผลกระทบทางตรง (direct effect)

 

โลกร้อนขึ้น                         เกิดไฟป่า                                   เกิดความแห้งแล้ง

เมื่อโลกร้อนขึ้นก็จะทำให้หลายส่วนของโลกเกิดภาวะแห้งแล้ง เกิดไฟป่าขึ้นรวมถึงมนุษย์บุกรุกทำลายป่าเพื่อแสวงหาที่ทำกินเพิ่มขึ้นทดแทนพื้นที่ที่แห้งแล้งหรือขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ป่าไม้ที่เคยเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเพิ่มออกซิเจนให้กับโลกหรือเป็นปอดของโลกลดลงอย่างรวดเร็ว ไฟป่าที่เพิ่มขึ้นก็จะเผาผลาญป่าไม้ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูงขึ้นในชั้นบรรยากาศของโลก เป็นวงจรที่ไม่สิ้นสุด และยังทำให้พื้นดินบริเวณดังกล่าวแห้งแล้ง และอาจเปลี่ยนเป็นทะเลทรายได้อีกด้วย 

 

โลกร้อนขึ้น                         น้ำแข็งละลายมากขึ้น                    อุณหภูมิโลกสูงขึ้น                  น้ำแข็งใหม่ลดลง

แต่เดิมฤดูร้อนของบริเวณขั้วโลกเหนือจะมีน้ำแข็งบางส่วนละลาย แต่ก็มีน้ำแข็งเหลืออยู่ในปริมาณที่มากพอที่จะทำให้ฤดูหนาวที่มาถีงมีอุณหภูมิต่ำเพียงพอที่จะทำให้เกิดน้ำแข็งใหม่เพื่อทดแทนน้ำแข็งที่ละลายไปในฤดูร้อนหมุนเวียนเป็นวัฏฏจักรเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อโลกร้อนขึ้นจะทำให้น้ำแข็งละลายในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆ และมีน้ำแข็งเหลืออยู่ในฤดูหนาวน้อยลงก็จะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวสูงขึ้น เกิดเป็นน้ำแข็งใหม่น้อยลง ทำให้เป็นไปได้ว่า ในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 2030 บริเวณขั้วโลกเหนือจะไม่มีจะน้ำแข็งเหลืออยู่เลย ซึ่งจะมีผลต่อการเกิดน้ำแข็งในฤดูหนาวอย่างแน่นอน

 

โลกร้อนขึ้น                          น้ำแข็งละลายมากขึ้น                            สะท้อนแสงอาทิตย์น้อยลง                            น้ำแข็งก็ยิ่งละลายมากขึ้น

ปกติแล้วน้ำแข็งบนพื้นดินและในมหาสมุทรจะสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์กลับสู่อวกาศได้ถึง 90%  แต่เมื่อโลกร้อนขึ้นน้ำแข็งก็จะละลายมากขึ้น และน้ำแข็งที่เหลืออยู่ก็จะสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์ได้น้อยลง เมื่อเป็นเช่นนี้อุณหภูมิของโลกก็จะสูงขึ้นไปอีก เกิดเป็นวัฏฏจักรที่น้ำแข็งละลายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่าลืมนะครับ ปกติแล้วจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกกักอยู่ในน้ำแข็ง เมื่อน้ำแข็งละลาย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่กักเก็บอยู่ก็จะกลับสู่ชั้นบรรยากาศ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้โลกร้อนขึ้นอีก

 

ตัวอย่างของ ผลกระทบทางอ้อม indirect effect

 

กระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรเปลี่ยนแปลง โลกยุคปัจจุบันเข้าสู่ยุคน้ำแข็งใหม่

โดยปกติแล้วกระแสน้ำในมหาสมุทรมีการไหลเวียนเนื่องจากความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างเขตร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตรกับเขตที่หนาวเย็นบริเวณขั้วโลก โดยน้ำอุ่นที่มีน้ำหนักเบากว่าน้ำเย็นและอยู่บริเวณผิวน้ำ จากเขตศุนย์สูตรไหลขึ้นเหนือและถ่ายเทความร้อนให้กับซีกโลกเหนือแล้ว กระแสน้ำแอตแลนติกก็จะมีความหนาแน่นเพิ่มขื้นและจมลงไปใต้ผิวน้ำไหลกลับสู่ซีกโลกใต้เพื่อเก็บความร้อนจากเขตศูนย์สูตรและไหลกลับสู่ซีกโลกเหนือเป็นวัฏฏจักรเช่นนี้ต่อไป แต่เมื่อน้ำแข็งในบริเวณมหาสมุทรอาร์กติกและเกาะกรีนแลนด์ละลายมากขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อน จะทำให้ความเค็มของน้ำทะเลลดลง ความเข้มข้นของน้ำทะเลมีการเปลี่ยนแปลง น้ำทะเลเบาขึ้นลอยนิ่งอยู่ที่ผิวน้ำ ทำให้วัฏฏจักรของกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกที่ให้ความอบอุ่นกับซีกโลกเหนืออาจจะหยุดไหลได้ และถ้าเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นจริง ซีกโลกเหนือก็จะกลับสู่ยุคน้ำแข็ง

 

18963_Figure 9.jpg

รูปที่ 9 กระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทร

 

หายนะของระบบนิเวศวิทยา

ผลกระทบกับระบบนิเวศวิทยาที่เห็นได้ชัดแห่งหนึ่งของโลกเกิดขึ้นบริเวณขั้วโลกเหนือ เมื่อหมีขั้วโลกซึ่งต้องเดินหากินอยู่บนแผ่นน้ำแข็ง เมื่อน้ำแข็งละลาย เขตหากินของหมีขั้วโลกแคบลง มีผลกระทบกับความอยู่รอดของหมีขั้วโลกจนมีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ได้ สัตว์อื่นๆที่เคยอยู่ในบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็น เมื่อโลกร้อนขึ้น สัตว์เหล่านั้นก็จะพยายามปรับตัว บางชนิดก็อพยพย้ายถิ่นไปยังบริเวณที่ยังมีอากาศหนาวเย็น สัตว์เหล่านั้นมีโอกาสที่จะสูญพันธ์ได้

 

18963_Figure 10.jpg
รูปที่ 10 หมีขาวขั้วโลกที่มีความเสี่ยงจะสูญพันธุ์เนื่องจากน้ำแข็งขั้วโลกละลายจากภาวะโลกร้อน

 

เกิดการระบาดของโรคต่างๆในหลายส่วนของโลก เช่น ในพื้นที่ที่เป็นเขตหนาว มีรายงานทางการแพทย์ว่ามีการระบาดของไข้เลือดออกซึ่งเป็นโรคในเขตร้อนในเขตเทือกเขาแอนดิส ประเทศชิลี โรคที่เคยควบคุมได้ ในเขตร้อนก็เกิดการระบาดขึ้นอีก เป็นต้น โดยที่เมื่อโลกร้อนขึ้นพาหะของโรค หรือแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสซึ่งต้นเหตุของโรคร้ายสามารถเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้โดยง่าย

 

ฝนตกหนัก น้ำท่วม พายุถล่ม

เมื่อโลกร้อนขึ้น อัตราการระเหยของน้ำบนดินและในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น ไอน้ำในชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งไอน้ำนี้เองก็มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับก๊าซเรือนกระจก ก็ยิ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้นอีก ทั้งหมดนี้มีผลต่อความกดอากาศของโลก ทำให้ในบางพื้นที่ที่แห้งแล้งก็เกิดฝนตก บางพื้นที่ที่เคยฝนตกก็เกิดภาวะแห้งแล้ง แม่น้ำ ลำน้ำแห้งผาก เปลี่ยนทิศทาง เกิดฤดูกาลที่ผิดปกติไปทั่วโลก

 

18963_Figure 11 (a).jpg
รูปที่ 11   พายุเฮอริเคน แคเทอรีนา ถล่มเมืองนิวออร์ลีน

 

อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกที่สูงขึ้น และ ความกดอากาศที่เปลี่ยนแปลง ก่อให้เกิดพายุเฮอริเคน ความเร็วสูง ขนาด F – 5 ที่ถล่มเมืองนิวออร์ลีน ของสหรัฐอเมริกา จากหลักฐานทางอุตุนิยมวิทยาพบว่าจำนวนของพายุทอร์ดาโน พายุเฮอริเคน และพายุไต้ฝุ่นที่เกิดขึ้นในรอบปี ค.ศ. 2004 – 2005 เพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 3 เท่าของคริสต์ศตวรรษที่ 20


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที