suriya

ผู้เขียน : suriya

อัพเดท: 12 มี.ค. 2019 08.52 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1144 ครั้ง

เรามาดูกันดีกว่าค่าเงินบาทอ่อนตัวและแข็งตัวนั้นเป็นอย่างไรกันบ้างดีกว่า


เรามาดูกันดีกว่าค่าเงินบาทอ่อนตัวและแข็งตัวนั้นเป็นอย่างไรกันบ้างดีกว่า

สำหรับใครก็ตามนั้นที่กำลังสนใจในเรื่องของการลงทุนในด้านการแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือการลงทุนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ หรือสำหรับใครก็ตามที่ต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ หรือใครก็ตามที่ต้องการซื้อสินค้าแต่ทว่าต้องมีการจ่ายเงินหรือ โอนเงิน ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐหรือสกุลเงินอื่นๆ นั้นก็อาจจะต้องเจอกับคำว่า ค่าเงินบาทแข็งตัวหรือค่าเงินบาทอ่อนตัวอย่างแน่นอน ซึ่งถ้าหากใครก็ตามที่เข้าใจคำๆ นี้นั้นก็จะสามารถหาช่องทางในการเรียกเงินเข้ากระเป๋าของตังเองๆ ได้อย่างแน่นอน

ซึ่งโดยปกติแล้วเวลาที่เราจะลงทุนหรือทำไรก็ตามนั้นโดยส่วนใหญ่ก็จะเริ่มมาจากการนำเงินฝากเข้าบัญชีเพื่อหวังเอา ดอกเบี้ยเงินฝาก หรืออาจจะมีการเปิดบัญชีเงินฝากประจำเพื่อหวัง ดอกเบี้ยเงินฝาก ที่เพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้สำหรับใครก็ตามเข้าใจเรื่องของค่าเงินนั้นก็อาจจะหาช่องทางรวยด้วย การโอนเงิน หรือรับแลกเปลี่ยนเงิน ซึ่ง การโอนเงิน ไปจ่ายค่าสินค้าที่อยู่ต่างประเทศในช่วงที่ค่าเงินแข็งตัวนั้นจะทำให้เราในฐานะที่ใช้เงินบาทนั้นได้เปรียบมากขึ้น ฉะนั้นเราไปดูกันว่ามันได้เปรียบอย่างไร และค่าเงินบาทแข็งตัวหรืออ่อนตัวนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไรกันดีกว่า

ค่าเงินอ่อนตัวนั้นก็หมายถึง อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทกับค่าเงิน ดอลลาร์สหรัฐ (US Dollar) เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ทำให้เงินบาทนั้นมีค่าลดลง ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น จากเดิมนั้นอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ  จะเท่ากับ 33 บาท แต่เมื่อค่าเงินบาทลดลงไป 5 บาท  ก็จะทำให้จากเดิมที่เราต้องใช้เงิน 33 บาทในการแลกเปลี่ยนกับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ นั้นเรากลับต้องใช้เงินเพิ่มเป็น 38 บาท เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนกับเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่าเดิม ซึ่งใครที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการต่างประเทศนั้นจำเป็นที่จะต้อง เช็คอัตราแลกเปลี่ยน กันทุกๆ วัน เพราะมันส่งผลกระทบต่อธุรกิจนั่นเอง

ส่วนค่าเงินบาทแข็งตัวนั้นก็จะอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับค่าเงินบาทอ่อนตัวนั่นแหละ ยกตัวอย่างเช่น ในอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวานนี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ นั้นเราจะใช้เงินบาทในจำนวน 33 บาทในการได้มา แต่เมื่อเรา เช็คอัตราแลกเปลี่ยน ในวันนี้กลับพบว่าค่าเงินบาทนั้นมีความแข็งตัวขึ้นไปที่ 2 บาท นั้นก็เท่ากับว่า จากการที่เราจะใช้  33 บาทในการแลกเป็น 1 ดอลลาร์สหรัฐนั้น เราก็ใช้เงินเพียงจำนวน 31 บาท ในการแลกเปลี่ยนเป็น 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้นเอง ซึ่งมันจะมีประโยชน์สำหรับคนที่ต้องการ โอนเงิน ไปต่างประเทศนั่นเอง

และที่เราได้กล่าวไปในข้างต้นนั้นก็เป็นลักษณะของค่าเงินแข็งตัวและอ่อนตัวนั้นเป็นอย่างไร ฉะนั้นด้วยลักษณะอัตราการแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงทำให้ทั้งเวลาที่ค่าเงินอ่อนตัวหรือแข็งค่านั้นก็จะมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะดังกล่าวมิใช่น้อย โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบนี้ก็จะแบ่งเป็นกลุ่มๆ และสาเหตุที่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงหรือแข็งตัวขึ้นก็เกิดได้จากหลายปัจจัยหลายๆ อย่าง ยกตัวอย่างเช่น มีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศสูง หรือมีการเก็งกำไรกับค่าเงิน หรือภาวะการส่งออกของไทยดีขึ้น รวมทั้งการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเป็นต้น

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที