วีระพล

ผู้เขียน : วีระพล

อัพเดท: 06 ก.ค. 2019 15.46 น. บทความนี้มีผู้ชม: 2486 ครั้ง

เครื่องวัดความหนาอัลตราโซนิกส์มีเซนเซอร์ (ทรานสดิวเซอร์) อยู่ 2 ประเภทคือ Piezoelectric และ EMAT มีความถี่มาตรฐานอยู่ที่ 5 MHz


ข้อดีและข้อเสียของเครื่องวัดความหนาอัลตราโซนิกส์

เครื่องวัดความหนาอัลตราโซนิกส์ (Ultrasonic Thickness Gauge) เป็นเครื่องมือวัดและทดสอบแบบไม่ทำลายวัสดุโดยใช้คลื่นอัลตราโซนิกส์
การใช้งานเครื่องวัดความหนาอัลตราโซนิกส์ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุเช่นความหนา ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมเครื่องมือวัด
ความสามารถของเครื่องมือวัดความหนาประเภทนี้คือไม่จำเป็นต้องเข้าถึงวัสดุที่ต้องการวัดทั้งสองด้าน ทำให้เหมาะแก่การใช้งานวัดท่อ, สีผิวเคลือบ
และวัสดุประเภทพลาสติก, แก้ว, เซรามิค, โลหะ และอื่นๆ

หลัการทำงาน
เครื่องวัดความหนาอัลตราโซนิกส์จะวัดค่าความหนาของวัสดุโดยการหาผลรวมของเวลา การเดินทางของเสียง จากทรานสดิวเซอร์
ผ่านวัสดุไปยังอีกด้านของวัสดุ หลังจากนั้นเครื่องวัดความหนาอัลตราโซนิกส์ จะคำนวณข้อมูลตามความเร็วของเสียงที่ผ่านวัสดุ เพื่อหาความหนาของวัสดุ

ข้อดี
1. เป็นเทคนิคการวัดและทดสอบแบบไม่ทำลาย
2. ไม่จำเป็นต้องเข้าถึงวัสดุที่ต้องการวัดทั้งสองด้าน
3. ความแม่นยำสูง 0.1 มิลลิเมตรหรือน้อยกว่า
4. สามารถนำไปใช้งานได้ง่าย ไม่ต้องใช้เงื่อนไขในห้องปฏิบัติการ
5. ราคาค่อนข้องถูก
6. EMAT ไม่จำเป็นต้องใช้สารตัวนำคลื่น
7. EMAT สามารถทำการวัดความหนาผ่านการกัดกร่อนและการเคลือบผิวบนโลหะ
8. ไม่จำเป็นต้องกำจัดสีผิวเคลือบบนโลหะ

ข้อเสีย
1. จำเป็นต้องมีการสอบเทียบสำหรับวัสดุแต่ละประเภท
2. ต้องมีการสัมผัสที่ดีกับพื้นผิวของวัสดุที่ต้องการวัด
3. ไม่สามารถทำการวัดค่าสนิม (ไม่ใช้ EMAT)
4. ต้องใช้สารตัวนำคลื่นระหว่างวัสดุที่ต้องการวัดกับโพรบ (ไม่ใช้ EMAT)
5. ต้องการผู้เชี่ยวชาญในการใช้งานเครื่องมือประเภทนี้


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที