สมหมาย

ผู้เขียน : สมหมาย

อัพเดท: 11 ก.ย. 2019 19.05 น. บทความนี้มีผู้ชม: 11319 ครั้ง

มอเตอร์ไซค์เป็นรถที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย เนื่องจากใช้ในชีวิตประจำวันหรือในครัวเรือนได้อย่างสะดวกสบาย แต่ในบางกรณีเราอาจหลงลืมหรือสภาพรถเก่าจนเราไม่ได้ขับขี่ และเมื่อเข็นขึ้นมาปลุกปั้นใหม่เพื่อจะใช้งานอีกครั้ง ทะเบียนรถคันนั้นก็ขาดกลายเป็นเรื่องผิดกฎหมายไปเสียแล้ว


มอเตอร์ไซค์ทะเบียนขาด ทำอย่างไรดี

เรามาดูขั้นตอนวิธีการต่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซด์ ขาดกันเลยครับ

 

มอเตอร์ไซค์เป็นรถที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย เนื่องจากใช้ในชีวิตประจำวันหรือในครัวเรือนได้อย่างสะดวกสบาย แต่ในบางกรณีเราอาจหลงลืมหรือสภาพรถเก่าจนเราไม่ได้ขับขี่ และเมื่อเข็นขึ้นมาปลุกปั้นใหม่เพื่อจะใช้งานอีกครั้ง ทะเบียนรถคันนั้นก็ขาดกลายเป็นเรื่องผิดกฎหมายไปเสียแล้ว

 

ในปี พ.ศ. 2559 กรมการขนส่งได้กำหนดให้เจ้าของรถยนต์ และ เจ้าของรถจักรยานยนต์ ที่ค้างขำระประจำปีเกิน 1 ปี หรือ ไม่เกิน 3 ปี ต้องนำรถยนต์เข้ารับการตรวจสภาพอีกทั้งเพิ่มเงินร้อยละ 1 ต่อเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมการขนส่งทางบก ได้มีการประกาศว่าจะระงับทะเบียนรถที่ค้างชำระรถ 3 ปี หลายคนมีความกังวลว่าหากขาดต่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซด์ ขาดนานขนาดนี้เราจะทำอย่างไรได้บ้าง หรือสามารถไปต่อได้หรือไม่?

ในกรณีที่รถค้างชำระภาษีเกิน 3 ปี ทะเบียนจะถูกระงับ ไม่สามารถดำเนินการโอนหรือย้ายทะเบียนได้ เจ้าของรถต้องดำเนินการดังนี้

1.นำสมุดคู่มือมาให้ทางราชการบันทึกการระงับทะเบียน และชำระภาษีค้างชำระ ณ สำนักงานขนส่งที่รถจดทะเบียน

2.ชำระภาษีที่ค้างตามที่เป็นจริง ตามอัตราภาษีรถประจำปีของรถแต่ละประเภทและเสียภาษีเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนจนถึงวันชำระ

3.แจ้งการขอใช้รถอีกครั้งหลังถอนอายัด พร้อมอัตราค่าธรรมเนียมและต้องซื้อ พรบ.ด้วยนะครับในขั้นตอนนี้

เอกสารและหลักฐานในการต่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซด์ ขาดนานเกิน 3 ปี

3.1 สมุดคู่มือจดทะเบียน ที่บันทึกการระงับทะเบียนแล้ว (ตัวจริงเท่านั้น พร้อมสำเนา)

3.2 บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ (ตัวจริงพร้อมสำเนา)

3.3 หลักฐานการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

3.4 หลักฐานการได้มาของรถ เช่น หนังสือสัญญาซื้อขาย หรือหลักฐานการขายทอดตลาด (กรณีมิได้จดทะเบียนในชื่อเจ้าของเดิม)

3.5 หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล อายุการใช้งานไม่เกิน 6 เดือน)

3.6 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม กรณีเป็นนิติบุคคล

3.7 หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่เจ้าของรถไม่สะดวกไปดำเนินการ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ

ค่าธรรมเนียม

- ค่าจดทะเบียนรถใหม่ 315 บาท

- ค่าสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ 100 บาท

- ค่าแผ่นป้ายทะเบียนรถ ป้ายละ 100 บาท

- หลักฐานการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

- อัตราภาษีของรถแต่ละประเภท

- ค่าธรรมเนียมการตรวจสภาพ

- รถจักรยานยนต์ 10 บาท

- รถยนต์ 50 บาท

หมายเหตุ - ในกรณีที่ค้างชำระภาษี ครบกำหนด 3 ปี เจ้าของรถต้องคืนแผ่นป้าย และนำสมุดคู่มือมาให้ทางราชการบันทึกการระงับทะเบียน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นายทะเบียนระงับการดำเนินการทางทะเบียน หากไม่ไปดำเนินการ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยเราสามารถตรวจสอบอัตราภาษีที่ค้างชำระได้ที่ กรมการขนส่งทางบกโดยใช้เลขที่เล่มทะเบียนรถหรือตรวจสอบได้ที่ หมายเลขสายด่วนกรมการขนส่งทางบก 1584 ได้เช่นกัน

เพียงเท่านี้ มอเตอร์ไซค์คันโปรดของคุณก็กลับมาถูกต้องตามกฎหมาย ด้วยการต่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซด์ ขาดนานเกิน 3 ปี ตามขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วล่ะครับ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที