อายุน้อยร้อยกิโล

ผู้เขียน : อายุน้อยร้อยกิโล

อัพเดท: 07 ก.พ. 2020 04.15 น. บทความนี้มีผู้ชม: 57058 ครั้ง

ข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ ประกันสุขภาพ ประกันการเดินทาง ประกันอุบัติเหตุ และประกันภัยอื่นๆ เลือกความคุ้มครองแบบไหนดี บริษัทไหนดี ที่นี่มีคำตอบ


ต่อ พรบ รถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง พร้อมขั้นตอน ฉบับปี 2563

ต่อ พรบ รถยนต์

สำหรับขั้นตอนการ ต่อ พรบ รถยนต์ ปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากขึ้น เนื่องจากมีช่องทางที่หลากหลาย เช่น ช่องทางออนไลน์ หรือการต่อ พรบ โดยไม่ต้องลงจากรถ หรือต่อที่กรมขนส่งทางบก และสถานที่ต่างๆ ทำให้มีความสะดวกมากขึ้น รวดเร็วขึ้นกว่าเมื่อก่อนเยอะ ดังนั้นก่อนที่เราจะมาถึงขั้นตอนการต่อ พรบ รถยนต์ อยากให้รู้ถึงความหมายของ พรบ รถยนต์ กันก่อน

พรบ รถยนต์ คืออะไร 

พรบ รถยนต์ คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งคำว่า พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ เมื่อรวมกับคำว่า รถยนต์ นั่นก็คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กฎหมายบังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกต้องทำเพื่อเป็นหลักประกันให้กับคนที่โดยสารในรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และบุคคลภายนอก

ส่วนประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่เราคุ้นเคยกันดี เช่น ประกันชั้น 1 2 3 ประกันรถยนต์ 2+ 3+ เราจะต้องทำเพิ่ม โดยกฎหมายไม่บังคับจะทำไม่ทำก็ได้ แต่จะคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ และค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินจาก พรบ รถยนต์ นั่นเอง

ณ บทความนี้จะไม่ขอแนะนำเกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เพราะเป็นเรื่องที่คุ้นเคย และถ้าแนะนำบอกเลยว่ายาว ฉะนั้นจะขอไปแนะนำบทความต่อไป แต่บทความนี้ขอแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนการต่อ พรบ รถยนต์ กันก่อนดีกว่า ว่ามีขั้นตอนใดบ้าง

ขั้นตอนการต่อ พรบ รถยนต์

  1. ขั้นตอนการเตรียมเอกสาร กับเอกสารที่ต้องใช้ในการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ คือ ใบสำเนาเล่มทะเบียนรถ คือเอกสารที่ระบุรายละเอียดรถของเรา และต้องนำติดรถไว้ทุกครั้งจะถ่ายเป็นสำเนาก็ได้ เพราะถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจ เราก็ต้องมีให้ดู เพื่อยืนยันว่ารถคันนี้ไม่ใช่รถที่ถูกโจรกรรมมา
  2. เตรียมเอกสารรับรองการติดแก๊ส (กรณีรถยนต์ติดแก๊ส) จะต้องเตรียมเอกสารรับรองไม่ว่าจะเป็น NGV LPG ซึ่งมีข้อยกเว้น 3 ข้อก็คือ แก๊ส NGV/CNG ที่มีอายุน้อยกว่า 3 ปีหรือ LPG ที่มีอายุน้อยกว่า 5ปี หรือรถที่ติดแก๊สมาจากโรงงาน ไม่ได้เปลี่ยนระบบน้ำมันเป็นแก๊ส ให้ข้ามข้อนี้ได้เลย ไม่ต้องเตรียมเอกสารไป แต่ถ้าใครจะเอาให้แน่ใจจะเตรียมไปก็ไม่เสียหาย
  3. เตรียมเอกสารตรวจสภาพรถยนต์ เมื่อรถยนต์ของเรามีอายุการใช้งานเกิน 7 ปีขึ้นไป จะต้องมีการตรวจสภาพรถยนต์ที่กรมขนส่งทางบก หรือ ตรอ. (สถานตรวจสภาพรถเอกชน) เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่ารถของเราพร้อมที่จะวิ่งใช้งานบนถนนหรือไม่ ซึ่งข้อห้ามที่สำคัญในการตรวจสภาพคือ รถของเราต้องไม่มีการดัดแปลงสภาพใดๆทั้งสิ้น หรือผิดเพี้ยนไปจากสภาพที่จดทะเบียนเอาไว้ หากรถยนต์ที่อายุการใช้งานน้อยกว่า 7 ปีข้ามข้อนี้ไปได้เลย
  4. ขั้นตอนการต่อ พรบ รถยนต์ ขั้นตอนนี้หากใครที่ต้องการต่อ พรบ ล่วงหน้า สามารถทำล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือนหรือ 90 วัน ส่วนถ้าใครจ่ายภาษีล่าช้า จะต้องเตรียมค่าปรับ 1% ต่อเดือน ยกตัวอย่าง ภาษีรถยนต์ 1,000 บาท เราจะต้องเสียค่าปรับ 10 บาทนั่นเอง

และนี่คือขั้นตอนการ ต่อ พรบ รถยนต์ ที่สะดวกรวดเร็วในเรื่องของการเตรียมเอกสาร และขั้นตอนในการชำระค่า พรบ รถยนต์ ง่ายๆ ซึ่งผมได้ย่อมาให้แล้ว เพื่อสะดวกสำหรับคนที่อยู่ที่กรมขนส่งทางบกและต้องการคำตอบทันที ส่วนในเรื่องของการจ่ายภาษี ราคา พรบ รถยนต์ ให้อ่านบทความด้านล่างนี้

ที่มา : https://xn--12c4bcclbcj0eecc6e3elf7b46a.com/%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A-%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C/

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที