ปิยเดช

ผู้เขียน : ปิยเดช

อัพเดท: 29 พ.ย. 2009 17.38 น. บทความนี้มีผู้ชม: 206048 ครั้ง

(ตอนที่ 1 รู้จัก Just In Time อย่างแท้จริง)


เริ่ม JIT จากการปรับปรุงฝ่ายจัดส่ง

การจัดส่งหรือหน่วยงานด้านการขนส่งนั้นในอุตสาหกรรมแบ่งระบบออกได้เป็น 2 แบบ

1.        ระบบ MILK RUN คือ ระบบที่ทางลูกค้าจัดรถบรรทุกมารับสินค้าเอง ซึ่งเริ่มมาจากทาง โตโยต้า

2.        ระบบ NON MILK RUN คือ ระบบที่ผู้จัดส่งวัตถุดิบทำการส่งสินค้าไปให้กับลูกค้าเอง ซึ่งทั่วไปในหลายบริษัทจะเป็นแบบนี้

 

วัตถุประสงค์ของระบบ MILK RUN นั้น จัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดการขนส่งชิ้นงานทีละน้อยๆ แต่หลายเที่ยวได้อย่างคุ้มค่า ซึ่งเลียนแบบมาจากระบบการส่งนมในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในทุกๆ เช้าจะมีคนนำขวดนมเปล่ามาวางไว้หน้าบ้าน และรถส่งนมจะนำนมมาเปลี่ยนกับขวดเปล่าเป็นจุดๆ ไปเรื่อยๆ

 

การจัดทำระบบ MILK RUN นั้นช่วยให้เกิดการลดสต็อกวัตถุดิบ ซึ่งเราจะยังไม่อธิบายถึงระบบนี้ในตอนนี้

 

การปรับปรุงกระบวนการจัดส่ง ไม่ว่าจะเป็นระบบ MILK RUN หรือ NON MILK RUN สามารถดำเนินการได้เหมือนกันหมดโดยเริ่มจาก เวลาที่ลูกค้าต้องการให้สินค้าไปถึง (CUSTOMER ARRIVAL TIME) ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการจัดทำ SHIPPING TIME TABLE หรือ ตารางแสดงเวลาในการจัดส่ง ซึ่งสามารถแสดงข้อมูลดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 รอบเวลาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานลูกค้า A

CUSTOMER

PREPARATION

LOADING

DEPARTURE TIME

CUSTOMER ARRIVAL

A

8.00-8.30

08.40-09.10

9.10

13.00

A

9.10-9.40

11.30-12.00

12.00

15.00

A

13.00-13.30

13.30-14.00

14.00

17.00

 

ในตารางที่ 1 อธิบายได้ดังนี้ ลูกค้า A มีรอบส่ง 3 รอบต่อวัน ซึ่งเวลาที่ต้องส่งสินค้าไปถึงลูกค้า ได้แก่ เวลา 13.00, 15.00, และ 17.00 สำหรับเวลาในการเดินทางจากบริษัทไปลูกค้า A นั้นประมาณ 3 ชั่วโมง ดังนั้นในรอบ 13.00 รถจะต้องออกจาก (DEPARTURE) บริษัทก่อนเวลา 10.00 น โดยในครั้งนี้เรากำหนดที่ 9.10 น เป็นเวลาที่รถออก เวลาที่ต้องนำสินค้าขึ้นรถ (LOADING) กำหนดมาตรฐานที่ 30 นาที ทำให้เวลา LOADING เป็น 8..40-9.10 และเวลาจัดเตรียมสินค้า (PREPARATION) กำหนดมาตรฐานที่ 30 นาที เช่นกัน ทำให้ได้เวลา PREPARATION 8.00-8.30

 

จุดสังเกต ทำไมเราไม่ให้เวลา DEPARTURE เป็น 10.00 น เนื่องจาก สังเกตเวลาในรอบ 15.00 จะเห็นได้ว่า มีเวลาจัดงานจนถึงนำสินค้าขึ้นรถตั้งแต่ 9.10-12.00 ซึ่งในกรณีนี้กำหนดให้พื้นที่จัดเตรียมและ LOADING งานเป็นพื้นที่เดียวกันและพอดีกับการส่งงาน 1 รอบ เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถนำสินค้าต่างรอบส่งกันไปวางพร้อมกันได้ เราจึงต้องเหลื่อมเวลาไม่ให้มีการซ้อนทับกัน

 

เมื่อเราจัดทำตารางเวลาในทุกลูกค้าแล้วให้เรานำมาเรียงลำดับกัน และทำการไล่เวลาในช่วงของ PREPARATION จนถึงเวลา LOADING เช่น 8.00-9.10, 9.10-12.00, 13.00-14.00 โดยไล่รอบเวลาไม่ให้ซ้อนทับกัน จนครบ 24 ชั่วโมง หรือตามเวลาที่เราทำงาน อาจจะ 8.00-17.30 เป็นต้น วัตถุประสงค์ของการไล่รอบเวลานั้นเป็นการใช้พื้นที่ให้เต็มเวลา 24 ชั่วโมง และในขณะเดียวกันจะเป็นการควบคุม พนักงานจัดเตรียมงาน พนักงาน LOAD ให้ทำงานเต็มเวลาไม่มีเวลาว่าง ในกรณีที่รอบเวลาเหลือจากการไล่เวลาครั้งแรกให้ทำการไล่ซ้ำอีกครั้งซึ่งรอบใหม่นี้จะถือเป็นอีกพื้นที่จัดงานหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่พื้นที่เดิมที่เราไล่เวลาไปแล้ว และต้องมีการจัดพนักงานชุดใหม่เข้าประจำการด้วย (โดยทั่วไปเราเรียกพื้นที่แต่ละจุดเป็น LANE ซึ่งแต่ละ LANE จะมีขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 1 รถบรรทุก) การทำแบบนี้จะทำให้เรากำหนดพื้นที่ SHIPPING ได้อย่างพอเพียงต่อการทำงาน และยังกำหนดจำนวนพนักงานได้เหมาะสมกับปริมาณงานอีกด้วย

 

สำหรับการกำหนดจำนวนจุดจอดรถให้ใช้เวลาเฉพาะ การ LOADING เท่านั้นมาทำการไล่รอบ ก็จะได้จำนวนจุดจอดที่เหมาะสมและใช้พื้นที่อย่างคุ้มค้า

 

ในกรณีที่เราต้องการควบคุมรถบรรทุกให้มีการวิ่งส่งงานอย่างคุ้มค่า และทำการกำหนดเวลา CUSTOMER DEPARTURE หรือเวลารถออกจากลูกค้า และทำการคำนวณเวลากลับมาถึง บริษัท ซึ่งเวลาที่ต้องทำการไล่รอบคือเวลาตั้งแต่ LOADING จนถึงกลับมาบริษัท ซึ่งจะทำให้เรากำหนดจำนวนรถบรรทุกที่จำเป็นต้องใช้ได้อย่างถูกต้องและพอเพียง นอกจากนี้ยังควบคุมค่าน้ำมัน และเที่ยวรถได้อีกด้วย

 

เมื่อเราได้ข้อมูลทุกอย่างแล้วเราจึงทำการปรับปรุง LAYOUT หน้างานให้เป็นไปตามพื้นที่และจุดจอดที่เราคำนวณได้ จุดสำคัญของการปรับปรุงหน้างานนั้นเป็นเรื่องของ VISUAL CONTROL การตีเส้นแบ่งแยกพื้นที่ต้องชัดเจน มีการติดป้ายตัวหนังสือขนาดใหญ่บ่งบอกว่าเป็นพื้นที่ของอะไร รอบเวลาเป็นอย่างไรบ้าง  ตามที่เคยได้ยินมาควรจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะห่าง 5 เมตร จึงจะมีขนาดใหญ่เพียงพอ มีการกำหนด FIFO เข้าก่อนออกก่อนอย่างชัดเจน มีกำหนดทางเข้า และกำหนดทางออก จุด LOAD งานกับพื้นที่ SHIPPING นั้นควรห่างกันไม่เกิน 10 เมตร มีแสงสว่างไม่น้อยกว่า 100 LUX

 

ง่ายๆ ว่า เข้าไปในพื้นที่แล้วไม่หลงทางรู้เรื่องว่าเป็นพื้นที่อะไรมีไว้ทำอะไร

 

โปรดติดตาม ตอนที่ 4 ปรับปรุงสโตร์สินค้าให้ง่ายเพื่อเริ่มดึงงาน


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที