ฟ้ากว้าง

ผู้เขียน : ฟ้ากว้าง

อัพเดท: 12 เม.ย. 2007 16.36 น. บทความนี้มีผู้ชม: 15561 ครั้ง

เพราะความตายไม่อาจพรากจากกัน


แฝดสยาม (Siamese Twin)


อิน กับจัน เป็นเด็กฝาแฝดติดกันคู่แรกของโลกที่มีอายุยืนยาวที่สุดถึง 62 ปี
และได้รับบันทึกลงในกินเนสส์บุ๊ก  แต่ก่อนฝรั่งไม่เคยพบเห็นเด็กฝาแฝดที่มีร่างกายติดกัน
พอมาพบเด็กแฝดชาวไทย ชื่ออินกับจัน จึงเรียกเด็กฝาแฝดติดกันว่า
Siamese Twin
(Siamese = ชาวสยาม, Twin = ฝาแฝด)

เมื่อปลายรัชกาลที่ 3 มีเด็กคลอดออกมาจากครรโภทรหญิงชื่ออำแดงไข่
(อำแดงเป็นคำนำหน้าเรียกหญิงสมัยก่อน) เป็นภรรยาชาวจีนมีอาชีพขายหอมกระเทียม
อำแดงไข่เป็นชาวบางช้าง  เมื่อคลอดออกมาแล้วเด็กนั้นเป็นชายทั้งคู่
มีสายสะดือติดกันห่างยาวหนึ่งศอกกับสี่นิ้ว เด็กนั้นหน้าเหมือนกันราวกับพิมพ์เดียวกัน

ฝ่ายมีสเตอร์ฮันเดอร์ชาวอังกฤษ ตั้งห้างอยู่หน้าวัดประยูรวงศ์
มีสเตอร์ฮันเดอร์ของซื้อเด็กนั้นจากบิดามารดาเป็นเงินพันบาท

ครั้นต่อมามีกัปตันเรือค้าขายของอังกฤษเข้ามากรุงเทพฯ
กัปตันผู้นั้นซื้อเด็กแฝดไปจากมีสเตอร์ฮันเตอร์ในราคาประมาณหมื่นบาท

กัปตันเอเบล คอฟฟิน พ่อค้าคนที่ซื้ออิน-จันไปอเมริกา

กัปตันผู้นั้นพาเด็กฝาแฝดไปขายให้ชาวอเมริกาหลายหมื่นบาท
ชาวอเมริกาผู้นั้นพาเด็กฝาแฝดไปสำแดงกาย ให้มหาชนดูจนได้เงินหลายแสนหลายโกฏิ

เรือสินค้าที่กัปตันเอเบล คอฟฟิน พาอิน-จันไปอเมริกา

ภายหลังเด็กนั้นใหญ่จนมีอายุได้มากแล้วก็มีภรรยาเป็นชาวอเมริกัน
ทั้งสองคนนั้น มั่งมีสีสุกเป็นเศรษฐีใหญ่  คนพี่มีบุตร 6 คน คนน้องมีบุตร 9 คน

อิน-จัน กับภรรยาและลูก

เก้าอี้ของอิน-จัน

ปัจจุบันนี้มีผู้สืบเชื้อสายรุ่นเหลน และโหลนของ ฝาแฝดอิน จัน ที่มีชีวิตอยู่มากกว่าหนึ่งพันคน
น.ส.ทันย่า รีส และนางเบ็ตตี้ บุนเกอร์ แบล็คมัน (ซึ่งเป็นผู้สืบเชื้อสายของ อิน และจัน)
เล่าว่า.."ครอบครัวของอินจันมีลูกหลานฝาแฝดถึง 4 คู่ แต่ไม่มีคู่ไหนร่างกายติดกัน
ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในนอร์ธแคโรไลน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา
บางคนเป็นดำรงตำแหน่งสำคัญในสหรัฐฯเช่น ประธาน Union Pacific railroad
และนายพลแห่งฐานทัพอากาศสหรัฐฯ
ส่วนน.ส.ทันย่า รีส นั้นดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของสภาศิลปะเซอเรย์
ในเมาท์แอรี่ นอร์ธแคโรไลน่า

นางเบ็ตตี้ บุนเกอร์ แบล็คมัน และ น.ส.ทันย่า รีส
ผู้สืบเชื้อสายรุ่นเหลนและโหลนของอิน-จัน

ลูกหลานของ อิน กับ จัน ส่วนใหญ่จะใช้นามสกุล บุนเกอร์ หรือบังเกอร์
ที่เป็นเช่นนี้เพราะ อิน กับ จัน ใด้นามสกุลนี้จากเพื่อนบ้านนั้นเอง

เรียบเรียงจากหนังสือสยามประเภท ของ ก.ศ.ร.กุหลาย
บทความโดย http://www.everykid.com


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที