นระ

ผู้เขียน : นระ

อัพเดท: 06 ส.ค. 2007 15.57 น. บทความนี้มีผู้ชม: 534634 ครั้ง

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ความหมายของ โลจิสติกส์ ก็เปลี่ยนไปตามวิธีการดำเนินธุรกิจของโลก ในยุคศตวรรษที่ 20 ในทางการทหาร หมายถึง การวางแผนและบริหารจัดการเพื่อการเคลื่อนกองทัพ กำลังพล ยุทโธปกรณ์ และสิ่งอุปโภคต่าง ๆ ส่วนในด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจ หมายถึง การวางแผนและควบคุมการเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและผลผลิต รวมไปถึงการกระจายสินค้าสู่ตลาดจนถึงผู้บริโภค โดยมีการจัดองค์กรหรือกระบวนการผลิตอย่างเหมาะสมคุ้มค่า

โดย
ดร.นระ คมนามูล Ph.D.(London)
วุฒิวิศวกรสาขาวิศวกรรมโยธา


ตอนที่ 5 เลตเตอร์ออฟเครดิต สำหรับ การค้าระหว่างประเทศ

เลตเตอร์ออฟเครดิต สำหรับ การค้าระหว่างประเทศ

                                                                                                                                                ดร.นระ คมนามูล

 

 

 

“เลตเตอร์ออฟเครดิต” สำหรับการซื้อขายสินค้าส่งออกและสินค้านำเข้า

            การค้าระหว่างประเทศเป็นการซื้อขายตามตัวอย่างหรือตามค่าพรรณนา  ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ได้พบปะเจรจากัน ดังนั้นเพื่อช่วยให้ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่า จะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพและปริมาณถูกต้องตามที่สั่ง และผู้ขายจะได้รับชำระราคาครบถ้วน จึงได้คิดบัญญัติตราสาร “เลตเตอร์ออฟเครดิต” เป็นสื่อกลางอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศ  

            เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือตัวย่อว่า L/C) คือ ตราสารซึ่งธนาคารออกให้แก่ผู้ขอเปิดเครดิต เพื่อไปแสดงว่าธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต   ตกลงจะชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้รับประโยชน์ ซึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่   กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว

รายการที่ควรทราบ มีดังนี้

ก)     เลตเตอร์ออฟเครดิตมี 2 ชนิด คือ

1. เลตเตอร์ออฟเครดิตชนิดเพิกถอนได้ (Unconfirmed revocable credit)

เครดิตชนิดนี้ ธนาคารผู้ออกเครดิตอาจแก้ไขหรือยกเลิกเสียได้ก่อนที่ธนาคารตัวแทนในต่างประเทศจะจ่ายเงินตามที่ได้รับรองไว้

2. เลตเตอร์ออฟเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ (Confirmed irrevocable

credit) เครดิตชนิดนี้ ธนาคารผู้ออกเครดิตไม่มีสิทธิแก้ไขหรือยกเลิก เว้นแต่จะได้รับคำยินยอมจากบุคคลผู้เกี่ยวข้องในเครดิตทุกฝ่าย

            ดังนั้น ในเลตเตอร์ออฟเครดิตจะต้องระบุชนิดของเครดิตไว้ว่าเป็นชนิด “เพิกถอนได้” หรือ “เพิกถอนไม่ได้” หากไม่ระบุไว้ ให้ถือว่าเป็นชนิดเพิกถอนได้ (ตามกฎข้อบังคับของสภาหอการค้า ฉบับที่ 222  ข้อ 1)

ข)     ระบุเอกสารประกอบ เช่น

1.      ใบตราส่ง (Bill of Lading หรือ B/L) ซึ่งบริษัทเรือผู้ขนส่งออกให้แก่

ผู้ส่ง แสดงรายการสินค้าที่ส่ง ใบตราส่งจึงเป็นสัญญาผูกมัดผู้ขนส่งและผู้ส่ง อีกทั้งเป็นตราสารแสดงสิทธิของผู้ทรงและยอมสลักหลังโอนกันได้ (ตาม ป.พ.พ. มาตรา 613, 614)

2.      ใบกำกับสินค้า (Invoice)   คือ  ตราสารที่ผู้ขายสินค้าทำขึ้นแสดงราย

ละเอียดและราคาของสินค้าที่ขาย แต่ใบกำกับสินค้านี้ อาจตกลงกันให้สถานกงสุลเป็นผู้ออกแทนผู้ขายก็ได้ และเพื่อยืนยันคุณภาพอาจมีใบแสดงต้นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) ซึ่งหอการค้าของประเทศผู้ขาย เป็นผู้ขายเป็นผู้รับรอง กับอาจมีรายละเอียดการบรรจุและน้ำหนักของสินค้า (Packing and weight list) ส่งมาด้วย

3.      กรมธรรม์ประกันภัย (Insurance policy) ซึ่งผู้รับประกันภัยออกให้ใน

การรับประกันภัยสินค้าที่ขนส่ง กรมธรรม์ประกันภัยต้องระบุภัยที่รับประกัน     แต่ส่วน มากมักจะระบุประกันภัยทุกชนิด (all risks)

ค)     เงื่อนไขของสัญญาซื้อขายมีชื่อเรียกขานแตกต่างกัน คือ

1.      ราคาจากโรงงานหรือจากคลังสินค้า

2.      ราคา FAS (Free  Along Side or Free Alongside Ship) คือราคาสิน

ค้าที่บวกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ส่งมอบถึงท่าเรือหรือข้างเรือบรรทุกสินค้า

3.      ราคา FOB (Free on Board) คือราคาสินค้าที่บวกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

และค่าขนถึงบนเรือบรรทุกสินค้าของเมืองท่าต้นทาง ซึ่งส่วนมากนิยมใช้เงื่อนไขนี้

4.      ราคา C & F (Cost and Freight) คือราคาสินค้าที่บวกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

ค่าขนและค่าระวางเรือถึงเมืองท่าปลายทาง

5.      ราคา C I F (Cost Insurance and Freight) คือราคาสินค้าที่บวกค่าใช้

จ่ายต่าง ๆ   ค่าขน  ค่าระวางเรือ และค่าประกันภัยถึงเมืองท่าปลายทาง

ง) เงื่อนไขการชำระ ตามปกติชำระกันโดยวิธีออกตั๋วแลกเงิน      จึงต้องระบุว่าธนาคารจะจ่ายเงินทันทีเมื่อเห็น     หรือเมื่อผู้ขายยื่นเอกสารแสดงการส่งสินค้าแล้วแก่ธนาคารตัวแทน หรือมิฉะนั้นธนาคารรับรองการชำระเงินตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในตั๋ว

           

เนื่องจากการค้าระหว่างประเทศมีข้อยุ่งยาก เพราะกฎหมายและประเพณีที่ใช้แตกต่างกัน “สภาหอการค้านานาชาติ” ซึ่งมีหอการค้าประเทศต่าง ๆ เป็นสมาชิกได้ประมวลข้อบังคับให้หอการค้าสมาชิกปฏิบัติตาม และกฎข้อบังคับที่ใช้ได้แก้ไขปรับปรุงเรื่อยมา จนปัจจุบันนี้ได้ใช้กฎข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ.1993

            ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยได้ใช้กฎข้อบังคับของสภาหอการค้านานาชาติดังกล่าวเป็นข้อตกลงและถือเป็นประเพณีการค้าต่อลูกค้า และได้ระบุความนี้ไว้ในแบบสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตว่า       “This Credit is subject to the Uniform Customs and Practice for Documentary Credit (1993 Revision) fixed by the International Chamber of Commerce, Publication  No. 500, of which we have good knowledge and understanding ” หรือในภาษาไทยว่า “เครดิตนี้ให้ถือปฎิบัติตามข้อบังคับในระเบียบประเพณีและพิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเครดิตที่มีเอกสารประกอบ (แก้ไขเพิ่มเติมปี 1993) ของสภาหอการค้านานาชาติ ฉบับที่ 500  ซึ่งถือว่าลูกค้าทราบประเพณีการค้าด้วยแล้ว”

 

                ตามประวัติ “เลตเตอร์ออฟเครดิต” เดิมเรียกว่า “บิลออฟเครดิต” เริ่มใช้เมื่อราวปี พ.ศ. 1744 โดยพวกพระ พวกเจ้า และผู้ครองนครในกรุงโรมได้ใช้เป็นเครื่องมือสื่อกลางแทนเงินที่จะนำติดตัวในการเดินทางไกล โดยให้ผู้ถือบิลออฟเครดิตไปเบิกเงินเอาจากพวกบริวารของตนที่อยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งเป็นทางผ่าน และ “เลตเตอร์ออฟเครดิต” ได้ถูกนำมาใช้สำหรับผู้เดินทางและนำมาใช้ทางการค้าทั้งในและนอกประเทศ

ตอนหน้ามา ดูเรื่อง เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้าเพื่อการสั่งสินค้าเข้า

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที