ธนัยวงศ์

ผู้เขียน : ธนัยวงศ์

อัพเดท: 02 มิ.ย. 2007 07.25 น. บทความนี้มีผู้ชม: 10878 ครั้ง

มารู้จักสูตรทางคณิตศาสตร์พื้นฐานของโปรแกรม Excel ที่นิยมนำมาใช้กับการเงินกัน


การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการบริหารการเงิน (ตอนที่ 2)

โดย ดร. ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์

16707_pmail2.gif

      ก่อนที่จะนำโปรแกรม Microsoft Excel มาใช้ในการบริหารการเงิน เราควรต้องรู้จักกับหลักการคำนวณเบื้องต้น ตลอดจนสูตรทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน (Arithmetic Formula) ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กันเสียก่อน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ü     เมื่อเปิดโปรแกรม Excel จะเห็นช่องสี่เหลี่ยมสีขาวแต่ละช่องที่ว่างอยู่เป็นจำนวนมากในหน้ากระดาษทำการ (Worksheet) ซึ่งเรียกกันสั้นๆ ว่า “Cell” โดยเราสามารถเขียนสูตรการคำนวณขึ้นจากการกรอกข้อมูลโดยตรงลงไปในแต่ละ Cell หรือจะสั่งให้ไปเอาข้อมูลที่อ้างอิงจาก Cell อื่นๆ มาใช้ในการคำนวณก็ย่อมได้

ü     ทุกครั้งที่จะเริ่มต้นเขียนสูตรการคำนวณทางคณิตศาสตร์ในแต่ละ Cell ที่ต้องการ ต้องพิมพ์เครื่องหมาย “=” นำหน้าเสมอ หลังจากนั้นถึงจะตามด้วยข้อมูล รวมถึงการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ต่างๆ เช่น เครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เช่น =2+3

ü     การเขียนสูตรเพื่อการคำนวณในแต่ละ Cell ต้องไม่มีการเว้นวรรคแต่อย่างใด โดยให้เขียนติดกันต่อเนื่องไปเลย และเมื่อเขียนสูตรใน Cell ที่ต้องการเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้กดปุ่ม Enter เพื่อที่โปรแกรม Excel จะได้ดำเนินการประมวลผลลัพธ์ให้ตามที่ต้องการโดยอัตโนมัติ

ü     หากมีการคำนวณซ้อนเกิดขึ้น ก็สามารถที่จะใช้เครื่องหมายวงเล็บสำหรับการจัดกลุ่มข้อมูล โดยเครื่องหมายวงเล็บทั้งเปิด และปิดที่ถูกนำมาใช้นั้น ต้องเป็นวงเล็บในลักษณะ “โค้งปกติ” เท่านั้น เช่น =(2+3)*(4/2)

ü     สามารถกำหนดขอบเขตของข้อมูลที่ต้องการใช้ในการคำนวณได้จากการ High Light ข้อมูล โดยเริ่มต้นจากการคลิ๊กเม้าส์แล้วกดปุ่มซ้ายของเม้าส์ค้างเอาไว้ ต่อจากนั้นก็ให้ลากเม้าส์ไปครอบคลุมยัง Cell ต่างๆ ที่ต้องการ  หรืออาจทำได้โดยการพิมพ์ชื่อ Cell แรก แล้วขั้นด้วยเครื่องหมายโคลอน “:” ก่อนที่จะปิดท้ายด้วยการพิมพ์ชื่อ Cell สุดท้ายก็ได้ เช่น =SUM(A1:A3)

ü     สำหรับสูตรทางคณิตศาสตร์พื้นฐานของโปรแกรม Microsoft Excel ที่ควรรู้จัก มีดังนี้

 

เครื่องหมาย

วิธีการใช้

ตัวอย่าง

+

=ตัวเลข หรือ Cell + ตัวเลขหรือ Cell

=10+10 จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 20 ปรากฏใน Cell นั้น

S

=SUM(Cell: Cell)

=SUM(C6: C8) จะได้ผลรวมของ Cell ตั้งแต่ C6 ถึง C8

-

=ตัวเลข หรือ Cell - ตัวเลขหรือ Cell

=10-5 จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 5 ปรากฏใน Cell นั้น

*

=ตัวเลข หรือ Cell * ตัวเลขหรือ Cell

=10*10 จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 100 ปรากฏใน Cell นั้น

/

=ตัวเลข หรือ Cell / ตัวเลขหรือ Cell

=10/10 จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 1 ปรากฏใน Cell นั้น

%

=ตัวเลข%

=10% ผลลัพธ์ที่ปรากฏใน Cell ก็คือ 10% นั่นเอง

^

=ตัวเลข ^ ตัวเลข

=10^2 จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 100 ปรากฏใน Cell นั้น

 

การจัดทำรายงานทางการเงิน (Preparation of Financial Statement)

            เมื่อรู้จักกับหลักการคำนวณ และสูตรทางคณิตศาสตร์พื้นฐานกันแล้ว ก็สามารถนำโปรแกรม Microsoft Excel มาประยุกต์ใช้เพื่อจัดทำรายงานทางการเงิน อันได้แก่ งบดุล และงบกำไรขาดทุน เป็นต้น โดยทำการป้อนข้อมูลทั้งที่เป็นข้อความ และตัวเลขลงในแต่ละ Cell ของกระดาษทำการ แล้วทำการเชื่อมโยงตลอดจนกำหนดขอบเขตของข้อมูลที่ต้องการ รวมทั้งใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ดังกล่าวข้างต้นมาช่วยในการคำนวณหาผลลัพธ์ที่ต้องการนั่นเอง

 

            ตัวอย่างงบดุล (Balance Sheet):

 

A

B

C

1

บริษัท แก้วขนลุก จำกัด

2

งบดุล

3

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547

4

สินทรัพย์

 

จำนวนเงิน

5

สินทรัพย์หมุนเวียน

 

 

6

เงินสด

 

      1,374,180

7

ลูกหนี้

 

        625,500

8

สินค้าคงคลัง

 

      1,453,104

9

สินทรัพย์หมุนเวียนรวม

 

      3,452,784

10

สินทรัพย์ถาวร

 

 

11

ที่ดิน

 

      2,000,000

12

อาคาร

 

      4,000,000

13

เครื่องใช้สำนักงาน

 

      1,000,000

14

หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม

 

    333,334

15

สินทรัพย์ถาวรรวม

 

      6,666,666

16

สินทรัพย์รวม

 

    10,119,450

17

หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ

 

 

18

หนี้สิน

 

 

19

เจ้าหนี้การค้า

 

        331,600

20

ตั๋วเงินจ่าย

 

        500,000

21

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

 

        460,000

22

หนี้สินหมุนเวียนอื่นๆ

 

        537,140

23

หนี้สินหมุนเวียนรวม

 

      1,828,740

24

เงินกู้ระยะยาว

 

      4,700,000

25

หนี้สินรวม

 

      6,528,740

26

ส่วนของเจ้าของ

 

 

27

ทุนส่วนหุ้นสามัญ

 

      2,000,000

28

ส่วนเกินมูลค่าหุ้น

 

      1,000,000

29

กำไรสะสม

 

        590,710

30

ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม

 

      3,590,710

31

หนี้สิน และส่วนของเจ้าของรวม

 

    10,119,450

           
             จากตัวอย่างงบดุลข้างต้น เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการป้อนข้อมูล
ตลอดจนการใช้สูตรทางคณิตศาสตร์พื้นฐานในโปรแกรม Excel ดังต่อไปนี้

 

   

A

B

C

1

บริษัท แก้วขนลุก จำกัด

2

งบดุล

3

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547

4

สินทรัพย์

 

จำนวนเงิน

5

สินทรัพย์หมุนเวียน

 

 

6

เงินสด

 

      1,374,180

7

ลูกหนี้

 

        625,500

8

สินค้าคงคลัง

 

      1,453,104

9

สินทรัพย์หมุนเวียนรวม

 

=C6+C7+C8

10

สินทรัพย์ถาวร

 

 

11

ที่ดิน

 

      2,000,000

12

อาคาร

 

      4,000,000

13

เครื่องใช้สำนักงาน

 

      1,000,000

14

หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม

 

    333,334

15

สินทรัพย์ถาวรรวม

 

=C11+C12+C13-C14

16

สินทรัพย์รวม

 

=C9+C15

17

หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ

 

 

18

หนี้สิน

 

 

19

เจ้าหนี้การค้า

 

        331,600

20

ตั๋วเงินจ่าย

 

        500,000

21

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

 

        460,000

22

หนี้สินหมุนเวียนอื่นๆ

 

        537,140

23

หนี้สินหมุนเวียนรวม

 

 =C19+C20+C21+C22

24

เงินกู้ระยะยาว

 

      4,700,000

25

หนี้สินรวม

 

=C23+C24

26

ส่วนของเจ้าของ

 

 

27

ทุนส่วนหุ้นสามัญ

 

      2,000,000

28

ส่วนเกินมูลค่าหุ้น

 

      1,000,000

29

กำไรสะสม

 

        590,710

30

ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม

 

=C27+C28+C29

31

หนี้สิน และส่วนของเจ้าของรวม

 

=C25+C31

 

            ตัวอย่างงบกำไรขาดทุน (Income Statement):

 

A

B

C

1

บริษัท แก้วขนลุก จำกัด

2

งบกำไรขาดทุน

3

สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2547

4

 

 

จำนวนเงิน

5

ยอดขาย

 

     2,698,200

6

ต้นทุนขาย

 

1,004,480

7

กำไรขั้นต้น

 

1,693,720

8

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

 

 

9

   ค่าใช้จ่ายในการขาย

 

438,480

10

   ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

 

292,320

11

   ค่าเสื่อมราคา

 

333,334

12

กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT)

 

629,586

13

ดอกเบี้ยจ่าย

 

90,000

14

กำไรก่อนหักภาษี (EBT)

 

539,586

15

ภาษี (30%)

 

161,876

16

กำไรสุทธิ (Net Profit)

 

377,710

17

กำไรต่อหุ้น (Earnings per Share)

 

18.89

 

            จากตัวอย่างงบกำไรขาดทุนข้างต้น เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการป้อนข้อมูล ตลอดจนการใช้สูตรทางคณิตศาสตร์พื้นฐานในโปรแกรม Excel ดังต่อไปนี้

 

 

A

B

C

1

บริษัท แก้วขนลุก จำกัด

2

งบกำไรขาดทุน

3

สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2547

4

 

 

จำนวนเงิน

5

ยอดขาย

 

2,698,200

6

ต้นทุนขาย

 

1,004,480

7

กำไรขั้นต้น

 

=C5-C6

8

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

 

 

9

   ค่าใช้จ่ายในการขาย

 

438,480

10

   ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

 

292,320

11

   ค่าเสื่อมราคา

 

333,334

12

กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT)

 

=C7-C9-C10-C11

13

ดอกเบี้ยจ่าย

 

90,000

14

กำไรก่อนหักภาษี (EBT)

 

=C12-C13

15

ภาษี (30%)

 

=C14*0.30

16

กำไรสุทธิ (Net Profit)

 

=C14-C15

17

กำไรต่อหุ้น (Earnings per Share)

 

=C16/20,000

              หมายเหตุ: จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่าย และชำระแล้วของกิจการเท่ากับ 20,000 หุ้น


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที