วิกูล

ผู้เขียน : วิกูล

อัพเดท: 07 ก.ค. 2007 21.39 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5196 ครั้ง

ประชาธิปไตยมีอายุ ๗๐ กว่าปีมาแล้วหากประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเข้ามาร่วมแสดงความเป็นเจ้าของผู้มีอำนาจยอมรับฟังเพื่อพัฒนาจะทำให้ประชาธิปไตยไทยเป็นผู้ใหญ่สมวัยทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ วันนั้นเมื่อทุกอย่างลงตัวสันติสุขก็จะเป็นของทุกคน


พลวัตรประชาธิปไตยไทยกับแนวทางพัฒนาที่เป็นไปได้

พลวัตรประชาธิปไตยไทยกับแนวทางพัฒนาที่เป็นไปได้

 

วิกูล    โพธิ์นาง

  กรกฎาคม  ๒๕๕๐

pd_wikulp@hotmail.com

                ารปกครองในโลกเรานี้มีอยู่หลายแบบหลายลัทธิ  แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศไม่ว่าการปกครองแบบใด  หากเป็นไปหรือนำมาใช้เพื่อประโยชน์ตน  กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  การปกครองนั้นก็ต้องล่มสลายไปด้วยเลือดเนื้อและความเจ็บปวด  เหลือไว้เป็นประวัติศาสตร์ให้อนุชนได้ศึกษาเปรียบเทียบกับความคิดที่จะตัดสินใจเลือกปฏิบัติป้องกันความผิดพลาดซ้ำๆ

            เดิมการปกครองของไทยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  ด้วยอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์  ได้ทรงรักษาชาติบ้านเมืองมาหลายยุคสมัย  พัฒนาการปกครองมาโดยตลอดเพื่อให้สอดคล้องกับโลกาวัตรและโลกาภิวัตรมาตามลำดับ

            จะเห็นได้จากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ได้ทรงพยายามวางรากฐานเกี่ยวกับการปกครองที่ต้องเป็นไปตามการอภิวัตรของโลกดังตัวอย่าง “ดุสิตธานี” ที่วิกิพีเดียได้อธิบายไว้ดังนี้

                “ดุสิตธานี เป็นเมืองจำลอง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ ที่บริเวณพระราชวังพญาไท มีลักษณะเป็นเมืองเล็กๆคล้ายเมืองตุ๊กตา ประกอบด้วย พระราชวัง ศาลารัฐบาล วัดวาอาราม สถานที่ราชการ โรงทหาร โรงเรียน โรงพยาบาล ตลาดร้านค้า ธนาคาร โรงละคร ประมาณเกือบสองร้อยหลัง เพื่อเป็นแบบทดลองของการปกครองแบบประชาธิปไตย รูปแบบดัดแปลงมาจากธรรมนูญการปกครองเทศบาลของอังกฤษ โดยพระองค์ และข้าราชบริพาร ทดลองทำตัวเป็นพลเมืองของดุสิตธานีด้วยตนเอง มีการจัดการเลือกตั้ง ประชุมสภา มีการจัดเก็บภาษี ออกหนังสือพิมพ์”

                มัยต่อมาคณะราษฏรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบเดิมมาเป็น “การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” โดยมีกฎหมายสูงสุดคือ “รัฐธรรมณูญ” พระมหากษัตร์ยทรงอยู่ใต้รัฐธรรมณูญเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ซึ่งดำเนินการก่อนที่จะให้ความรู้และปูพื้นฐานกับสังคมไทยให้พร้อมก่อน

                จากวันนั้นถึงวันนี้ ๔  กรกฏาคม  ๒๕๕๐  นับได้  ๗๕  ปี  หากเป็นคนก็เขาสู่วัยผู้สูงอายุน่าจะเก็บสะสมประสบการณ์มาอย่างโชกโชน  แต่นั่นก็ต้องมาจากผู้ที่ผ่านการเรียนรู้อย่างถูกต้องมาแต่เด็ก

                มาดูประชาธิปไตยไทยแล้วอายุกมากว่าบางคนเป็นเท่าตัว  จึงน่าจะเป็นประชาธิปไตยที่วางรากฐานได้อย่างมั่นคงแล้ว  แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ตรงกันข้ามกลับเป็นประชาธิปไตยเพียงแต่ชื่อและรูปแบบพิธีการ  ประชาธิปไตยไทยได้สูญเสียเวลาไปอย่างมหาศาลแทนที่จะใช้เวลาเหล่านั้นพัฒนาประชาธิปไตยแต่ต้องมาสารวนอยู่กับเรื่องเก่าๆเป็นวัฏจักรที่ไม่ได้ออกแบบไว้

                นับแต่จำความได้เกี่ยวกับการเมืองไทยวนเวียนอยู่กับ  ยุบสภาก่อนครบวาระ  หาเสียง  โจมตีคู่แข่ง  ฟ้องร้อง  ขายเสียง  ซื้อเสียง  ปลิดชีพหัวคะแนน  ย้ายพรรค  รวมพรรค  จัดตั้งรัฐบาล  ฉ่อราฏร์บังหลวง   ประท้วง  ขบถ   รัฐประหาร  เผด็จการ   ยกเลิกรัฐธรรมณูญ  ยึดทรัพย์  ร่างรัฐธรรมณูญ  หรือยุบพรรค  เป็นต้น

                าเหตุ  ที่ทำให้การเมืองไทยเป็นเช่นนั้นเพราะ

                ประชาชนส่วนใหญ่  ของชาติยากจนไม่มีเวลามาสนใจศึกษา  และร่วมพัฒนาประชาธิปไตย  จนหลายๆคนกล่าวว่าคำว่าประชาธิปไตยที่คนของชาติส่วนใหญ่รู้จักคือ “ซื้อเสียงขายเสียง” 

                นักวิชาการ  ผู้หลักผู้ใหญ่ไม่มีโอกาสนำความรู้ที่สั่งสมมาถ่ายถอดแนะนำให้กับสังคมเป็นได้ก็เพียงปัจเจกบุคคล  ถึงมีบ้างที่ได้ทำแต่ก็ไร้การเหลียวแลจากงบประมาณและการสนับสนุนจากรัฐบาล

                ชนชั้นกลาง  ยังขาดความกล้าความองอาจสายตายังไม่กว้างไกลประหนึ่ง “ม้าลำปาง” ดังที่ ร.ต.อ. ดร.  นิติภูมิ    นวรัตน์ ได้เคยเขียนไว้เพื่อเปรียบเทียบผู้ที่เก่งแต่โลกทัศน์แคบ

            ชนชั้นนำ   นักการเมือง  รวมถึงผู้มีอำนาจไม่ได้ใส่ใจที่จะรวบรวม “สหวิทยา” มาเพื่อพัฒนาระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย นโยบายพรรคการเมืองเป็นเพียงการคาดเดาความฝันประชาชนจึงเป็นนามธรรมมากกว่ารูปธรรม สนองตอบแต่เพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งฐานคะแนน บางส่วนบางกลุ่มก็ขัดแย้งกันอย่างไม่สร้างสรรค์ประหนึ่ง “ไก่ในเข่ง” ดังที่   ราษฏร์อาวุโส ศ.นพ. ประเวศ วะสี ท่านได้เตือนสติไว้

                แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาระบอบประชาธิปไตยน้อยมากโดยดูจากนโยบายเชิงประจักษ์ของรัฐบาลทุกยุคสมัยทั้งที่ประชาธิปไตยประหนึ่งสายเลือดไทยซึ่งสายเลือดนั้นคือประชาชน  หากเป็นคนก็คงจะเลือดจาง

                หตุดังกล่าวข้างต้นนั้นจึงพอสรุปได้ว่า  หากจะให้ชาติพัฒนาต้องทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  เรียนรู้ระบบประชาธิปไตยให้ซึมลงไปในสายเลือดทุกหยาดหยดให้ได้  ซึ่งก็ทำได้ไม่ยากหากจะทำและทำจริง  โดยเริ่มจากผู้มีอำนาจของรัฐบาลในขณะนั้นๆต้องวางรางฐานให้ข้อเสนอต่อไปนี้เป็นพลวัตรของประชาธิปไตยไทยให้ได้

                ข้อเสนอเพื่อปรับพลวัตรประชาธิปไตยไทย

Ø     ต้องขจัดความยากจน  ที่คนยากจนเพราะอยู่อย่างไม่จน  ยาแก้อาการนี้เรามีอยู่ที่ในหลวงพระราชทานให้ “เศรษฐกิจพอเพียง”  นี้แหละคือยาขนาดวิเศษ  ทุกภาคส่วนต้องนอมนำมาปฏิบัติอย่าสักแต่ใช้วาทะศีลป์ เมื่อเลิกจนทุกคนก็จะหันมาสนใจสิทธิและหน้าที่ของตนเองโดยอัตโนมัติ

Ø     ปัจเจกบุคคล  คือทรัพยากรของชาติที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เลย “ปัจจเจกบุคคล” ในที่นี้หมายถึงผู้รู้แต่ไม่มีโอกาสได้แสดง หรือรู้แต่อยู่นิ่งๆดีกว่า  ต้องทำให้ปัจเจกบุคคลเหล่านี้มีเวทีแสดงความสามารถอาจไม่ต้องเสียเงินงบประมาณเสียด้วยซ้ำเพราะคนกลุ่มนี้มาด้วยใจ  สำคัญอยู่ที่รัฐบาลจะหาบุคคลอย่างว่านี้พบหรือเปล่า  “หากไม่ปิดใจถึงปิดตาก็หาเจอ”

Ø     ผู้อาวุโสของบ้านเมือง  ราษฏร์อาวุโส  รัฐบุรุษอาวุโส  ผู้อาวุโสที่เคยเห็นผลการทำความดีมาแล้ว อดีตนายกรัฐมนตรี   เป็นต้น  ท่านเหล่านี้ล้วนเป็นผู้สร้างคุณประโยชน์ให้กับชาติบ้านเมืองมาแล้วใยไม่ไปรบกวนถามไถ่ท่านแน่นอนว่าทุกปัญหามีทางแก้ไข  รัฐบาลเข้ามาก็อย่าลืมวัฒนธรรมไทยเป็นเด็กต้องอ่อนน้อมแล้วจะได้ความอนุเคราะห์เอ็นดูจากผู้ใหญ่ในทางที่ดีเสมอ

Ø     แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ต้องมีการกำหนดการพัฒนาประชาธิปไตยไทยไว้อย่างเป็นระบบและแผนนั้นต้องเป็นแผนระยะยาว  ระยะปานกลาง  และระยะสั้น  ต้องวางไว้เป็นเข็มทิศชาติ  เป็นแผน ๑๐๐ , ๕๐  ,  ๒๕  ,  ๑๐  ,  และ    ปี มีการตรวจติดตามและประเมินผลทุกๆ ๕ ปี  ทุกรัฐบาลที่เข้ามาต้องทำต่อเนื่องไปไม่เกี่ยวกับนโยบายพรรคแต่เป็นนโยบายชาติ

Ø     การศึกษาทุกชั้นเรียนต้องมี  “วิชาประชาธิปไตยไทย”  ย้ำว่าต้อง “ประชาธิปไตยไทย”  เป็นวิชาบังคับ  ตั้งสถาบันวิชาชีพนักการเมืองให้กระจายทั่วราชอาณาจักร  ผู้ใดจะมาทำงานการเมืองต้องผ่านสถาบันนี้ระดับแยกย่อยลงไปแล้วแต่ความสำคัญของระดับการเมืองว่าจะเป็นท้องถิ่น  จังหวัด  หรือระดับประเทศ  ใครไม่ผ่านสถาบันนี้เป็นนักการเมืองไม่ได้  ระยะเวลาการศึกษาอย่างน้อย ๑  ปี มีทั้งทฤษฏีและปฏิบัติ  และสุดท้ายก่อนจบการศึกษาต้องเข้ารับการอบรมจริยธรรมนักการเมืองก่อน  ๑ ปีนั้นถือเป็นการวัดใจด้วย  ถ้ารักการเมืองจริงก็เรียนจบ เมื่อจบแล้วก็จะได้วิชาชีพนักการเมืองอย่างสมบูรณ์  เช่นแพทย์หรือทหารก็ยังเรียนวิชาชีพของตนมาก่อนจึงได้เป็นผู้ชำนาญเฉพาะด้าน

                ากที่นำเสนอมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของผู้เขียนที่อยากมีส่วนร่วมกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในฐานะคนไทยอาจมีข้อถูกหรือผิดอยู่บ้าง  หากผู้รู้ท่านใดได้บังเอิญมาอ่านพบเข้าแล้วไม่แนะนำสังคมไทยจะมีนักเขียนบทความการเมืองที่ไม่เอาไหนอีกหนึ่งคนเป็นแน่แท้

                ระเมินเองโดยผู้เขียนมั่นใจว่าเป็นแนวทางที่สามารถปฏิบัติได้  เพราะทุกเรื่องที่กล่าวมาเกี่ยวกับประชาชนและการปกครองระบอบประชาธิปไตยก็เป็นของประชาชนดังอมตวาจา ของอับราฮัม    ลิงคอน ได้กล่าวไว้ว่า “ประชาธิปไตยเป็นของประชาชน โดยประชาชน และ เพื่อประชาชน” แนวทางดังคำกล่าวนี้ เมื่อปฏิบัติได้จะทำให้ประชาธิปไตยไทยเข้มแข็งเป็นผู้ใหญ่ที่สมวัย

                ลพลอยได้จะทำให้ภาพแห่งการยึดอำนาจของทหารเป็นเพียงตำนาน.


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที