บรรณวิท

ผู้เขียน : บรรณวิท

อัพเดท: 31 ก.ค. 2007 07.45 น. บทความนี้มีผู้ชม: 31516 ครั้ง

การดำเนินการกิจกรรม Autonomous Maintenance มีเคล็ดลับอย่างไร จึงจะได้ผล จากผู้ที่ประสบการณ์ตรง


เมื่อ Tag แล้ว ทำไงต่อ??

การทำความสะอาดคือการตรวจสอบ คนที่ทำ TPM คงไม่มีใครไม่เคยได้ยินคำนี้ ในตอนที่แล้วได้กล่าวถึงการเริ่มต้นทำความสะอาด การติด Tag การเขียน One Point Lesson ไปแล้วเมื่อมาถึงตรงนี้ สิ่งที่สำคัญก็คือการบริหารจัดการ Tag และ OPL ที่เกิดขึ้น

                ตัวของ Tag นั้นอย่างน้อยก็ต้องมี 2 ก็อปปี้ 1 ก็อปปี้ติดที่จุดที่พบสิ่งผิดปรกติ อีก 1 ก็อปปี้ จะถูกดึงออก ทีนี้เมื่อดึงออกจะไปไหน???

                Tag ตัวก็อปปี้ที่ถูกดึงออกต้องมาทำการพิจารณาว่าจะจัดการอย่างไร ใครเป็นผู้ทำ และทำเมื่อไร ดังนั้นผู้ที่ได้รับ Tag ไปคือผู้ที่ต้องตอบคำถามเหล่านี้ และใครล่ะที่จะต้องเป็นผู้ตอบคำถามนี้

                ลองมาดูกันว่าเมื่อพบสิ่งผิดปรกตินั้น สิ่งผิดปรกติอาจแบบได้เป็น 2 ประเภท ตามการแก้ไข คือ

                แก้ไขได้ทันทีด้วยตนเอง หมายความว่าเป็น Tag ที่พบสิ่งผิดปรกติ แต่เป็นสิ่งผิดปรกที่ไม่เสียหายมากหรือเป็นเพียงสิ่งผิดปรกติที่ไม่ใช่เรื่องยากอะไร เช่น น็อตหลวม สกปรก ของที่วางอยู่ผิดที่ผิดทาง สิ่งเหล่านี้ผู้ที่พบสามารถแก้ไขได้ทันทีด้วยตนเอง ดังนั้นการแก้ไขเรื่องพวกนี้พนักงานเดินเครื่องสามารถแก้ไขเองได้หรือหากไม่ได้อาจได้รับคำแนะนำเล็กน้อยจาก ช่างเพื่อทำการแก้ไข แต่พนักงานเดินเครื่องจะไม่ทำ

                อีกประเภทคือ Tag ที่พนักงานเดินเครื่องไม่สามารถแก้ไขเองได้ เช่นการแตกร้าวของชิ้นส่วน การเสียหายของชิ้นส่วน ระดับน้ำมันที่ต่ำกว่าปรกติ การหล่อลื่นที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ผู้ที่ต้องทำการแก้ไขคือใคร คำตอบก็ชัดเจนอยู่แล้วคือ ช่าง นั่นเอง

ดังนั้น Tag ก็อปปี้ที่ถูกดึงออก ก็ต้องส่งไปที่ช่างเพื่อไปวางแผนการแก้ไขต่อไป

สิ่งที่ตามมาคือ Tag จะเต็มไปหมด เพราะในตอนแรกพนักงานเดินเครื่องจะไม่ทำการแก้ไขสิ่งผิดปรกติด้วยตนเองเลย และช่างก็จะพบกับความน่าเบื่อว่าทำไมเรื่องง่ายๆ แค่นี้ต้องให้ไปแก้ด้วยหรือ นี่เป็นเรื่องปรกติธรรมดาของทุกที่ที่เริ่มทำ TPM หากเราเป็นช่าง

ดังนั้นผู้ที่ต้องเข้ามาจัดการตรงนี้คือ ผู้บริหารของพนักงานเดินเครื่องและผู้บริหารของช่าง เพื่อที่จะเข้าไปลดความขัดแย้งนี้ลงโดย

ผู้บริหารของพนักงานเดินเครื่องต้องสนับสนุนให้พนักงานเดินเครื่องแก้ไข Tag โดยการได้รับคำแนะนำจากช่างและต้องแก้ไข Tag ด้วยตนเองให้ได้มากที่สุด

ผู้บริหารของช่างต้องสนับสนุนให้เกิดการถ่ายทอดความรู้เรื่องต่างๆที่ง่ายๆ จากช่างไปให้พนักงานเดินเครื่องผ่านการสอนงาน

งานนี้ต้องใจเย็นทั้งสองฝ่าย

การบริหารจัดการ Tag เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก การให้พนักงานเดินเครื่องทำความสะอาดนั้นเป็นเรื่องที่ยาก การที่ให้เขาติด Tag ก็ยาก แต่เมื่อติดไปแล้วแล้วไม่มีคำตอบจากสวรรค์ว่าจะแก้ไขเมื่อไร เขาจะรู้สึกอย่างไร??

ดังนั้นการบริหารจัดการ การสื่อสาร Tag แต่ละใบถึงสถานะของงานที่เป็นอยู่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

การสนับสนุนให้เกิดการหาสิ่งผิดปรกติก็เป็นเรื่องสำคัญ การกำหนดให้พนักงานต้องหา Tag ให้ได้ไม่น้อยกว่าเท่านั้นเท่านี้ในแต่ละเดือน อาจเป็นสิ่งที่ดี เพื่อส่งเสริมให้เกิดการหาสิ่งผิดปรกติ แต่เมื่อเวลาผ่านไป จะเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ เพราะพนักงานจะไม่รู้สึกว่าตื่นตัว ตื่นเต้นในการติด Tag อีกต่อไป แต่หากเปลี่ยนเป็นการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในการทำความสะอาด ระหว่างหน่วยงานจะทำให้เกิดการตื่นตัวมากกว่าเพราะโดยสัญชาตญาณแล้วคนเราชอบแข่งขันและเอาชนะ

ดังนั้นการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันจึงเป็นกลยุทธที่ใช้ได้ผลระยะยาวมากกว่าการแข่งกันติดTag การประกวดประขันกันไม่ใช่เรื่องที่แข่งกันแบบเอาเป็นเอาตายแต่เป็นเพียงให้เกิดความตื่นตัวเท่านั้น


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที