แม่น้องมุก

ผู้เขียน : แม่น้องมุก

อัพเดท: 13 มี.ค. 2008 12.49 น. บทความนี้มีผู้ชม: 141052 ครั้ง

Compliance Rules กฎเกณฑ์ตัวใหม่ที่บริษัทนำมาชี้แจงแถลงไขให้พนักงานรับทราบ โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทญี่ปุ่น


Compliance Rules ที่บริษัทลูกในไทยมักให้ความสำคัญ

          ตอนนี้ ขอย้อนกลับมาที่ Compliance Rules ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะกล่าวถึงกฎปฏิบัติทางธุรกิจและกฎหมายที่บริษัทลูกในเมืองไทยให้ความสนใจและ ความสำคัญ ซึ่งในด้านกฎปฏิบัติทางธุรกิจของบริษัทนอกจากจะรวมถึงระเบียบปฏิบัติของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงาน ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันแล้ว ในเรื่องของ Compliance Rules ยังขยายครอบคลุมไปถึงกฎหมายบางฉบับที่เกี่ยวข้องกับการประพฤติมิชอบของข้าราชการ รวมถึงกฎหมายระหว่างประเทศบางฉบับที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก บริษัทก็ยังนำมากล่าวอ้าง ทั้งนี้ นอกจากจะทำให้พนักงานอยู่ในกรอบแล้ว ยังเป็นผลพลอยได้ในการส่งออกด้วย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาและยึดถือสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีบางประเทศในยุโรป ได้ออกกฎเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขึ้นมา หรือถ้าเรารู้จักกันดี ก็จะเป็น ISO 14000 ซึ่งปกติบริษัทมักจะทำการผลิตตามมาตรฐานจนได้ ISO ฉบับนี้มาแล้ว แต่เพื่อให้ครอบคลุมว่าพนักงานในบริษัททุกคนก็คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ก็นำกฎเกณฑ์บางข้อมาบรรจุไว้ใน Compliance Rules ด้วย ส่วนกฎหมายเกี่ยวกับการทุจริตประพฤติมิชอบที่ใช้กับข้าราชการนั้น จะเห็นในหลักการพื้นฐานของบริษัทเป็นส่วนใหญ่ เช่น หลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน การรายงานผลต่อผู้บังคับบัญชาเมื่อพบเห็นการละเมิดต่อการปฏิบัติตามกฎบริษัท หรืองดเว้นการเกี่ยวข้องกับการค้าโดยใช้ข้อมูลภายใน  การรักษามาตรฐานทางกฎหมายและจริยธรรมในการให้หรือรับของขวัญจากลูกค้า แต่รูปแบบโดยรวมของหลักการพื้นฐานของกฎปฏิบัติทางธุรกิจของบริษัทแล้ว ก็ไม่พ้นเรื่องเกี่ยวกับจริยธรรม มโนธรรม ซึ่งเรียกได้ว่า ถ้าเราไม่ทำผิดจริยธรรมแล้ว โอกาสในการทำผิดกฎหมาย กฎปฏิบัติของบริษัทก็จะเกิดขึ้นยากด้วย
          ซึ่งจะเรียกได้ว่า Compliance Rules ก็คือ การรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท ทั้งหมด หรือมากที่สุดเท่าที่ฝ่ายกฎหมายจะนึกได้ มาให้พนักงานได้รับรู้ว่า ต่อไปนี้ จะไม่มีคำพูดที่ว่าไม่รู้กฎหมาย ฉันไม่ผิด เพื่อให้พนักงานได้ระวังตัวมากขึ้น อยู่ในกรอบมากขึ้น และเป็นการช่วยบริษัทและฝ่ายอื่น ๆ ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้ระมัดระวังการล่วงล้ำกฎหมาย ซึ่งหากมีบางข้อที่บางฝ่ายไม่เข้าใจ ไม่รู้ ก็ยังมีฝ่ายอื่น ๆ ที่พอรู้พอเข้าใจ สามารถเตือนกันเพื่อไม่ให้เกิดการกระทำการที่ผิดกฎหมายได้ ซึ่งถ้าหากพนักงานไม่รู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทแล้ว เมื่อกระทำการใด ๆ ลงไป อาจส่งผลให้บริษัทต้องรับความเสียหายจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั่นเอง ซึ่งกรณีตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย และชัดเจนจากกรณี กฎหมายเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ที่รัฐบาลเพิ่งจะมีการประกาศใช้เมื่อไม่นานมานี้ หากบริษัท ไม่แจ้งให้พนักงานรับทราบถึงผลดีผลร้ายต่อบริษัทที่จะเกิดจากความไม่รู้ของพนักงานได้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้าไปตั้งหรือตอบกระทู้ต่าง ๆ ในเวบไซต์ ที่อาจเป็นการหมิ่นประมาทผู้อื่น ซึ่งหากมีการเช็ค IP ADDRESS แล้วพบว่ามาจากบริษัทอะไร ก็ย่อมส่งผลถึงบริษัทเจ้าของ IP ADDRESS ได้ บริษัทอาจต้องเข้าร่วมรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากพนักงานผู้นั้น ดังนั้น กฎหมายที่มีอยู่เดิมและที่ออกใหม่ ฝ่ายที่ดูแล Compliance Rules จำเป็นจะต้องแจ้งและ update ข้อมูลให้พนักงานทราบอยู่เสมอ โดยเฉพาะการยกตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นผลดีและผลเสียอย่างชัดเจน เพราะข้อกฎหมายบางข้อนั้น แม้คนที่เรียนกฎหมายมาโดยตรงยังไม่สามารถตีความกฎหมายได้ถูกต้อง

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที