นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 15 ม.ค. 2015 08.28 น. บทความนี้มีผู้ชม: 43442 ครั้ง

www.thummech.com
วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering ) หรือวิศวกรรมการเคลื่อนที่เป็นสาขาที่เกี่ยวกับระบบกลไก (Mechanic System) ระบบกำลัง (Power System ) มีหน้าที่ศึกษาการเกิดขึ้นของกำลังงานและการนำไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากกำลังงานทำให้เกิดการเคลื่อนที่และทำให้ได้งานในการเคลื่อนที่ของวัตถุ ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์, เรือ, เครื่องบิน, ยานอวกาศ, เรือดำน้ำ, เครื่องจักรกล, เครื่องมือกล ระบบกลไกต่าง ๆ ฯลฯ


รายละเอียดแต่ละสาขาของวิศวกรรมเครื่องกล

ทีนี้เราจะมาดูหมวดหลัก ๆ ที่มาจากสายวิศวกรรมเครื่องกล

๒.๑ กลศาสตร์วิศวกรรมประยุกต์ (Applied Engineering Mechanics)

สาขานี้ใช้หลักกลศาสตร์เพื่อการศึกษา ออกแบบพัฒนาส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบที่เป็นตัวส่งผ่านการเคลื่อนที่ แรง กำลังงาน หรือการรวมกันของสิ่งของต่าง ๆ เช่น การพัฒนารูปแบบใบพัดของเครื่องยนต์ที่สามารถทนต่อแรงดันที่มากได้ พัฒนาโครงสร้างให้ทนการสั่นสะเทือนต่อแผ่นดินไหวได้, การทำให้ดาวเทียมมีเสถียรภาพโดยใช้การหมุนแบบคงที่, และตรวจสอบความทนทานของวัสดุใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ทำระบบ

๒.๒ วิศวกรรมพลังงาน (Energy Engineering )

                                                                                         

                   เป็นสาขาที่สำคัญอีกสาขาหนึ่งของวิศวกรรมเครื่องกล มีบทบาทที่สำคัญต่อวิศวกรอย่างมากเพื่อการคิดค้นพบ ออกแบบระบบการผลิต การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์, ปิโตรเลี่ยม,  ลม,  ความร้อนใต้พิภพ, คลื่นทะเล และพลังงานนิวเคลียร์ สาขานี้พัฒนาไปเพื่อความสะดวกสบาย ประหยัด และมีประสิทธิภาพลดมลภาวะที่เกิดจากการใช้พลังงาน เช่น บ้านพลังงานแสงอาทิตย์, รถยนต์ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์, เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์, ดาวเทียม เป็นต้น

๒.๓ การออกแบบเครื่องกล และระบบกลไก( Machine Design & Mechanisms)
                    วิศวกรเครื่องกลที่ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องกลหรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ มีความเข้าใจระบบและกลไกที่ซับซ้อนของเครื่องจักรกล และเศรษฐศาสตร์เพื่อให้เกิดความมีประโยชน์สูงและประหยัดสุดที่จะสร้างเครื่องกลต่าง ๆ


๒.๔ วัสดุศาสตร์
(Material)

ต้องมีความรู้ในเรื่องวัสดุที่จะนำมาใช้ในทางวิศวกรรม ความแข็งแรงทนทานเป็นเรื่องสำคัญต่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน ศึกษาโครงสร้าง และพฤติกรรมของวัสดุ พร้อมทั้งการเลือกใช้วัสดุอย่างถูกต้อง

๒.๕ เครื่องยนต์และโรงไฟฟ้า ( Engines and Power Plants)

วิศวกรเครื่องกลได้ผลิตสิ่งของขึ้นมาใช้ประโยชน์ในสังคมคือ เครื่องยนต์และโรงไฟฟ้าซึ่งทำงานเกี่ยวกับการผลิตกำลังงานโดยเครื่องจักรที่ใช้ก๊าซ หรือความดันไอน้ำ โดยได้กำลังงานออกมาผ่านการหมุนของเพลา ที่จะนำไปผลิตไฟฟ้า ใช้หมุนล้อของเครื่องยนต์ ใบพัดในเครื่องบิน เครื่องยนต์เจ็ท

๒.๖ กลศาสตร์ของไหล (Fluid Mechanic)

สาขานี้มีความรู้ในด้านการไหลของของไหลได้แก่ ก๊าซและของเหลวทุกประเภท ต้องมีความเข้าใจความรู้พื้นฐานวิชากลศาสตร์ของไหลเป็นอย่างดีและมีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ ของของไหล ซึ่งได้แก่ความหนาแน่น ความหนืด และความสามารถในการรับแรงกดดันต่อพื้นที่ที่รับแรง วิศวกรสามารถพัฒนาความรู้เพื่อการควบคุมทางไฮดรอลิกส์ ( Hydraulics ), นิวแมติกส์ (Pnumatics) และเครื่องมือส่งผ่านกำลังงาน เป็นต้น

๒.๗ ระบบความร้อน-เย็น และระบบปรับอากาศ ( Heating, Cooing & Air-Conditioning System)

วิศวกรในสาขานี้ทำหน้าที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมเชิงอุณหภูมิและคุณภาพของอากาศ  ต้องมีความรู้ทางด้านการถ่ายเทความร้อนเบื้องต้น ( Basic Heat Transfer ) อุณหพลศาสตร์ ( Thermodynamics) และทฤษฏีการควบคุม ( Control Theory) นอกจากนี้ยังมีความคุ้นเคยต่อระบบและส่วนประกอบของระบบ เช่น การแลกเปลี่ยนความร้อน ( heat exchanger ) คอมเพรสเซอร์  ( compressor)

๒.๘ การออกแบบภาชนะถังความดันและท่อ ( Pressure Vessels and Pipe Design)

วิศวกรในสาขานี้มีหน้าที่พัฒนาโครงสร้างภาชนะถังสำหรับบรรจุของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ที่สามารถทนทานต่ออุณหภูมิและความดันที่สูงขึ้นซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยจะต้องมีความเข้าใจในความทนทานและความยืดหยุ่นของรูปลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุที่ประกอบกันเป็นลักษณะโครงสร้างและการประกอบโครงสร้างที่เป็นท่อด้วยข้อต่อต่าง ๆ

๒.๙ การหล่อลื่น (Lubricants)

เครื่องจักรกลที่ทำงานได้ต้องอาศัยการหมุน การเคลื่อนที่ และในการทำงานนั้นบางชิ้นส่วนจำเป็นต้องลดความเสียดทานลงเพื่อให้เครื่องจักรทำงานได้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด เครื่องไม่พัง สารหล่อลื่นจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากในการนำมาใช้ร่วมกับเครื่อง และยังช่วยยืดอายุการทำงานของเครื่องจักรได้

๒.๑๐ วิศวกรรมเกษตร ( Agricultural Engineering)

มีความเกี่ยวพันกับวิศวกรรมเครื่องกลทางด้าน วัสดุ และพลังงาน ที่ประยุกต์หลักการทางวิศวกรรมเพื่อการผลิตและกระบวนการของผลผลิตทางการเกษตรและวิศวกรรมเกษตรทำหน้าที่ดังนี้

ออกแบบและตรวจสอบเครื่องมือทางการเกษตรเช่น รถไถ เครื่องจักรกลทางเกษตร การแผ่ขยายของปุ๋ยเคมี อุปกรณ์ติดตั้งเครื่องบรรทุกของ เครื่องมือเก็บเกี่ยวและระบบการป้อนอาหารสัตว์

ออกแบบและพัฒนาโรงเก็บผลผลิตทางการเกษตร ที่พักของสัตว์ พัฒนาแหล่งน้ำและจัดสรรทรัพยากรทางน้ำเพื่อการเกษตรรวมถึงผิวดินด้วย

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที