วิลลี่

ผู้เขียน : วิลลี่

อัพเดท: 11 ต.ค. 2006 10.44 น. บทความนี้มีผู้ชม: 47193 ครั้ง

QCC ย่อมาจาก Quality Control Circle หรือชื่อภาษาไทยว่า กลุ่มคุณภาพ / กลุ่ม QC หลายองค์การได้หันมาสร้างความเก่งให้กับพนักงานในรูปแบบการทำกลุ่มคุณภาพ (QCC) องค์การสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ ก่อให้เกิดทั้งประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความน่าเชื่อถือ และเมื่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น บริษัทเหล่านี้ก็พร้อมที่จะแข่งขันกับคู่แข่งทั้งภายนอกและภายในประเทศ


ที่มาที่ไป และนิยามของ QCC

ที่มาที่ไปของ QCC

ยุคสมัยของอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไป จากยุคที่แข่งขันด้วยเทคโนโลยี ที่ใครมีเหนือกว่าก็จะสามารถชนะคู่แข่งขัน เมื่อเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์อะไรๆก็ไม่ต่างกันเสียแล้ว ยุคนี้จุดต่างจึงอยู่ที่ว่าคนของใครเก่งกว่ากัน การทำให้คนในองค์การเก่งนั้นไม่ยาก เพราะเราสามารถฝึกอบรมได้ ซึ่งเดี๋ยวนี้ใครๆก็ทำกันเยอะแยะ แต่การที่ทำให้คนเก่ง อยากอยู่ อยากทำ อยากคิด นั้นไม่ง่าย องค์การจึงต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารเพื่อให้คนเก่ง อยากอยู่ อยากทำ อยากคิด ในประเทศญี่ปุ่นเองมีแนวคิดในการให้พนักงานของเขาทั้งองค์การ มีส่วนร่วมในการบริหาร โดยใช้กลุ่มคุณภาพ (QCC) เพื่อตัวพนักงานเองจะได้แสดงความสามารถให้เป็นที่ยอมรับในหมู่เพื่อนฝูงอันเป็นการบรรลุความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งตามทฤษฎีลำดับชั้นความต้องการของ มาสโลว์(ซึ่งมีอยู่ห้าขั้น) อีกทั้งผู้บริหารเองก็มองเห็นศักยภาพของพนักงานในมุมที่ไม่เคยเห็นมาก่อน นับเป็นการขุดเพชรตมมาเจียรนัย และปัญหาส่วนใหญ่ที่พนักงานได้มีส่วนร่วมแก้ไขนั้นมักเป็นปัญหาลดความเหนื่อยยากในการทำงานให้น้อยลง จึงทำให้พนักงานมีชีวิตการทำงานดีขึ้น มีความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้น ก่อให้เกิดการอยากที่จะคิด อยากที่จะทำ
ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ หลายองค์การได้หันมาสร้างความเก่งให้กับพนักงานในรูปแบบการทำกลุ่มคุณภาพ (QCC) องค์การสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ ก่อให้เกิดทั้งประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความน่าเชื่อถือ และเมื่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น บริษัทเหล่านี้ก็พร้อมที่จะแข่งขันกับคู่แข่งทั้งภายนอกและภายในประเทศ

นิยาม
QC Circle หรือ QCC หรือ กลุ่ม QC คืออะไร? (Fundamentals of QC Circle แก้ไขปี 1995)
1. กลุ่มเล็กๆ ประกอบด้วยพนักงานที่อยู่หน้างาน
2. ร่วมกันปรับปรุงคุณภาพงาน สินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง
3. ดำเนินการได้ด้วยตนเองตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม (Autonomous)
4. ใช้ QC Concept และ เทคนิค ในการแก้ไขปัญหา
5. ดึงความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานออกมาใช้ และส่งเสริมการพัฒนาตนเอง เพื่อยกระดับความสามารถและพัฒนาซึ่งกันและกัน เพื่อให้มีมุมมองที่กว้างขึ้น


ถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
อาจารย์อุดม สลัดทุกข์
ที่ปรึกษาอุตสาหกรรม
ฝ่ายวินิจฉัยและให้คำปรึกษาสถานประกอบการ
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
โทร. 0-2717-3000 ต่อ 632 โทรสาร 0-2719-9489-90
E-mail: udom@tpa.or.th
Web Site : http://www.tpa.or.th/shindan/qcc.php


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที