ขนิษฐา

ผู้เขียน : ขนิษฐา

อัพเดท: 13 มี.ค. 2007 14.31 น. บทความนี้มีผู้ชม: 922247 ครั้ง

สร้างเสริมการเรียนรู้ โดย นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม ชั้นปีที่ 1


เทคนิคการปูกระเบื้อง

นักศึกษา นายสมชาย  บุญรัตน์    

                     เทคนิคการปูกระเบื้อง

 

1.    ป้ายกาวซีเมนต์บางส่วนลงบนพื้นด้วยเกรียงใบโพธิ์หรือเกรียงหวี และใช้เกรียงหวีปาดกาวซีเมนต์ให้เป็นทางยาวบนพื้นผิวประมาณ  1  ถึง  2  ตร.ม  แล้วเกลี่ยให้ทั่วความหนาตามร่องของร่องเกรียงหวีที่ใช้เพื่อเป็นการควบคุมปริมาณกาวซีเมนต์ที่ใช้ให้สม่ำเสมอ

-                ความหนาของกาวซีเมนต์ที่เหมาะสม  ควรหนา  2  ถึง  10  มม.

-                ความหนาของกาวเหลวที่เหมาะสม  ควนหนา  0.7  ถึง  4  มม.

-                ความหนาของกาวอีพ๊อกซี่เรซิ่นที่เหมาะสม  ควรหนา  3  ถึง  5  มม.

(สำหรับพื้น :   ใช้เกรียงหวีปาดกาวซีเมนต์ลงบนพื้นผิว  และสำหรับผนัง :  ใช้เกรียงหวีปาดกาวซีเมนต์เป็นแนวนอนลงบนพื้นผิว  )

2.   ในกรณีปูกระเบื้องขนาดใหญ่กว่า 25*25 ซม.  ( 10*10 นิ้ว)  ควรปาดกาวซีเมนต์ลงบนหลังกระเบื้องให้ทั่วเล็กน้อย เพื่อให้แน่นใจว่าได้ปาดกาวซีเมนต์ลงบนพื้นผิวอย่างทั่วถึง และไม่มีช่องอากาศว่างเหลืออยู่เมื่อปูกระเบื้องเสร็จ

3. ปูกระเบื้องลงบนกาวซีเมนต์ และกดให้แน่น หรือใช้ค้อนยางเคาะบนกระเบื้องให้ทั่วเพื่อให้ร่องของกาวซีเมนต์ที่แผ่นกระเบื้องกดทับประสานกันอย่างทั่วถึง เว้นช่องว่างระหว่างกระเบื้องแต่ละแผ่น เพื่อให้เป็นร่องยาแนว  (  อย่างน้อย  2  มม.  )

                4.     หากต้องการจัด  หรือปรับตำแหน่งของกระเบื้องเมื่อปูเสร็จแล้ว ด้วยกาวซีเมนต์ สามารถปรับตกแต่งกระเบื้องแต่ละแผ่น ภายใน 15 ถึง 20 นาที ก่อนที่กาวซีเมนต์จะแห้งสนิท

                 5.      ทิ้งให้กาวซีเมนต์แห้งประมาณ 24 ชม. ก่อนการยาแนว

                                 -      ควรเลือกยาแนว ที่เหมาะสมกับงาน  ยาแนว มีหลายชนิดและหลากสีให้เลือกตามขนาดของร่องยาแนว   และลักษณะของสถานที่

 

 ข้อแนะนำสำหรับการปูกระเบื้อง

   -   ควรหลีกเลี่ยงการป้ายกาวซีเมนต์ใต้แผ่นหลังเป็นจุดๆ ( ซาลาเปา )   เนื่องจากจะทำให้มีช่องอากาศระหว่างแผ่นกระเบื้องกับพื้นผิวช่องอากาศใต้พื้นกระเบื้องมีผลทำให้กระเบื้องแตก และน้ำสามารถไหลซึมเข้าไปได้ง่าย   

   -  ควรหลีกเลี่ยงการใช้กาวซีเมนต์ เมื่อมีแสงแดดโดยตรง หรือพื้นผิวที่ร้อนจัด

 

 ข้อแนะนำสำหรับการยาแนว

-     การรักษาเส้นยาแนวให้เป็นเส้นตรง ควรใช้พลาสติกเป็นรูปกากบาท ( spacer ) คั่นระหว่างแผ่นกระเบื้องขนาดความกว้างของพลาสติกที่ใช้ ( กากบาท ) คือความกว้างของร่องยาแนว

-    เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำเข้าใต้แผ่นกระเบื้อง  และป้องกันการเสียดสีของแผ่นกระเบื้อง  ขณะที่มีการสัญจรบนพื้นผิว  ควรเว้นร่องยาแนวอย่างน้อย  1.5  มม.  สำหรับงานผนัง  และอย่างน้อย 3 – 20  มม.สำหรับงานพื้น

-     หลังจากยาแนวแล้วเสร็จควรทิ้งไว้ประมาณ  24  ชม. จึงใช้น้ำยาปกป้องร่องยาแนวเพื่อช่วยปกป้องร่องยาแนวจากคราบสกปรก  เช่น  คราบสบู่  คราบน้ำมัน  บริเวณห้องน้ำ  และห้องครัว

 

ข้อควรระวัง

1          มีซีเมนต์เป็นส่วนประกอบ  ในกรณีของผู้แพ้ซีเมนต์  อาจเกิดอาการคัน  ผื่นแดง  หรือผื่นไหม้ได้

2          ควรระวังไม่ให้เข้าตาหรือสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงควรสวมเสื้อผ้าที่มิดชิด  ใส่ถุงมือและควรใช้ผ้าปิดจมูก  เพื่อป้องกันการสูดดมผงปูน

3          ควรทำงานในที่ที่มีอากาศถ่ายเท

4          ในกรณีที่สัมผัสผิวหนัง  ควรล้างออกด้วยน้ำและสบู่ทันที

5          ในกรณีที่เข้าตาควรล้างออกด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้ง และควรรีบไปพบแพทย์ทันที

6          ควรเก็บให้ห่างมือเด็ก

                   กาวปริมาณการใช้ซีเมนต์  ต่อ  ตาราง  ขึ้นอยู่กับขนาด และน้ำหนักของกระเบื้อง

 ( ในกรณีที่ขนาดของกระเบื้องใหญ่กว่า 25 * 25 ซม.  หรือ  10 * 10  นิ้ว ควรปาดกาวซีเมนต์บางๆข้างหลังกระเบื้อง )    


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที