การพัฒนาบุคลากรในโรงงานแบบ Monozukuri : แนวทางพัฒนาบุคลากรที่ยั่งยืน เพื่อช่วยขจัดปัญหาการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ

2020-05-26 14:48:43

 

 

 เมื่อกล่าวถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมของไทยให้ล้ำหน้ากว่าที่เป็นอยู่ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เรื่องนี้เป็นจริงได้ ก็คือแรงงานหรือบุคลากรที่อยู่ในภาคการผลิต


บุคลากรในโรงงาน

 

 

แม้ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการส่วนมากตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงพยายามยกระดับความสามารถและคุณภาพของบุคลากร ด้วยการจัดฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานโดยตรง รวมถึงให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการและการควบคุมคุณภาพ เช่น กิจกรรม 5ส, ไคเซ็น, TPM, QCC เป็นต้น

 

แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่าไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะการพัฒนาบุคลากรส่วนใหญ่ที่ทำอยู่ เป็นการจัดการโดยฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีความเข้าใจลักษณะงานในภาคปฏิบัติ ว่ามีความแตกต่างจากงานในสำนักงานทั่วไปมาก

 

ผลที่ได้จึงเป็นการจัดฝึกอบรมแบบทำตาม ๆ กัน ขาดการวางแผนพัฒนาอย่างเป็นระบบ เป็นการให้ความรู้แบบแยกส่วน และขาดการส่งเสริมให้นำไปใช้จริง  อีกทั้งไม่มีเป้าหมายการพัฒนาบุคลากรแต่ละระดับอย่างชัดเจน สุดท้ายจึงไม่ได้รับความร่วมมือที่ดีทั้งจากตัวพนักงานเองและผู้เกี่ยวข้อง

 

หากคุณเองก็อยู่ในแวดวงโรงงานหรือสถานประกอบการ และกำลังประสบปัญหากับแนวทางการพัฒนาบุคลากรที่ไม่สัมฤทธิ์ผลเช่นนี้ ขอแนะนำให้ลองนำประสบการณ์จริงของคุณ Toshimichi Hata ที่เขียนไว้ในหนังสือ “การพัฒนาบุคลากรในโรงงานแบบ Monozukuri” ไปปรับใช้ดู 

 

หนังสือเล่มนี้ อธิบายวิธีวางแผนพัฒนาบุคลากรที่หน้างานการผลิตอย่างเป็นรูปธรรม มีรายละเอียดการสอนงานและแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นลำดับขั้น ตลอดจนการปลูกฝังจิตสำนึกของคนทำงานที่หน้างาน ตั้งแต่ระดับพนักงานใหม่ จนพัฒนาขึ้นมาเป็นหัวหน้าหน่วย หัวหน้างาน และผู้จัดการแผนก

 

การพัฒนาบุคลากรในโรงงาน

 

ครอบคลุมทั้งเรื่องการพัฒนาทักษะฝีมือที่เกี่ยวข้องกับคนทำงานแต่ละระดับ รวมถึงการบ่มเพาะให้มีจิตวิญญาณที่คำนึงถึงคุณภาพ ความปลอดภัย และการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมการผลิตของญี่ปุ่นที่เรียกว่า Monozukuri (โมโนซุคุริ)” ซึ่งใส่ใจในทุกกระบวนการผลิตตั้งแต่การออกแบบจนถึงหลังการขาย เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เป็นที่พอใจของลูกค้า อันเป็นจุดแข็งที่ทำให้บริษัทผู้ผลิตของญี่ปุ่นมีความสามารถสูงในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม

 

เชื่อว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับสถานประกอบการไทย ช่วยขจัดปัญหาการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ เพิ่มอัตราการผลิต เพิ่มมูลค่าสินค้า และลดต้นทุนอย่างได้ผล ทำให้มีศักยภาพหนีห่างคู่แข่งทั้งภายในและภายนอกประเทศในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้านได้เป็นอย่างดี

   

 

ทดลองอ่าน

 

 

 

 

 

 

 

    

การพัฒนาบุคลากรในโรงงานแบบ Monozukuri   

เขียนโดย Toshimichi Hata           

แปลโดย  ดร.บัณฑิต โรจน์อารยานนท์

ขนาด  17 23 cm

จำนวนหน้า 216 หน้า

สั่งซื้อได้ที่  tpabook.com/product/การพัฒนาบุคลากร-monozukuri/

 

 


 


แนะนำให้เพื่อน: