นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 15 ม.ค. 2015 08.27 น. บทความนี้มีผู้ชม: 232015 ครั้ง

www.thummech.com
หุ่นยนต์ (Robotics or Robot) เป็นประดิษฐ์กรรมอัจฉริยะทางวิทยาศาสตร์ เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ หุ่นยนต์มีตั้งแต่รูปแบบที่สร้างขึ้นมาให้ทำงานง่าย ๆ ไปจนถึงรูปแบบที่ทำงานได้ซับซ้อน ในปัจจุบันหุ่นยนต์ได้เข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของมนุษย์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเป็นอย่างมาก


หุ่นยนต์อัตโนมัติ (Autonomous robots)

หุ่นยนต์อัตโนมัติ (Autonomous robots)

                หุ่นยนต์อัตโนมัติ คือหุ่นยนต์ที่มันสามารถทำงานได้ด้วยตัวของมันเอง มีอิสระในการทำงาน โดยปราศจากการควบคุมของมนุษย์ มันมีโปรแกรมที่ป้อนไว้ในหน่วยความจำของหุ่นยนต์ ที่สามารถทำให้มันทำงานได้ และเมื่อเจออุปสรรคกีดขวางการทำงาน มันก็สามารถหลบ / หลีก หรือแก้ปัญหา ถ้าเทคโนโลยีของหุ่นตัวนั้นสามารถทำได้

 25769_aibo.JPG

รูปหุ่นยนต์สุนัข “AIBO”

 

                “หุ่นยนต์ชน และไป (Bump-and-go robot)” หุ่นยนต์ประเภทนี้มีเซ็นเซอร์ป้องกันการชน คือเมื่อเจอสิ่งกีดขวาง และหุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปชนกับอุปสรรค เซ็นเซอร์ก็จะตรวจจับการชน ขณะที่หุ่นยนต์ชนกระทบ โปรแกรมของหุ่นจะคำนวณ และบอกลักษณะสิ่งกีดขวาง จากนั้นมันก็จะทำการคำนวณ และทำการเลี้ยวหลบหลีกสิ่งกีดขวางนั้น และเคลื่อนที่ต่อไปอีกครั้ง ในการตอบสนองทุกครั้งที่หุ่นกระทบสิ่งกีดขวาง มันก็จะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ทุกครั้ง

 25769_urbie2.JPG

รูปหุ่นยนต์สำรวจปฏิบัติการทางทหาร รุ่น “เออร์บี้ (Urbie)

 

                หุ่นยนต์อัตโนมัติมีความฉลาดมากน้อยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการป้อนโปรแกรมการทำงาน และเทคโนโลยีของหุ่นยนต์ พร้อมกับการที่มีระบบเซ็นเซอร์ที่ดี จึงทำให้หุ่นยนต์นั้นฉลาด และรับรู้การทำงานขณะนั้นได้ ในปัจจุบันหุ่นยนต์อัตโนมัติสามารถค้นหาเส้นทางอย่างได้ผล ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย

                เซ็นเซอร์ของหุ่นยนต์ที่คอยตรวจจับสิ่งกีดขวาง จะใช้แสงอินฟาเรด และ/หรือใช้คลื่นเสียงโซน่าร์  เซ็นเซอร์ที่ใช้คำนวณหาตำแหน่ง ได้มีการศึกษาพฤติกรรมการของสัตว์ เช่น ค้างคาวมันสามารถบินหลบหลีกสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ได้ โดยการปล่อยคลื่นโซน่าร์ออกมา ในหุ่นยนต์ก็เช่นกันมันจะส่งสัญญาณเสียง หรือลำแสงอินฟาเรด และทำการวิเคราะห์ไตร่ตรองสิ่งที่ได้จากสัญญาณสะท้อน หุ่นยนต์จะทำการคำนวณหาตำแหน่งจากตัวหุ่น ถึงสิ่งกีดขวางว่ามีระยะทางเท่าไรได้จากสัญญาณที่ส่งกลับ

 

รูปแสดงระบบระบบส่งสัญญาณ

 

                หุ่นยนต์สมัยใหม่จะใช้การวิเคราะห์วัตถุ จากการสร้างภาพสามมิติโดยใช้ “ระบบทัศนะวิสัยสเตอริโอ (Stereo vision) รอบทิศทาง” ซึ่งสามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่รอบตัวหุ่นยนต์ โดยใช้กล้องภายในตัวหุ่นยนต์ 2 แบบ ทำให้หุ่นยนต์สามารถรับรู้ในแนวลึกของวัตถุ และมีโปรแกรมทำการจดจำวัตถุ และสามารถฉายภาพสะท้อนออกมาสู่หน้าจอที่ตัวหุ่น หรือหน้าจอผู้ควบคุมดูแลหุ่นยนต์ สามารถจำแนกวัตถุได้ นอกจากนี้หุ่นยนต์อาจจะมีการใช้ไมโครโฟนเพื่อบันทึกเสียง และอาจมีระบบเซ็นเซอร์ไว้รับกลิ่นที่ได้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือวัตถุที่มันกำลังทำการตรวจสอบอยู่

                หุ่นยนต์บางชนิดสามารถทำการวิเคราะห์ ในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย (สถานที่ที่ไม่เคยปฏิบัติการมาก่อน), ภูมิประเทศที่เป็นถิ่นทุรกันดาร, พื้นที่ที่เป็นอันตราย ฯลฯ และปรับการทำงานที่เหมาะสมกับตัวหุ่นเอง ยกตัวอย่างเช่น จำลองภูมิประเทศที่น่าจะเป็นไปได้ ความน่าจะเป็นต่อเหตุการณ์ หรือวัตถุที่พบเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ประยุกต์ข้อมูล จากฐานข้อมูลที่มีอยู่

                หุ่นยนต์ที่ออกแบบมาดี สามารถทำงานได้อย่างมีอิสระ สามารถเคลื่อนไหวชิ้นส่วนที่ยื่นออกมาจากร่างกาย เช่น แขน หรืออุปกรณ์ทำงานอื่น ๆ  เซ็นเซอร์ตรวจจับสิ่งที่หุ่นได้พบเจอ ส่งสัญญาณไปสั่งการควบคุมอุปกรณ์แอคติวเตอร์โดยมีโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์เป็นโปรแกรมสั่งการ ในการเคลื่อนที่คอมพิวเตอร์ของหุ่นยนต์จะกำหนดเส้นทาง และโปรแกรมจะสั่งการให้มันพยายามเคลื่อนที่ไปถึงจุดหมายให้ได้เร็วที่สุด


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที