สมจิตร

ผู้เขียน : สมจิตร

อัพเดท: 12 ก.ค. 2008 15.11 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4956 ครั้ง

แนะนำภาควิชาที่น่าสนใจและกำลังมาแรง สำหรับผู้ที่กำลังหาสถานที่เรียนระดับบัณฑิตศึกษา


ที่ 1

      ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ (ชื่อเดิม ภาควิชาเทคโนโลยีวัสดุ) เป็นภาควิชารุ่นแรกที่เปิดสอนภายใต้คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร (ชื่อเดิมคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม)โดยการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้กระทำอย่างเป็นทางการเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมขึ้นในมหาวิทยาลัยศิลปากรทบวงมหาวิทยาลัยและได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108 ตอนที่ 193 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534

     ปัจจุบันภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ เป็นภาควิชาที่มีจำนวนนักศึกษามากที่สุดในคณะฯและเป็นภาควิชาที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล มีผลคะแนนสอบคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสูงเป็นอันดับต้นๆ ของสาขาวิศวกรรมศาสตร์ทั้งประเทศ มีคณาจารย์ชาวต่างประเทศทั้งจากสหรัฐอเมริกาแคนาดา เยอรมัน และญี่ปุ่น หมุนเวียนกันเข้ามาสอนในภาควิชาอย่างต่อเนื่องตลอดมาสำนักงานภาควิชาฯ ตั้งอยู่ที่ชั้น 7 อาคาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ภาควิชาฯ ให้บริการการเรียนการสอนเป็น 4 หลักสูตรได้แก่

หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ และ สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ
หลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาการ และ วิศวกรรมพอลิเมอร์
หลักสูตรระดับปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาการ และ วิศวกรรมพอลิเมอร์

          หลักสูตรที่ภาควิชาฯ เปิดสอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม และความรับผิดชอบสูงออกไปรับใช้ประเทศในการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวัสดุประเภทต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตมอนอเมอร์ ตัวทำละลาย พลาสติก ยาง เส้นใย สิ่งทอ สี  สารเคลือบผิว โลหะและโลหะผสม เซรามิกส์และวัสดุประเภทเสริมแรงรวมทั้งวัสดุชนิดพิเศษต่างๆ เช่น วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ และวัสดุนาโนต่าง ๆ

          หลักสูตรในระดับปริญญาตรีทั้ง 2 หลักสูตรได้จัดร่างขึ้นโดยการผสมผสานกันระหว่างกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิชาด้านวัสดุศาสตร์ กลุ่มวิชาด้านวิศวกรรมกระบวนการเคมี และกลุ่มวิชาด้านการจัดการและเศรษฐศาสตร์ทำให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ที่ภาควิชาจัดสอนนี้นอกจากจะทราบถึงธรรมชาติและคุณสมบัติของวัสดุประเภทต่าง ๆ เป็นอย่างดีแล้ว ยังได้ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ การออกแบบและวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการจัดการเป็นอย่างดีด้วย จึงสามารถปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมได้ทั้งด้านการควบคุมกระบวนการผลิต(Process Control) งานควบคุมคุณภาพ(Quality Control) งานวิจัยและพัฒนา (Research and Development) งานด้านการจัดจำหน่าย และให้คำปรึกษา ผู้จบการศึกษาจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ในสาขานั้น ๆ ตามเป้าหมายของหลักสูตร บัณฑิตของภาควิชาฯ ได้รับเกียรติบัตรต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องตลอดมา

ข้อมูลจาก : http://mse.su.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=15&Itemid=28


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที