เด็ก ๆ

ผู้เขียน : เด็ก ๆ

อัพเดท: 06 ก.ย. 2008 00.23 น. บทความนี้มีผู้ชม: 26681 ครั้ง

แนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับ การบริหารจัดการ ที่ควรอ่าน


การอธิบายระบบ อุปสงค์และอุปทาน แนวใหม่

 




วันพุธ ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551
การอธิบายระบบ อุปสงค์และอุปทาน แนวใหม่, ผู้อ่าน : 51 , 19:32:41 น.

การจัดระบบ ทฤษฏีอุปสงค์อุปทาน ที่ถูกต้อง แต่คงไม่ถูกใจ นักปั่นราคา มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
1. รัฐสนับสนุน ให้ ผู้ผลิตสินค้า เช่น น้ำมัน ผลไม้ต่าง ๆ และอื่น ๆ เป็นต้น มีความแข็งแกร่งทางการเงิน คือ ให้ผู้ผลิตมี สภาวะ ดอกเบี้ยรับ มากกว่า ค่าใช้จ่าย เพื่อให้ผู้ผลิตสินค้า มีความสามารถ ขายสินค้าในราคาที่ถูก ๆ ได้ โดยไม่ต้องสนใจว่า จะอยู่ในฤดูการใด ๆ
ยกตัวอย่างเช่น



ถ้าผู้ผลิตสินค้า มีดอกเบี้ยรับที่ 100 บาทต่อเดือน และมีต้นทุนการผลิตที่ 50 บาทต่อเดือน และมีต้นทุนสินค้าต่อชิ้นที่ 1 บาทต่อชิ้น ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า เมื่อนำดอกเบี้ยรับ หัก ต้นทุนการผลิตจะมี กำไรเหลือ เท่ากับ 100 - 50 = 50 บาทต่อเดือน กำไรตรงนี้ สามารถนำไปใช้หักต้นทุนสินค้าต่อชิ้น เพื่อให้ราคาสินค้าต่ำกว่าทุน
ยกตัวอย่างเช่น



ใน 1 เดือนผู้ผลิตสินค้า สามารถขายสินค้าได้เฉลี่ย จำนวน 100 ชิ้น เมื่อนำ กำไรเหลือ หารด้วย จำนวนสินค้าที่ขายได้ต่อเดือน ผู้ผลิตจะสามารถเสนอส่วนลดต่อชิ้นได้เท่ากับ 50 หาร 100 = 0.5 บาทต่อชิ้น
ฉะนั้น ราคาต้นทุนสินค้าต่อชิ้นเท่ากับ 1 - 0.5 = 0.5 บาทต่อชิ้น
เท่ากับว่า ถ้าผู้ผลิตขายสินค้าในราคาทุน คือ ชิ้นละ 1 บาท จะทำให้ผู้ผลิตยังคงมีกำไร เท่ากับ 0.5 - 1 = 0.5 บาท
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ถ้าผู้ผลิตมีระบบการออมเงิน ที่ดี จะทำให้ผู้ผลิตสามารถเสนอขายสินค้าในราคาเท่าทุน หรือ อาจต่ำกว่าทุน แต่ยังคงมีกำไรได้อย่างน่าอัศจรรย์เลยทีเดียว



เมื่อผู้ผลิตมีความสามารถเช่นนี้ ประกอบกับ ผู้ขายส่ง และ ผู้ขายปลีก มีความสามารถเช่นนี้ เหมือน ๆ กัน ก็จะทำให้ทฤษฏี อุปสงค์อุปทาน ตามหลักการของ อดัมสมิท ตกไป อย่างสิ้นเชิง
โดยที่กลไกการควบคุมราคา จะไม่ได้อยู่ที่ปริมาณซื้อ หรือ ปริมาณขาย สินค้าหรือบริการอีกต่อไป เพราะ ปัจจัยที่ควบคุมราคาที่แท้จริง คือ ปริมาณดอกเบี้ยรับ นั่นเอง



อาจกล่าวได้ว่า ทฤษฏีอดัมสมิท นั้นมีความถูกต้องในยุคที่ยังไม่มีการนำ ทฤษฏี ดอกเบี้ย มาใช้ แต่ เมื่อมีการนำทฤษฏี ดอกเบี้ยมาใช้ จึงส่งผลให้ ทฤษฏี ราคาสินค้า ที่กล่าวว่า มีผลโดยตรงตามปริมาณซื้อ และ ขาย เป็นอันไม่จริงอีกต่อไป



เพราะ ปริมาณดอกเบี้ยอันมหาศาล สามารถทำให้ ราคาสินค้าลดต่ำ แม้ว่า จะเกิดปริมาณซื้อสูง ซึ่งตามกฏอุปสงค์ กล่าวว่า ถ้ามีปริมาณซื้อสูงจะส่งผลให้ ราคาสินค้าถืบตัวสูงตาม แต่ถ้าผู้ผลิตสามารถอยู่ได้ โดยอัตราดอกเบี้ย และ ส่งผลให้ ราคาสินค้าต่ำกว่าทุนยังคงมีกำไร ก็ไม่จำเป็นที่ จะต้องขายสินค้าแพง เมื่อเกิดปริมาณการซื้อสูง แต่อย่างใด



สรุป
ถ้าผู้ผลิต และ พ่อค้าต่าง ๆ ทำแบบที่ข้าพเจ้ากล่าวได้สำเร็จ ปัญหา ราคาสินค้า ก็จะไม่เป็นปัญหา ใหญ่ เหมือนเช่นทุกวันนี้



THE END


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที