อ.อุดม

ผู้เขียน : อ.อุดม

อัพเดท: 20 พ.ย. 2008 14.52 น. บทความนี้มีผู้ชม: 11765 ครั้ง

ข้อเขียนนี้ตั้งใจให้เป็นกรณ๊ศึกษาสำหรับที่ปรึกษามือใหม่ หรือหัวหน้างาน ตลอดจน Facillitator ที่ต้องบริหารโครงการให้สำเร็จ


กลุ่มไคเซ็นระบุปัญหาผิด ตอนที่ 1

พักนี้ไม่ค่อยได้มาเขียนบทความใส่ให้อ่านกัน จนมีหลายคนมาทักว่า คิดถึง...

เอ้า เอาสักหน่อยครับ

มีครั้งนึงไปให้คำปรึกษาบริษัทผลิตฉลากพลาสติก พวกติดขวดน้ำ ติดกระป่อง แต่ไม่เคยทำระบบคุณภาพมาก่อน
พอเริ่มให้ค้นหาปัญหา พวกก็จั่วหัวแบบนี้ครับ

"รู้สึกว่า Store เล็กไปหน่อย"

อ่านแล้วรู้สึกอย่างไรครับ

มือใหม่ๆอ่านแล้วพาลให้นึกว่า ต้องขยาย Store อีกแน่ๆ หรือแม้แต่หัวหน้าอ่านแล้ว ต้องบอกว่า น้องคนนี้ต้องการขยาย Store แน่ๆ แล้วจะเอาพื้นที่ที่ไหนกัน!!!! แค่นี้ก็ไม่มีพื้นที่อยู่แล้ววววววววววว

จะขอบอกอย่างนี้ครับ

การระบุปัญหาว่า "รู้สึกว่า Store เล็กไปหน่อย" เป็นการระบุปัญหา + คำวิจารณ์ หรือแนวคิด หรือความรู้สึกลงไป

การระบุปัญหาที่ดี จะเป็นการระบุ "ปรากฏการณ์" เท่านั้น

ดังนั้น การระบุปัญหาน่าจะเป็นแบบนี้ครับ

"มีม้วนฟิล์ม กองอยู่ตามพื้น"
"มีเอกสารฝากเก็บใน Store"
"มีอะไหล่เสียๆ ฝากเก็บใน Store"

พึงระวังครับกับการระบุปัญหาที่กำลังต่อว่า ต่อขานใครบางคน หรือกำลังกระทบกระเทียบ เพราะนอกจากไม่สร้างความเป็นพวกเดียวกันแล้ว ซ้ำร้ายจะทะเลาะกันเปล่าๆ

แต่ ผู้คนมักใช้ความรู้สึกส่วนตัวใส่เข้าไปด้วย แล้วมองปัญหาแบบใส่ความรู้สึก เช่น รู้สึกว่าพื้นที่น้อย, รู้สึกว่าคนอื่นมาฝากของ, รู้สึกว่า โน่น นี่ นั่น.....ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ก็จะเน้นว่า "จงระบุปัญหาจากปรากฏการณ์เท่านั้น"


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที