ประยูร

ผู้เขียน : ประยูร

อัพเดท: 27 ธ.ค. 2008 22.29 น. บทความนี้มีผู้ชม: 63348 ครั้ง

บันไดไปสู่การเป็นหัวหน้าที่ดี


แนวคิดของมัตสุชิตะ ในการสร้างความสัมพันธ์ กับ ลูกน้อง




5197_konosuke_matsushita.jpg


แนวคิดของมัตสุชิตะ ในการสร้างความสัมพันธ์ กับ ลูกน้อง


มัตสุชิตะ โคโนซุเกะ ผู้ก่อตั้งบริษัทไฟฟ้ามัตสุชิตะ นับเป็นสุดยอดผู้บริหารคนหนึ่งของญี่ปุ่น และ ของโลก.
เขาได้ยกกรณีของไดเมียวในยุคสงครามกลางเมืองญี่ปุ่นคนหนึ่งขึ้นมาเป็นตัวอย่าง.
ภายหลังเข้าสู่วัยชรา ไดเมียวผู้นี้จึงตัดสินใจยกสมบัติ และ ความรับผิดชอบในการดูแลทรัพย์สมบัติให้แก่ลูกชาย. ในขณะที่ตน ก็เกษียณตัวเอง ไปอยู่ในสถานภาพที่ไม่ต้องมีบทบาทอีกต่อไป.

อยู่มาวันหนึ่ง ไดเมียวผู้นี้ ก็ถามลูกชายว่า
“ พ่อโอนทรัพย์สมบัติให้ไปแล้ว ตอนนี้ ลูกทำอะไรอยู่หรือ”
ลูกชายก็ตอบว่า “ กำลังคัดเฟ้นลูกน้องฝีมือดีๆอยู่ครับ”
“อืม..ก็น่าสนุกดีนะ..แต่ว่า...”  ไดเมียวผู้พ่อ ได้ให้ข้อคิดเห็นต่อลูกเพิ่มเติมว่า
“ ผู้เป็นนาย ยอมต้องคัดเฟ้นลูกน้อง. แต่มีบางครั้งเหมือนกัน ที่ลูกน้อง เป็นผู้เลือกเจ้านาย. ในชีวิตประจำวัน หากเจ้านาย ไม่มีความเอื้ออาทร ต่อลูกน้อง. เมื่อเกิดเหตุฉุกละหุกขึ้น ลูกน้องก็จะหนีหายไปหาเจ้านายที่ดีกว่า. ดังนั้น เมื่อเป็นนายคน จึงพึงต้องใส่ใจในเรื่องเหล่านี้. ตัวเจ้าเอง เกิดและได้รับการเลี้ยงดูมาในครอบครัวที่มีอันจะกิน.  ดังนั้น คงไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกนี้ได้อย่างลึกซึ้งและถ่องแท้. เจ้าจึงพึงต้องใส่ใจในเรื่องนี้เป็นพิเศษ.”

เจ้านายย่อมอยู่ในฐานะที่จะ “สั่งการ” ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาดำเนินการตามประสงค์ของตนได้.
แต่เจ้านายส่วนใหญ่ คงตระหนักชัด ว่าความสำเร็จในชีวิตการงานส่วนใหญ่ของเขา หรือหล่อนนั้น ล้วนเป็นผลลัพธ์ จากความสำเร็จเล็กๆน้อยๆ ของผู้ใต้บังคับบัญชาเหล่านี้ทั้งสิ้น.
เจ้านายจึงพึงเข้าใจว่า ระหว่างเจ้านายกับลูกน้องนั้น ความสัมพันธ์ไม่ใช่มีเพียง “การสั่งการ” เท่านั้น หากยังมี “การสนับสนุน” จากผู้ใต้บังคับบัญชาอีกด้วย.
ดังนั้น ระหว่าง เจ้านายกับลูกน้อง จึงเป็นความสัมพันธ์ที่พึ่งพากันต่างหาก.
รำลึกได้เช่นนี้แล้ว เจ้านายที่เป็นแต่ “นักสั่งการ” คงจะเริ่มเข้าใจ คำเตือนของไดเมียวที่มีต่อลูกชายในเรื่องนี้.

ดังนั้น ทุกครั้งที่ “สั่งการ” หากเจ้านาย มีความรู้สึก หรือ ตระหนัก ถึงความสำคัญของผู้ใต้บังคับบัญชา กระทั่ง “สำนึก” ถึงบุญคุณ ของยักษ์น้อยๆเหล่านี้ สำเนียงภาษาทีใช้ ก็อาจจะฟังดูดีขึ้นมาก.
เช่นเดียวกัน ทุกครั้ง ที่ลูกน้องทำอะไรสำเร็จ ถูกใจ เจ้านายก็ควรจะมีคำ “ขอบคุณ” จากใจจริงตอบกลับไปเสมอ.
ในทางกลับกัน เมื่อใด ที่เขาประสบอุปสรรค กระทั่งทำงานล้มเหลว เจ้านายก็ควรพร้อมจะรับฟังข้ออุปสรรค.
ให้คำแนะนำในการแก้ปัญหา กระทั่งให้กำลังใจที่จะเอาชนะอุปสรรค.

ทำได้ดังนี้แล้ว เจ้านายก็จะสามารถสร้างความจงรักภักดีจากใจจริงของผู้ต้บังคับบัญชาได้.
ลูกน้องของท่าน จะพร้อมที่ทุ่มเทในการทำงาน เพราะความภักดีที่มีต่อเรา มากกว่า เพราะ “ความกลัว” ที่จะถูกเราดุว่า.


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที