มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 15 ส.ค. 2009 10.07 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1880400 ครั้ง

การเดินทางของมนุษย์จะต้องมีแผนที่ การสร้างตึก สร้างบ้าน จะต้องมีพิมพ์เขียว การทำธุรกิจเช่นกันจะต้องมีแผน แผนที่ว่านี้คือแผนธุรกิจ เพื่อความสำเร็จและขออนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรือเวลาที่ท่านต้องการหุ้นส่วน เพื่อให้เขาเหล่านั้นเชื่อว่าการทำธุรกิจของท่านมีความน่าเชื่อถือเพียงใด มิใช่พูดแค่ลมปาก แต่เป็นจริงได้ ที่สำคัญชาวบ้าน ที่จะทำธุรกิจ ไม่มีรู้ความสามารถที่จะเขียนแผนธุรกิจได้ เพราะจะต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ความเชียวชาญในระดับหนึ่ง จึงจะสามารถเขียนขึ้นมาได้ บทความนี้ จะเขียนขึ้นอย่างง่าย ๆ สำหรับคนที่จะทำธุรกิจแต่ไม่มีพื้นฐานความรู้ ขาดความเชี่ยวชาญ ในการทำจัดทำแผนธุรกิจ และไม่เชียวชาญในการประกอบการธุรกิจ


แผนการตลาด

                    แผนการตลาดเป็น  สิ่งที่กำหนดการดำเนินการทางด้านตลาดของธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมกล่าวได้ว่าเป็นการกำหนดความอยู่รอดและ อยู่ได้ตลอดจนเป็นแนวทางของความเจริญทางธุรกิจหากไม่มีแผนการตลาด   ธุรกิจจะขาดแนวทางในการปฏิบัติทางการตลาดจะส่งผลกระทบด้านต่างๆ  ตามมา     เช่นผลกระทบด้านการเงิน    การผลิต    ระบบการจัดการธุรกิจ   กล่าวคือเมื่อสินค้าขายไม่ได้ก็ขาดเงินมาหมุนเวียนในกิจการ การผลิตสินค้าก็ไม่สามารถทำต่อเนื่องได้เช่นกันการดำเนินธุรกิจจะไม่เป็นไปตามระบบ  เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าแผนการตลาดเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ

                    แผนการตลาดเป็นส่วนที่สรุปใจความสำคัญ ๆ ของแผนธุรกิจทั้งหมด  อีกทั้งแผนการตลาดยังเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจเป็นตัวสะท้อนถึงความเป็นไปได้ของธุรกิจ เพื่อความเด่นชัดควรกำหนดแผนการตลาด ให้ละเอียดถี่ถ้วน  นอกจากนั้นแล้วแผนการตลาดเป็นการอธิบายให้ผู้ที่มีส่วนได้เสีย ดังนั้นแผนการตลาดควรมี  สินค้าหรือบริการ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จุดแข็ง โอกาส  จุดอ่อนและอุปสรรคของธุรกิจขนาดย่อมที่กำลังจะทำ  นโยบาย  กลยุทธ์  กลวิธีที่ดำเนินสู่เป้าหมายทางการตลาด   ตลอดจนการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
                  ผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดย่อมควรตระหนักและให้ความสำคัญของแผนการตลาดมากที่สุดเพราะ  เป็นการหาลูกค้าเพื่อกิจการ  การเขียนแผนการตลาดควรที่จะเขียนแบบตรงไปตรงมา  ไม่คลุมเครือ  บอกจุดแข็งจุดอ่อนอย่างชัดเจนและแผนสำรองหากเกิดสถานการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้น   เพื่อแสดงความจริงใจแก่ผู้ร่วมลงทุนและการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน

                    หลังจากเราได้ตัดสินใจว่าจะอยู่ในธุรกิจใดแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือเริ่มวิเคราะห์เกี่ยวกับการตลาด กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย  พฤติกรรมการบริโภคและแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต  แผนการตลาดจะช่วยให้ทราบว่าลูกค้าเป้าหมายกลุ่มใดที่จะซื้อสินค้าจากกิจการตลอดจนทราบปริมาณการซื้อ สรุปออกมาเป็นเป้าหมายทั้งนี้ควรกำหนดตัวเลขออกมาให้ชัดเจนอย่างมีหลักการ
            ความสำเร็จทางการตลาดสามารถเริ่มจากผู้ประกอบการ ซึ่งจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ขาย   การตลาด  การขาย   ลูกค้า และคู่แข่งขัน ก่อนที่จะทำการวางแผนการผลิต พิจารณาปริมาณการซื้อขึ้นกับฤดูกาลหรือไม่และที่สำคัญจะต้องทราบปริมาณของกลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นลูกค้าของกิจการในอนาคต แหล่งที่สามารถให้ข้อมูลทางการตลาดนอกเหนือจากการทำวิจัยแล้ว ยังมีหน่วยงานราชการ และหน่วยงานอิสระ เช่น กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ หอการค้าจังหวัด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานวิจัยด้านการตลาดและการลงทุน สมาคมต่างๆ รวมถึงเอกสารในห้องสมุดของสถาบันการศึกษา เป็นต้น ข้อมูลการสำรวจประชากรสามารถแสดงตัวเลข อายุ อุปนิสัย สามารถทำการพยากรณ์กำลังการซื้อในแต่ละพื้นที่ได้

                     นอกจากนี้ตัวเลขการ นำเข้า-ส่งออกโดยกรมศุลกากร และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ทำให้เราทราบถึงแนวโน้มของตลาดสินค้าต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม สำหรับหน่วยงานในระดับจังหวัด เช่น สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานจังหวัดเกษตรจังหวัด  สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ก็เป็นแหล่งข้อมูลทางการตลาดที่สำคัญเช่นกัน

                   สำหรับในการเขียนแผนการตลาด  มีหลายหน่วยงานที่แสดงรายละเอียดไว้แตกต่างกัน  แต่ข้อมูลที่จำเป็นจะต้องมีในแผนการตลาด  คือ   

v   สินค้าและบริการ (Products and Service) กล่าวถึงว่าการวางตำแหน่ง (Positioning) ของสินค้าหรือบริการว่าอยู่ตําแหน่งราคาใด จับตลาดเปาหมายลูกค้าระดับใด การสร้างภาพลักษณ์ที่มีระดับในใจของลูกค้า          

v   ทราบลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ทั้งเป้าหมายหลักและเป้าหมายรอง กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อธิบายถึงลักษณะทางการตลาด กลุ่มลูกค้าหลัก การวางแผนการเข้าถึงลูกค้า  การสร้างความพึงพอใจ

v   กำหนดขอบเขตธุรกิจหรือขอบเขตการตลาด (Market Size)  

v   การแบ่งส่วนตลาด  (Market Segmentation)

v   การกําหนด  กลยุทธ  กลวิธีทางการตลาดและกิจกรรมทางการตลาด

       ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของธุรกิจ รวมถึงขีดความสามารถทางการแข่งขันของตัวผลิตภัณฑ์

       และความได้เปรียบต่อคู่แข่งขัน ภาพรวมของตลาด  ช่องทางการจัดจําหน่าย


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที