มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 15 ส.ค. 2009 10.07 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1881930 ครั้ง

การเดินทางของมนุษย์จะต้องมีแผนที่ การสร้างตึก สร้างบ้าน จะต้องมีพิมพ์เขียว การทำธุรกิจเช่นกันจะต้องมีแผน แผนที่ว่านี้คือแผนธุรกิจ เพื่อความสำเร็จและขออนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรือเวลาที่ท่านต้องการหุ้นส่วน เพื่อให้เขาเหล่านั้นเชื่อว่าการทำธุรกิจของท่านมีความน่าเชื่อถือเพียงใด มิใช่พูดแค่ลมปาก แต่เป็นจริงได้ ที่สำคัญชาวบ้าน ที่จะทำธุรกิจ ไม่มีรู้ความสามารถที่จะเขียนแผนธุรกิจได้ เพราะจะต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ความเชียวชาญในระดับหนึ่ง จึงจะสามารถเขียนขึ้นมาได้ บทความนี้ จะเขียนขึ้นอย่างง่าย ๆ สำหรับคนที่จะทำธุรกิจแต่ไม่มีพื้นฐานความรู้ ขาดความเชี่ยวชาญ ในการทำจัดทำแผนธุรกิจ และไม่เชียวชาญในการประกอบการธุรกิจ


งบกำไรขาดทุน

งบกำไรขาดทุน

ชื่อกิจการ ...........................................

สำหรับระยะเวลาสิ้นสุด  31 ธันวาคม 25………

 

ที่

รายการ

งวดที่...........

งวดที่...........

ประมาณ

เกิดจริง

ประมาณ

เกิดจริง

1

ขาย

 

 

 

 

2

หักต้นทุนขาย

 

 

 

 

3

กำไรขั้นต้น

 

 

 

 

4

ค่าใช้จ่าย............

 

 

 

 

5

ค่าใช้จ่าย............

 

 

 

 

6

ค่าใช้จ่าย............

 

 

 

 

7

กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี

 

 

 

 

8

ดอกเบี้ยจ่าย

 

 

 

 

9

กำไรก่อนหักภาษี

 

 

 

 

10

ภาษี

 

 

 

 

11

กำไรสุทธิ

 

 

 

 

 

         ระบุทีละงวดให้ครบงวดก่อนจัดทำเป็นงบกำไรขาดทุนประจำปีเมื่อสิ้นปี

    งบกำไรขาดทุนเป็นงบที่แสดงผลการดำเนินงานของธุรกิจที่ผู้ประกอบการต้องการจะดำเนินงาน  การเขียนแผนธุรกิจในส่วนของแผนการเงินนี้  จะมีตัวเลขมากมาย  ที่จะต้องปรากฏ  และตัวเลขเหล่านี้จะน่าเชือถือหรือไม่  ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มา 
          สำหรับในส่วนของงบกำไรขาดทุนจะเป็นส่วนที่ยุ่งยากมาก  เพราะการพยากรณ์ตัวเลขมีความไม่แน่นอน  มีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้เกิดความคาดเคลื่อน  ปัจจัยเหล่านั้นได้แก่
      1.  สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน    ความไม่แน่นอนของสถานะการณ์ทางเศรษฐกิจจะเป็นตัวแปรสำคัญของรายได้ของกิจการ เพราะอำนาจซื้อของลูกค้าไม่มีความแน่นอน ขณะเสนอแผนธุรกิจ  ทั้งผู้ประกอบการเอง  และสถาบันการเงินไม่สามารถคาดคะเนได้  ว่าปริมาณความต้องการ  จะน้อยลงไปเท่าใด  แต่ถ้าในกรณีสินค้าที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสี่  จะคาดคะเนง่ายกว่า  สินค้าและบริการอื่น ๆ   
      2.  ความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล  หากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อย  นโยบายและ  แนวทง  โครงการต่าง ๆ  จะมีการเปลี่ยนตาม   นั่นคือถ้าเป็นโอกาสต่อธุรกิจ  รายได้ที่คาดไว้จะสูงขึ้น  แต่ถ้าเป็นอุปสรรค  การคาดการณ์รายได้จะมีแนวโน้มลดต่ำลง     
      3.  นวัตกรรมและเทคโนโลยี  ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  สินค้าและบริการบางชนิด  เช่นอุปกรณ์สื่อสารและเครื่องมืออิเลคทรอนิคส์  กล่าวคือเมื่อมีสินค้า(ผลิตภัณฑ์)ตัวใหม่ออกสู่ตลาดจะส่งผลกับราคาที่ลดต่ำลงของสินค้า   (ผลิตภัณฑ์)เดิม  ที่จะต้องเป็นไปตามกลไกของราคาของตลาด    ทำให้การพยากรณ์รายได้ไม่แน่นอน                
     


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที