มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 15 ส.ค. 2009 10.07 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1880388 ครั้ง

การเดินทางของมนุษย์จะต้องมีแผนที่ การสร้างตึก สร้างบ้าน จะต้องมีพิมพ์เขียว การทำธุรกิจเช่นกันจะต้องมีแผน แผนที่ว่านี้คือแผนธุรกิจ เพื่อความสำเร็จและขออนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรือเวลาที่ท่านต้องการหุ้นส่วน เพื่อให้เขาเหล่านั้นเชื่อว่าการทำธุรกิจของท่านมีความน่าเชื่อถือเพียงใด มิใช่พูดแค่ลมปาก แต่เป็นจริงได้ ที่สำคัญชาวบ้าน ที่จะทำธุรกิจ ไม่มีรู้ความสามารถที่จะเขียนแผนธุรกิจได้ เพราะจะต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ความเชียวชาญในระดับหนึ่ง จึงจะสามารถเขียนขึ้นมาได้ บทความนี้ จะเขียนขึ้นอย่างง่าย ๆ สำหรับคนที่จะทำธุรกิจแต่ไม่มีพื้นฐานความรู้ ขาดความเชี่ยวชาญ ในการทำจัดทำแผนธุรกิจ และไม่เชียวชาญในการประกอบการธุรกิจ


จริยธรรมสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ

ความหมายของจริยธรรม

        จริยธรรม (Ethic) เป็นส่วนหนึ่งของวิชาปรัชญาเป็นศาสตร์ที่มีมาตั้งแต่โบราณ  สำหรับปัจจุบันเป็นวิชาที่ถูกประยุกต์ใช้ในทุกสาขาวิชาชีพ  การค้าปลีกเป็นกระบวนการที่จะต้องดำเนินกิจการภายใต้ความจริงใจ  ความปรารถนาดี  เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือสำหรับกิจการ  ดังนั้นจริยธรรมจะต้องมีอยู่ในจิตสำนึกของผู้ประกอบการธุรกิจทุกประเภท 

         มีนักวิชาการได้ให้ความหมายของจริยธรรมไว้หลายความหมายเช่น 

        จริยธรรม  หมายถึง  ความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้อง เหมาะสม การทำหน้าที่

ของตนอย่างสมบูรณ์ เว้นในสิ่งที่ควรเว้น   กระทำในสิ่งที่ควรกระทำด้วยความฉลาด

รอบคอบ รู้เหตุผล ถูกต้องตามกาลเทศะและบุคคล(วศิล  อินทสระ, 2525)

        จริยธรรม  หมายถึง  ความประพฤติ หรือกิริยา  หรือการกระทำที่ควรประพฤติในหมู่คณะ

 (พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน,   2525)

         จริยธรรม  หมายถึง  ระบบการทำความดี  ละเว้นความชั่ว

 (. ดร. ดวงเดือน พันธุนาวิน,    2538)

          สรุปจริยธรรมคือ  บรรทัดฐานการประพฤติตนที่มีมาตั้งแต่ในอดีตเพื่อควบคุมการกระทำของมนุษย์ให้มีความถูกต้อง  เหมาะสม  และส่งผลให้เกิดความสงบสุขในหมู่คณะ      

ที่มาของจริยธรรม

          จริยธรรมเป็นสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญาที่ศึกษาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของความประพฤติที่ดีที่เหมาะสมกับบทบาท  หน้าที่  เพื่อความสงบสุข  ดังนั้นจึงมีการนำจริยธรรมมาประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ

           สมัยโบราณ  เพลโตนักปรัชญาชาวกรีซ มีความเชื่อว่า ชีวิตมนุษย์ควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อปลดเปลื้องตนออกจากความทุกข์ เพื่อชีวิตที่สมบูรณ์จะต้องมีเหตุผลทำความดีจากความบริสุทธิ์ใจและมีความยุติธรรม   การทำความดีเพื่อความดีจริงใจไม่มีการแอบแฝง 

           และเพลโตได้อธิบายถึงคุณธรรมที่สำคัญของมนุษย์ มี 4 ประการคือ

           1. ปัญญา                                    2.  ความรู้จักประมาณ        

          3. ความกล้าหาญ        4.  ความยุติธรรม

          ต่อมา  ลูกศิษย์ของเพลโต  ชื่อ  อริสโตเติล    ได้มีการวางหลักจริยธรรมสำหรับชีวิตมนุษย์ไว้ ดังนี้

มนุษย์จะต้องดำเนินชีวิตไปตามหลักเหตุผลและทำหน้าที่ของชีวิตที่ดีนี้ให้สมบูรณ์ มีความยุติธรรม  มีอารมณ์ดี มีสุขภาพดี มีการดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง  ฉลาดคิด  ความดีของมนุษย์ มี 3 ชนิด คือ ความดีภายนอก  ได้แก่ ชื่อเสียง ความดีทางวิญญาณ ได้แก่ สติปัญญา ความสุข คุณธรรมฯ ความดีทางร่างกาย ได้แก่ ความสมบูรณ์ของสุขภาพที่ดี 

               


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที