คงเดช

ผู้เขียน : คงเดช

อัพเดท: 01 ม.ค. 2009 23.28 น. บทความนี้มีผู้ชม: 187406 ครั้ง

ในขณะที่ "การให้รางวัล" เป็นสิ่งที่นำมาใช้ควบคุมการเกิดพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตได้ดีที่สุด ไม่เว้นแม้แต่กับมนุษย์ แต่เชื่อหรือไม่ว่า ส่วนใหญ่แล้วเรากลับไม่ได้ให้ความสำคัญกับแนวคิดเรื่องระบบการให้รางวัลเท่าใดนัก...


Self-determination Theory (SDT) และ Cognitive Evaluation Theory (CET) ของ Deci และ Ryan (ตอนที่สอง)

** ขออภัยครับ... มีความผิดพลาดกับลำดับของทฤษฎี ต้องเป็น Cognitive Evaluation Theory ก่อน จึงจะเป็น Self-determination Theory นะครับ **

ในขณะที่ CET (Cognitive Evaluation Theory) ของ Deci และ Ryan ได้อธิบายถึงความต้องการขั้นพื้นฐานที่จะทำให้คนเราเกิดแรงจูงใจภายใน ในการทำพฤติกรรมใดๆ ก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้ว โดยเฉพาะในบริบทขององค์การ ลูกจ้างเกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้องการแรงจูงใจภายใน ในการกระตุ้นให้ทำพฤติกรรมอะไรบางอย่างทั้งนั้น

88325_cet.gif

Deci และ Ryan ได้เสนอว่า ในการทำพฤติกรรมของคนเรานั้น สามารถแบ่งระดับของแรงจูงใจออกได้เป็น 6 ระดับ โดยสามารถไล่ระดับได้ตั้งแต่ทำพฤติกรรมโดยไม่ต้องมีแรงจูงใจใดๆ เลย ไปจนถึงทำพฤติกรรมโดยมีแรงจูงใจจากภายใน

แต่ละระดับสามารถอธิบายได้ดังนี้

1. Non-regulation เป็นระดับที่การทำพฤติกรรมนั้นไม่ต้องอาศัยแรงจูงใจแต่อย่างใด โดยมากมักจะเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือเราไม่สามารถควบคุมได้ และรวมไปถึงพฤติกรรมใดๆ ก็ตามที่ทำโดยไม่หวังผลอะไร
2. External Regulation เป็นระดับที่การทำพฤติกรรมนั้นอาศัยแรงจูงใจจากภายนอกล้วนๆ เช่น ทำไปเพราะต้องการเงินรางวัล หรือคำชมเชย เป็นต้น
3. Introjected Regulation เป็นระดับที่การทำพฤติกรรมนั้น เริ่มอยู่ในการควบคุมโดยความต้องการของตนเองขึ้นมาบ้าง ทำเพื่อตอบสนองอีโก้ (Ego) ของตนเอง ทำเพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกผิด เป็นต้น
4. Identified Regulation เป็นระดับที่การทำพฤติกรามนั้น เกิดจากความรู้สึกว่าเรามองเห็นคุณค่าของพฤติกรรมดังกล่าว เราอยากทำพฤติกรรมนั้นเพราะมันสำคัญ
5. Integrated Regulation เป็นระดับที่การทำพฤติกรรมนั้น กลายเป็นส่วนหนึ่งของเราไปเสียแล้ว เรามองว่าพฤติกรรมนั้นมีความสอดคล้องกับแนวคิดของเรา (ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว อาจเป็นไปได้ว่าแนวคิดของเราต่างหากที่แปรเปลี่ยนไปสอดคล้องกับการทำพฤติกรรมนั้นๆ) ซึ่งหากอยู่ในระดับนี้เป็นระยะเวลาหนึ่งๆ มันก็จะนำไปสู่ระดับสุดท้ายคือ
6. Intrinsic Motivation หรือระดับที่เราทำพฤติกรรมนั้นเพราะเราอยากทำ ทำแล้วสนุก ทำแล้วมีความสุข

เราจะเอาแนวคิดนี้มาใช้ในองค์การได้อย่างไร ตอนจบเราจะมาพูดถึงกันครับ

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที