โอ่ม โอ๊ม โอม

ผู้เขียน : โอ่ม โอ๊ม โอม

อัพเดท: 23 ธ.ค. 2008 16.55 น. บทความนี้มีผู้ชม: 6830 ครั้ง

จากคู่มืออ่านคน
กลยุทธ์อ่านใจคน


เรียนรู้การฟังสิ่งที่มากกว่าคำพูด

ตอนที่ฉันยังเด็ก แม่มักพูดว่า “ไม่ใช่สิ่งที่หนูพูดหรอก มันขึ้นอยู่กับว่าหนูพูดยังไงต่างหาก” 

หลายปีต่อมา ฉันพบว่าฉันพูดประโยคเดียวกันนี้กับลูกๆ

พฤติกรรมของเขาเหล่านั้นทำให้ฉันระลึกถึงว่าเราสามารถเปิดเผยทัศนคติของเราไม่เพียงผ่านคำพูดของเรา แต่ยังผ่านวิธีการพูดของเราอีกต่างหาก

บทสนทนาสองประเภทเกิดขึ้นในทุกบทสนทนา – อย่างแรกใช้คำพูด  อย่างหลังใช้น้ำเสียง  บางครั้งทั้งสองต่างสอดคล้อง แต่บ่อยครั้งที่มันไม่ไปด้วยกัน

เมื่อคุณถามใครสักคนว่า “สบายดีไหมจ๊ะ” และได้รับคำตอบว่า “สบายดีจ้า” คุณต้องไม่สนใจแต่เพียงคำว่า “สบายดี” เพื่อหาคำตอบว่าใครคนนั้นรู้สึกอย่างไร

จริงๆแล้วคุณควรใช้น้ำเสียงของเขาหรือเธอผู้นั้นเพื่อบอกให้รู้ว่า...

...สบายดี

...หดหู่

...กระวนกระวาย

...ตื่นเต้น

...หรือมีอารมณ์รู้สึกไหน

เมื่อคุณฟังเสียง ระดับเสียง จังหวะการพูดหรือลักษณะเสียงอื่นๆ  คุณปรับระดับเข้าสู่การสนทนาที่ไม่ใช้เสียง ซึ่งเนื้อหาจริงๆจะถูกค้นพบ ณ ที่นี้

ใครก็ตามที่มีระดับการฟังปกติสามารถสืบเสาะสัญญาณที่คนส่งมาพร้อมกับน้ำเสียง แต่น้อยคนนักจะทำความเข้าใจได้ทั้งหมด  ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องเพราะเมื่อเรามีปฏิสัมพันธ์กับใครก็ตาม มันจะแย่งความสนใจไป   เราไปเน้นที่บุคคลิกลักษณะและภาษากาย,ฟังเนื้อหาในคำพูดและเฝ้ามองการกระทำ  เราทำกระทั่งระบุปฏิกิริยาเชิงสัญชาตญาณที่เรามีต่อบุคคลและสถานการณ์

คุณสามารถสังเกตสารที่ผู้คนส่งมาด้วยน้ำเสียง สีหน้าท่าทาง เศร้าสลดหรือหงุดหงิดใจ  แต่ทว่าโทนเสียงของความกระวนกระวาย กลัวหรือกระอักกระอักกระอ่วน จะจางหายไปถ้าคุณไม่สังเกตอย่างใกล้ชิด

ฉันฝึกให้ตนเองฟังปมทางเสียง(vocal clues) เหล่านี้และตระหนักในความคลาดเคลื่อน เพราะว่าความรู้สึกชั่วขณะคือจุดเดียวที่ฉันได้สัมผัสว่าลูกขุนที่กำลังถูกคัดเลือก

มีความสงสัยหรือมีความรู้สึกที่แท้จริงต่อลูกความของฉัน 

            บทนี้จะเป็นการสำรวจวิธีผู้คนสื่อสารกันโดยไม่ตั้งใจและตั้งใจผ่านน้ำเสียง

            อธิบายวิธีที่คุณสามารถปรับเงื่อนปมทางเสียงและถอดรหัสสารที่บรรจุในลักษณะของเสียงเหล่านี้

 

                                               

ฟังความระหว่างบรรทัด

 

นอกห้องบำบัด  พวกเราน้อยคนนักที่เต็มใจประกาศว่า

“คุณทำร้ายความรู้สึกฉัน”

“ผมเสียใจและอยากเคลียร์ใจกับคุณ”

“ผมหงุดหงิดกับงานและอยากระบายกับคุณสักชั่วโมงเถอะ”

จริงๆแล้วเราส่งสัญญาณความรู้สึกเหล่านี้ด้วยปมทางเสียง

เราเล่นเกมซ่อนหาทางอารมณ์   คนที่เศร้าหมองมักต้องการความเห็นอกเห็นใจแต่รู้สึกว่าตนเองต้องการ “การอนุญาต” ก่อนกล่าวถึงเรื่องนั้น

...เธอจะถอนหายใจ

...พูดนุ่มๆ

...ตอบคำถามสั้นๆ

และผนึกเงื่อนปมทางเสียงเหล่านี้ด้วยภาษากาย  เช่น ตาที่ซึมเศร้า เดินกระโผลกกระเผลกและท่าทีที่ไม่มีชีวิตชีวา  จนท้ายที่สุดคุณจะได้รับสารและถามว่ามีเรื่องอะไรหรือ  นั่นคือการอนุญาตให้เธอค้นหาได้แล้ว

พฤติกรรมดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นเชิงชักใย(manipulative) แต่มันก็เป็นผลผลิตของการอยู่ร่วมกันในสังคม  

เราถูกสอนให้ไม่ขอให้คนสงสาร

ไม่ให้แสดงความไม่พอใจและแสดงความอิจฉาหรือแสดงความโกรธ ทำร้ายความรู้สึกคนอื่นหรือแสดงอารมณ์ไม่พอใจ 

แต่ทว่าบางครั้งเราก็จำเป็นต้องแสดงตัวตนของเราและไม่ต้องการพูดออกมาแบบนั้น  เราจึงใช้น้ำเสียงเพื่อแสดงส่งสาร(convey message)

การสื่อสารแบบไม่ใช้เสียงเกือบจะเป็นสากลไปแล้ว

คุณสามารถได้ด้วยตัวคุณเอง คือการเปลี่ยนทีวีไปหาช่องที่พูดภาษาที่คุณไม่รู้เรื่อง  ดูละครน้ำเน่า หันหลังให้ทีวีและฟังบทพูด  คุณอาจดูไม่รู้เรื่องหรอก  แต่คุณสามารถจับอารมณ์ของผู้แสดงได้

คุณสามารถตอบสนองสาระสำคัญที่ฝังอยู่ในน้ำเสียงคนเข้าใจความหมายของเงื่อนปมอันหลากหลายและสอนตัวเองให้รู้จักฟัง

คุณสามารถทำตามได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ :

· โฟกัสที่เสียง ไม่ใช่คำพูด ระหว่างที่กำลังสนทนา

·       ถามตัวเองว่าเสียงนั้นสะท้อนบุคลิกแห่งความสมัครหรือความไม่สมัครใจ

·       มองหาแพทเทอร์น  ถามตัวเองว่าน้ำเสียงแตกต่างจากปกติหรือไม่ (นั่นคือฟังเพื่อหาความเบี่ยงเบนหรือหาความสุดขั้ว)

·       เปรียบเทียบน้ำเสียงกับกับภาษากายและคำพูด

·       พิจารณาสภาพแวดล้อม

·       ถอดรหัสเงื่อนปมทางเสียง

 

 

 

   โฟกัสเสียง

 

คุณสามารถซึมซับข้อมูลจำนวนมากในแต่ละห้วงยาม  

มันเป็นเรื่องยากในการจดจ่อกับคำพูดของผู้อื่นขณะที่สังเกตเครื่องเพชรหรือสังเกตว่าเธอนั่งไขว้ขวาหรือเปล่า  เนื่องจากมีเรื่องให้สนใจเยอะมาก ทำให้เราไม่ได้สังเกตน้ำเสียงนอกจากจะหลุดโลกจริงๆ

เรามักให้ความสนใจกับคำพูดมากกว่าน้ำเสียงด้วยเหตุที่แสนจะง่ายดาย นั่นคือคำพูดต้องการการตอบ 

บางครั้งถ้าเราไม่สนใจเนื้อหาในการสนทนา เราจะไม่ได้อะไรเลย

กระนั้นก็ตาม ทุกๆบทสนทนาในบางห้วงยามเมื่อคุณไม่จดจ่อกับเนื้อหาและเริ่มสนใจน้ำเสียง  มันใช้เวลาไม่กี่วินาทีหรอกและใช้เวลาฝึกฝน  คุณจะสามารถฟังคำพูดและน้ำเสียงได้ในเวลาเดียวกัน

ถ้าคุณฟังน้ำเสียงใครคนหนึ่งอย่างจริงจัง คุณจะเพิ่มพูนความหมายของคำพูด

 

              แบ่งแยกระหว่างบุคลิกที่สมัครใจและไม่สมัครใจ

 

ความสำคัญของบุคลิกภาพที่สมัครใจและไม่ยินยอมพร้อมใจนั้นได้ถกไว้แล้วในบทที่สอง “ค้นพบแพทเทอร์น”

เมื่อใครคนหนึ่งเปลี่ยนน้ำเสียงอย่างจงใจ  คนผู้นั้นกำลังชักใย(manipulate) ผู้ฟัง

บางทีคุณก็ต้องฟังเนื้อหาอย่างตั้งใจและพิจารณาสถานการณ์เพื่อระบุว่าน้ำเสียงแบบนั้นตั้งใจหรือไม่

บุคลิกลักษณะที่ไม่ตั้งใจต้องถูกประเมินอย่างถ่องแท้

คนใช้มันอย่างไร หรือทดแทนมันอย่างไร  ยกตัวอย่างเช่น ผู้ชายที่มีเสียงสูงเหมือนผู้หญิงอาจใช้วิธีที่หยาบคายดุร้ายเพื่อทำให้ดูเป็นผู้ชายมากขึ้น

คนที่พูดติดอ่างจะพูดช้ามากเพื่อเอาชนะการติดอ่างและทำให้ตัวเองมั่นใจมากขึ้น

ผู้หญิงที่มีเสียงเพราะมากจะเปิดเผยมากกว่าผู้หญิงเสียงแหบและไม่น่าฟัง

คนต่างชาติที่ติดสำเนียงชาติของตนมักจะเงียบเมื่ออยู่ในห้องที่เต็มไปด้วยคนแปลกหน้า

ไม่มีใครในกลุ่มนี้ที่เสแสร้งอย่างจงใจ ตรงกันข้ามพวกเขากลับมีปฏิกิริยาต่อเงื่อนไขที่ไม่สมัครใจในวิถีทางที่สนองตอบต่อพวกเขาดีที่สุด

ขณะที่คุณอ่านบุคลิกด้านน้ำเสียงอันแตกต่างหลากหลายซึ่งอธิบายในบทนี้

และขณะที่คุณประยุกต์ใช้ข้อมูลเหล่านี้ในชีวิตคุณ 

คุณต้องถามตัวเองอยู่เสมอว่าคุณภาพเสียงที่คุณได้ยินอยู่นั้นเป็นธรรมชาติหรือแสร้ง

ถ้าเป็นความจงใจ  มันจะเป็นการสื่อสารอย่างมีเป้าประสงค์

หรืออาจจะมีการชักใยด้วยซ้ำ  แต่บุคลิกที่ไม่จงใจซึ่งเป็นเรื่องทางกายภาพล้วนๆ  เช่น การส่งเสียงดังหรือเสียงหอบหายใจ อาจจะไม่เกี่ยวเนื่องกับอารมณ์ใดๆก็ได้

 

                                                มองหาแพทเทอร์น

                             ความเบี่ยงเบนและความสุดขั้ว

 

            หนังสือเล่มนี้ได้ตอกย้ำความสำคัญของการระบุแพทเทอร์น   เฉพาะบุคลิกบางประการเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ความหรูหราฟุ่มเฟือยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายกาละเทศะ คุณจะมั่นใจได้ไหมว่าคนผู้นั้นหรูหราฟุ่มเฟือย และจากบทสรุปดังกล่าวเขาจะคิดหรือมีพฤติกรรมอย่างไร  ในการพิจารณาลักษณะน้ำเสียง ก็เช่นเดียวกับการพิจารณาลักษณะอื่นๆ จำไว้ว่าการเบี่ยงเบนและการโอเวอร์ของแพทเทอร์นของบางคนมีความสำคัญมากๆ

 

          ลักษณะน้ำเสียงที่เปลี่ยนไป

 

            พวกเราทุกคนเคยพบคนที่สงบเงียบระเบิดอารมณ์โกรธ  หลังจากที่เขาออกจากห้องไปแล้ว  พวกเราที่เหลือต่างมองหน้ากันไปมา และพูดทำนองว่า “สงสัยมันจะบ้าว่ะ  เราไม่เคยเห็นมันเป็นแบบนี้มาก่อน”

            ในทางตรงกันข้าม  เราเคยเผชิญคนเจ้าอารมณ์ที่บูดแม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อย  เมื่อเขาออกจากห้องไป  ผู้คนมองไปรอบๆ ยักไหล่และพูดว่า “มันเอาอีกแล้ว” เพราะเราคุ้นเคยกับพฤติกรรมปกติของเขา

            เรารู้ว่าไม่ควรเอาระเบิดอารมณ์ของเขามาใส่ใจให้มากนัก

            คุณคงไม่สามารถทำตัวให้คุ้นกับสไตล์เสียงของคนคนหนึ่งจากการพบกันเพียงครั้งเดียว แต่ระหว่างการพบกันเป็นครั้งแรก  จงพยายามสังเกตเสียงปกติ ท่วงทำนองและลักษณะเสียงพื้นฐานของเขา  หลังจากคุณระบุแพทเทอร์นของเสียงได้แล้ว จงตื่นตัวต่อการเบี่ยงเบนไปจากปกติ

            คนบางคนซึ่งโดยธรรมชาติรักษาระดับอารมณ์ได้ดี  มักจะแสดงความโกรธโดยการเงียบผิดปกติหรือหายใจแรงๆ โดยไม่ใช้วิธีขึ้นเสียงหรือพูดเร็วๆ ซึ่งหลายคนจะทำอย่างนั้น

ทุกสิ่งล้วนเชื่อมโยงกับพฤติกรรมปกติของคนผู้นั้น

          สิ่งสำคัญที่ควรจดจำไว้ก็คือคนบางคนที่มีอารมณ์ไม่ปกติในครั้งแรกที่เจอนั้นจะแตกต่างออกไปในสัปดาห์ถัดๆไป อย่าด่วนตัดสินใจถ้าไม่จำเป็นจริงๆ  ให้แพทเทอร์นพัฒนาไปในการพบปะกันอย่างน้อยสามสี่ครั้ง ให้ยาวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

วิธีแบบนั้นแหละที่คุณจะสามารถประเมินว่าปมเสียงที่คุณสังเกตเห็นจะสะท้อนสภาพจิตใจหรือลักษณะถาวรของคนผู้นั้นได้

            ในการประเมินลักษณะของคนผู้หนึ่ง  ตัดสินใจว่าคุณเห็นส่วนเบี่ยงเบนหรือส่วนที่เป็นพฤติกรรมปกติของคนๆนั้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าฉันถูกถามเพื่อเลือกลูกขุนในกรณีที่ต้องการลูกขุนที่มีความเอื้ออาทรและให้อภัย  ฉันจะไม่ให้น้ำหนักในการให้ความเห็นครั้งเดียวโดยดูจากน้ำเสียงโหดๆซึ่งโดยปกติเป็นคนเอื้ออาทร 

อย่างไรก็ตามหากลูกขุนผู้นั้นยังใช้น้ำเสียงเช่นนั้นต่อไป  แม้ว่าจะไม่ใช่น้ำเสียงสุดขั้วในสถานการณ์พิเศษ   ฉันจะทึกทักเอาว่าเขาเป็นพวกเจ้าปัญหาและช่างวิจารณ์ ไม่ใช่พวกเอื้ออาทร ฉันจะปฏิเสธเธอ

 

ลักษณะเสียงสุดขั้ว

           

            จงให้ความสนใจกับบุคลิกเกินจริง  เสียงสั่นเล็กน้อยไม่ได้ชี้ชัดว่าเกิดความกระวนกระวายเหมือนคนพูดติดอ่าง 

            มีความแตกต่างระหว่างคนที่พูดเสียงดังและคนพูดเสียงกระซิบ 

            ความสำคัญของลักษณะเสียงขึ้นอยู่กับระดับเสียงนั่นเอง

            ก็อย่างที่ฉันบอกไปแล้วนั่นแหละ ฉันไม่ค่อยให้น้ำหนักกับคอมเมนท์ที่มาจากน้ำเสียงที่แสดงออกมา ถ้าน้ำเสียงและเนื้อหาคำพูดไม่สุดขั้วจริงๆ

ลักษณะเสียงที่สุดขั้วเช่นนี้สามารถสังเกตได้ง่ายแต่ตีความยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้พูดไม่ใช่คนที่คุณรู้จักดีพอ   อาการเวอร์ๆของเขาอาจบ่งชี้ถึงความรุนแรงของอารมณ์

เขามีความสุขหรือดีใจเป็นล้นพ้น ?

เขาเสียใจหรือหดหู่ ?

ถ้าคุณสังเกตลักษณะสุดขั้วในการพบปะกันหลายครั้งหลัง จะปรากฏแพทเทอร์นที่จะนำไปสู่เงื่อนไขถาวร  คุณจะต้องประเมินให้ดี

          บุคลิกของเสียงจะมีความหมายมากถ้า “เจ้าของเสียง” ตระหนัก  เงื่อนปมทางเสียงผลุบเข้าผลุบออกจากบทสนทนาโดยที่เจ้าตัวไม่ได้สังเกต 

แต่ทว่าเมื่อน้ำเสียงของคนผู้หนึ่งระเบิดเปรี้ยงด้วยความตื่นเต้นหรือสะอื้นไห้ด้วยความหดหู่  เธอจะรู้   แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าน้ำเสียงดังกล่าวจะเกิดขึ้นจากความจงใจของเจ้าตัว

            การแสดงออกถึงความสุข  ความเศร้า กลัว หรือโกรธอย่างสุดยอดจะไม่สามารถสะกดกลั้นเอาไว้ได้  อันที่จริงแล้วหากคนผู้หนึ่งเลือกที่จะไม่แสดงอารมณ์  เธอจะรู้สึกเสียใจหากเธอแสดงอารมณ์ออกมาทางน้ำเสียง

            การตระหนักดีว่าเมื่ออารมณ์ถูกแสดงออกจะเปิดโอกาสให้ผู้อ่านคน(People-reader)สามารถสนองตอบได้ทันควัน  ยกตัวอย่างเช่น หากผู้หญิงคนหนึ่งพยายามทำท่ามั่นอกมั่นใจเพื่อให้เจ้านายประทับใจ แต่เสียงยังสั่น เธออาจจะกระอักกระอ่วนใจ  เธอตระหนักดีว่าเจ้านายต้องใช้ความพยายามมากเพื่อทำให้เธอรู้สึกสบายใจ หรือโดยปกติเสียงของเธอร่าเริง แต่ทว่าในเวลานี้เสียงเธอไร้อารมณ์ ขาดชีวิตชีวา แสดงว่าเธอเศร้าหรือหดหู่

            หากเจ้านายของเธอเห็นอาการดังกล่าว ก็จะไม่ให้งานเพิ่มขึ้นซึ่งอาจจะเป็นภาระต่อเธอ

            ลักษณะเสียงใดๆที่สุดขั้วเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ปกติโดยไม่สนใจเนื้อหาคำพูดจะทำให้คุณหยุดใคร่ครวญได้  ตามปกติผู้คนจะเลือกส่งความรู้สึกผ่านน้ำเสียง และบ่อยครั้งที่คนที่ร้องขอความช่วยไม่ได้ผ่านคำพูดแต่ผ่านน้ำเสียง

            สิ่งนี้จะถูกต้องอย่างยิ่งเมื่อคนผู้นั้นหดหู่  โกรธและถูกทำร้ายจิตใจ

            เธออาจจะตอบว่า “สบายดี” แต่ทว่าน้ำเสียงจะบ่งบอกว่ากำลังแย่

            ด้วยความไวต่อการเงื่อนปมทางเสียง  คุณไม่เพียงสามารถทำความเข้าใจผู้คนในวิถีทางที่สามารถช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้ แต่คุณยังอยู่ในตำแหน่งที่สามารถให้ความช่วยเหลือผู้คนได้อีกต่างหาก

 

เปรียบเทียบเสียงกับภาษากายและคำพูด

            ความรู้สึกไม่ได้เปิดเผยผ่านน้ำเสียงโดดๆ  อย่างไรก็ตามด้วยการเปรียบเทียบน้ำเสียงกับภาษากายและคำพูด  คุณสามารถบ่งชี้ได้ว่าคนผู้นั้นอยู่ในอารมณ์ใดได้อย่างถูกต้อง

            เมื่อน้ำเสียง ภาษากายตลอดจนคำพูดสอดคล้องต้องกัน  มันเป็นเรื่องง่ายต่อการตีความว่าเขารู้สึกอย่างไรและสามารถพยากรณ์ได้ว่าเขาจะปฏิกิริยาต่อสถานการณ์ต่างๆอย่างไร  แต่ทว่าหากทั้งสามสิ่งไม่ไปด้วยกัน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้ว  จากนั้นคุณต้องพิจารณาเององค์ประกอบใดที่จะก่อแพทเทอร์นที่ต่อเนื่อง คุณจะหาข้อสรุปได้อย่างถูกต้อง

          กระบวนการดังกล่าวนี้สามารถถูกนำไปใช้ได้โดยเจ้านายที่ลูกน้องลูกน้องบ่นว่าหวัดทำให้เสียงเปลี่ยนแต่เวลาเดินเหินดูเป็นปกติ

          หรือสามารถนำไปใช้ได้กับลูกค้าซึ่งพูดกับพนักงานขายซึ่งพูดด้วยความมั่นใจ เสียงดังและมีความรู้เรื่องสินค้าดีมากแต่ไม่กล้าสบตาเมื่อพูดถึงประวัติการประกัน

            และใช้ได้กับหญิงสาวซึ่งแฟนของเธอสารภาพว่าจะรักเธอตราบชั่วฟ้าดินสลายด้วยน้ำเสียงที่ดูจริงใจเอามากๆขณะที่เหลือบไปมองสาวสวยที่เดินเฉียดไปมาแว่บนึง

            ถ้าน้ำเสียง ภาษากายและคำพูดไม่สอดคล้องต้องกัน  ต้องมีบางสิ่งบางอย่างผิดพลาดแล้วล่ะ  พิจารณาดูดีๆเพื่อค้นหามัน

 

พิจารณาสภาพแวดล้อม

 

            ถ้าฉันสังเกตเห็นว่าบางคนกำลังกระวนกระวายใจระหว่างยืนอยู่ในคอกพยาน ฉันรู้สึกได้ทันทีว่าสภาพแวดล้อมในห้องพิจารณาคดีเครียด  แน่นอน สภาพแวดล้อมใดๆก็ตามจะมีผลกระทบต่อสภาพเสียง  ยกตัวอย่างเช่น เสียงดัง จะมีเงื่อนปมที่มีความหมายต่อบุคลิกของและสภาพจิตใจของคน แต่ต้องเป็นสภาพเสียงดังที่เป็นตามธรรมชาติและต่อเนื่องด้วย อันที่จริงความสำคัญของลักษณะเสียงจะลดลงหรือถูกขจัดไปอย่างสิ้นเชิงภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอน

            คนผู้หนึ่งจะพูดเร็วเพราะเขามีความสุข,กระวนกระวาย,ตื่นเต้นหรือกลัว

            การรู้ว่าคนผู้นั้นอยู่ในห้วงจังหวะใดจำต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

            สิ่งนี้ถูกต้องถ้าคุณพบคนผู้นั้นเป็นครั้งแรก 

            การที่ใครสักคนรู้สึกสบายใจ  น้ำเสียงของเขาจะเป็นดัชนีชี้ว่าอารมณ์และบุคลิกภาพของเขาได้เป็นอย่างดี       

ถ้าเขารู้สึกไม่สบายใจ  น้ำเสียงของเขาจะสะท้อนอารมณ์ในห้วงนั้นออกมา

 

ถอดรหัสปมเสียง

            การทำความเข้าใจสารที่เข้ารหัสในลักษณะเสียงนั้นจำเป็นต้องฝึกฝนและเรียกร้องความใส่ใจ  สิ่งที่ยิ่งไปกว่าลักษณะอื่นๆก็คือ  น้ำเสียงเปลี่ยนไปทุกวินาทีขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์  ถ้าคุณไม่ตื่นตัว คุณจะขาดบางสิ่งที่สำคัญ 

            ขณะที่ลักษณะเสียงบางอย่าง เช่น เสียงดัง จะมีลักษณะตรงไปตรงมาและตีความได้ง่าย ลักษณะบางอย่างเช่น  ท่วงทำนองและการพูดตะกุกตะกัก  ตีความยาก  น้ำเสียงบางอย่างจะมีความหมายตรงกันข้าม เช่นเดียวกับบุคลิกอื่นๆ

            จงมองหาแพทเทอร์นและใส่ใจดูว่าน้ำเสียงนั้นสอดคล้องหรือขัดแย้งกับภาษากายและคำพูดหรือไม่

            มีลักษณะเสียงที่แตกต่างมากมายที่จะถกกันต่อไป

            ข้างล่างจากนี้ไปคือสิ่งที่ธรรมดามากที่สุดและได้รับการพูดถึงมากที่สุด :

 

          เสียงดัง

          เสียงเบา

          พูดเร็ว

          พูดช้า

          พูดติดอ่าง

          Pitch

          Intonation และเน้นย้ำ

          พูดเรียบๆ เสียงไร้อารมณ์

          เสแสร้ง

          วีน

เสียงแหบ

          พูดพึมพัม

          ท่วงทำนองเสียง

 

          เสียงดัง

            บ่อยครั้งที่เราได้เจอะเจอคนที่มีเสียงดังผิดปกติที่คุณไม่มีวันลืม

            กุญแจสำคัญในการประเมินวิเคราะห์ก็คือคนผู้นั้นใช้เสียงของเขาเมื่อไหร่และอย่างไรด้วยจุดประสงค์อะไร

           

            การควบคุม

            เสียงที่ดังมักถูกใช้เพื่อควบคุมสภาพแวดล้อม

            ความดังเป็นลักษณะที่ทรงอำนาจและเป็นที่น่าเกรงขาม  ดังนั้นคนที่แสวงหาการครอบงำหรือควบคุมผู้อื่นมักจะใช้เสียงดัง

การครอบงำที่มากจนเกินไปนั้นมักจะสะท้อนอีโก้และความไม่อดทน  คนส่วนใหญ่ทึกทักว่าคนที่เสียงดังแสดงถึงความมั่นใจ แต่ทว่าบางคนตะโกนเพราะกลัวคนอื่นไม่ยินถ้าเขากระซิบ

 

            การจูงใจ

            คนบางคนค้นพบว่าเสียงดังเป็นเครื่องมือในการจูงใจผู้อื่น หรืออย่างน้อยที่สุดก็กดดันให้คนอื่นยอม  พวกเขาเรียนรู้ว่าหากพูดเสียงดังเพียงพอ คนจำนวนมากจะตีความได้ว่าน้ำเสียงเช่นนั้นแสดงออกถึงความมั่นใจ  ถึงแม้ว่าจะเป็นการคิดผิด แต่ก็ไม่มีใครอยากไปโต้เถียงด้วย

           

            ทดแทนข้อบกพร่อง

            ฉันเห็นหลายกรณีแล้วว่าระดับเสียงจะทดแทนข้อพกพร่องที่สัมผัสได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างเล็กหรือความพิการทางกาย

 

            ปฏิกิริยาต่อหูตึง

            ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นกับคนชรา แต่ระวังไว้คนหนุ่มคนสาวก็หูตึงได้นำ

 

            เมาเหล้า

            คนเมาชอบพูดเสียงดัง แต่ระดับเสียงอย่างเดียวไม่ได้เป็นสัญญาณประการเดียวของอาการเมา  ถ้าคุณพบใครสักคนเป็นครั้งแรกในงานคริสต์มาส  อย่าด่วนตัดสินเกี่ยวกับเสียงดังของเขาจนกระทั่งคุณพบเขาอีกครั้งภายใต้สถานการณ์ปกติ

            เมื่อคุณจะประเมินว่าคนผู้หนึ่งเป็นคนเสียงดังประเภทใด   เก็บคำถามเหล่านี้ไว้ในใจ

 

            -เสียงนั้นสอดคล้องกับโอกาสหรือไม่

    -ความดังนั้นต่อเนื่องหรือเปล่า หรือมันเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนคนในกลุ่ม

     -เสียงที่ใช้นั้นบ่งถึงความก้าวร้าว,เพื่อควบคุม,ทำให้หวาดกลัว หรือพูดข้ามหัวคนอื่น     หรือเปล่า

 

พูดตามตรง ฉันพบว่าคนที่มีเสียงและมีลักษณะครอบงำ แต่ใช้มันอย่างเหมาะสมจะแสดงถึงความมั่นใจ  แต่คนที่ใช้เสียงดังอย่างไม่เหมาะสม จะแสดงออกถึงความไม่มั่นใจ

           

            เสียงเบา

            เสียงเบาสามารถใช้เพื่อชักใยผู้อื่นได้ หรือมันบ่งชี้ว่าคนผู้นั้นหวั่นไหวได้ง่าย 

            ขณะที่เสียงต่ำแสดงว่าผู้พูดขาดความมั่นใจและแน่นอน อย่าเข้าใจผิด

            เสียงเบาจะสะท้อนถึงความมั่นใจในตัวเอง  ผู้พูดรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องครอบงำการสนทนา  อย่างไรก็ตามอาจจะมีองค์ประกอบแห่งความยโส  “ถ้าคุณต้องฟังในสิ่งที่ฉันพูด  คุณต้องตั้งใจฟัง”

          เมื่อคุณประเมินน้ำเสียงของใครสักคน สิ่งที่คุณต้องระบุคนๆนั้นมีเสียงเบาเป็นปกติหรือเบาเพราะในโอกาสพิเศษ  ถ้าเป็นอย่างหลัง ถามดังต่อไปนี้ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียงต่ำลง

 

-      เกิดการเผชิญหน้ากันโดยคนผู้นี้เป็นฝ่ายล่าถอย

-      คนผู้นี้อยู่ในสถานการณ์ไม่สะดวกซึ่งทำให้เขากระวนกระวายหรือถูกคุกคาม

-      คุณเห็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสลดหรือไม่

-      มีสัญญาณบางอย่างที่แสดงว่าผู้พูดกำลังโกหกหรือเปล่า และพยายามโกหกให้เป็นธรรมชาติ

-      ผู้พูดพยายามกดดันใครบางคนให้เขามาอยู่ในรัศมีที่หูได้ยิน  นี่เป็นการเล่นเกมอย่างหนึ่ง

-      ผู้พูดกำลังลดเสียงเพื่อให้ใครบางคนได้ยินเท่านั้นหรือเปล่า

-      ผู้พูดเหนื่อยอยู่หรือเปล่า

-      เสียงเบาเป็นผลมาจาการอาการป่วยไข้หรือเปล่า

 

คุณมักจะพบการอธิบายถ้าคุณสาเหตุว่าใครสักคนทำไมใช้เสียงต่ำซึ่งไม่ใช่บุคลิกปกติของคนผู้นั้น

พฤติกรรมของผู้พูดจะยืนยันถ้าคุณพิจารณาสัญญาณของความเศร้า, ความกระวนกระวาย,กระอักกระอ่วน และอารมณ์อื่นๆที่กล่าวถึงในบทที่ 3 และภาคผนวก

เมื่อคุณประเมินใครสักคนเกี่ยวกับการใช้เสียงเบาอย่างต่อเนื่อง  จงโฟกัสไปที่ความเหมาะสมว่าเขาอยู่ในสถานการณ์ใด

คนผู้นั้นพยายามพูดให้ดังขึ้นทั้งๆที่รู้ว่าคนไม่ได้ยินหรือเปล่า  ถ้าไม่ใช่ เจ้าคนนี้ก็เป็นคนไม่สังเกต,ไม่รู้จักพินิจและยโส

ถ้าเขาพูดเสียงเบา  แต่ใช้สัมผัสทางตา(eye contact)และภาษากายผ่อนคลาย  เสียงเบาก็ไม่ใช่ประเด็น  ในทางตรงกันข้ามถ้าเสียงเบามาพร้อมกับภาษากายที่สะท้อนถึงความไม่สบาย เช่น ขาดสัมผัสทางตา  เอี้ยวตัวหรือเมินหน้า ฉันจะ “อ่าน” เสียงเบานี้ว่าเป็นอาการของความไม่สะดวกสบายและขาดความมั่นใจ

                       

            พูดเร็ว

         

                   เรามักจะได้ยินวลีว่า “เซลล์แมนที่พูดเร็ว”  มันมักจะอ้างถึงใครสักคนที่ไม่เพียงแต่พูดเร็วเท่านั้น แต่ยังโกหกไวอีกด้วย  การพูดเร็วบางครั้งบ่งชี้ถึงความไม่จริง แต่ก็เป็นหนึ่งในความเป็นไปได้เท่านั้น

                        มีความแตกต่างระหว่างการพูดเร็วตลอด กับการพูดเร็วเพื่อตอบโต้ต่อสถานการณ์พิเศษ

                        คนที่พูดเร็วมักจะเติบโตในครอบครัวที่จำเป็นต้องพูดเร็วเพื่อจะได้คุยกันรู้เรื่อง  ฉันพบว่าคนที่พูดเร็วอย่างต่อเนื่องนั้นมักจะประเมินสถานการณ์ได้เร็วเฉกเช่นที่เขาแสดงออกตัวเอง  ผลที่ตามมาก็คือเขามักจะไม่ระมัดระวัง  ทำให้กลายเป็นพวกหุนหันพลันแล่นและตัดสินคนง่าย

                        ฉันยังพบว่าการพูดเร็วจะทดแทนความไม่มั่นคงปลอดภัย  ผู้พูดเร็วเหล่านี้จะแสดงสัญญาณของการมีความเคารพตัวเองต่ำ  ยกตัวอย่างเช่น บุคลิกที่กระวนกระวายและความพยายามทำให้คนสนใจอย่างไม่เหมาะสม

                        สาเหตุที่ทำให้คนพูดเร็วอาจมาจากอาการดังต่อไปนี้

                       

-      ความกระวนกระวาย

-      ความไม่อดทน

-      ความวิตกกังวล

-      ความไม่มั่นคงปลอดภัย

-      ความตื่นเต้น

-      ความกลัว

-      ยาเสพติดหรือเหล้า

-      ความโกรธ

-      ความต้องการจูงใจ

-      ถูกจับโกหก

 

คนส่วนใหญ่สังเกตว่าบางคนจะรวดร้าวจากการถูกจับโกหกได้ 

บางคนพูดคุยด้วยความเร็วปกติ จากนั้นตระหนักดีว่าตัวเองเกิดความไม่ต่อเนื่องในการเล่าเรื่อง จากนั้นเขาจะเปลี่ยนไปพูดเร็วขณะที่เธอต้องอธิบายตัวเอง  ยิ่งพูดโกหกมากเท่าไหร่  ก็จะพูดเร็วมากเท่านั้น

ฉันมักตื่นตัวถึงความเป็นไปได้ของคนพูดเร็วว่าอาจจะเป็นเพราะต้องการซ่อนความจริงระหว่างการพูด  แต่มีความเป็นได้ว่าเขาอาจจะกระวนกระวายและรู้สึกไม่ปลอดภัยและพูดเร็วๆเพื่อจะได้พ้นจากความวิตกนั้นหรือพยายามซ่อนความวิตกกังวลไว้  เรามักจะตระหนักในเรื่องดังกล่าวโดยดูจากลูกของเรา

ความตื่นเต้นของเด็กมักจะนำไปสู่การพูดเร็ว  ซึ่งตามปกติก็ไม่ได้ต่างกับผู้ใหญ่สักเท่าไหร่

 

พูดช้า

คนที่พูดช้ามีสองแบบ หนึ่ง-คนที่มีเสียงและท่าทีสบายๆ กับอีกพวกหนึ่งที่พูดช้าพร้อมก้บมีอาการทางกายและทางเสียงอื่นๆที่แสดงให้เห็นว่าไม่สบาย  เช่น มีสัมผัสทางสายตาน้อยและเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ

วิธีดูว่าเป็นพวกไหน ฉันจะลองคาดเดาเกี่ยวกับสาเหตุของการพูดช้า

คนบางคนที่พูดช้าเพราะมีอาการป่วยไข้ทางการหรือทางจิต  หากเป็นอย่างหลังการพูดช้าจะมาพร้อมกับการที่คนผู้นั้นไม่สามารถแสดงออกทางความคิดได้

ความป่วยไข้ทางร่างกายจะแสดงออกมาอย่างเด่นชัดเมื่อคุณได้คุยกับคนๆนั้นไปสักครู่ 

ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศก็มักจะพูดช้า ไม่เหมือนกับผู้ที่มั่นใจในการศึกษาของตนเอง

ครู,เสมียนและอาชีพบางอย่างที่ต้องพูดคุยกับคนส่วนใหญ่มักจะพูดช้าเพื่อทำให้คนอื่นเข้าใจง่าย  เทคนิกดังกล่าวจะแสดงออกมาให้เห็นในทุกๆการสนทนา  บางครั้ง คนพูดช้ามักจะถูกมองว่าเป็นคนมีเมตตาโดยเฉพาะในกรณีไม่ได้ใช้เสียงเสียดสี

ถ้าใครสักคนพูดด้วยลีลาปกติ  การพูดช้าในบางกรณีอาจจะหมายความว่าคนผู้นั้น

-      พยายามสร้างประเด็นที่มีความสำคัญต่อตัวเขา

-      กระวนกระวาย

-      สับสน

-      โกหก

-      เศร้า

-      เหนื่อย

-      คิดลึก

-      ป่วย

-      ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของยาเสพติดหรือเหล้า

-      ไม่ฉลาด

 

เพื่อตัดสินใจว่ามาจากสาเหตุใด  ลองพิจารณาภาษากายและเนื้อหาคำพูด

 

พูดอ้ำอึ้ง

 

การพูดอ้ำอึ้ง,ลังเล หรือตะกุกตะกัก แตกต่างจากการพูดช้า

การหยุดหรือการเริ่มต้นจะมีสาเหตุมาจากความไม่ปลอดภัย กระวนกระวายหรือสับสน  ในบางกรณีมันจะสะท้อนถึงความไม่จริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคนผู้นั้นต้องขอโทษด้วยความยากลำบาก  แต่ทว่าประเด็นอาจจะเป็นไปในทางตรงกันข้าม นั่นคือผู้พูดต้องการพูดและเลือกใช้คำที่ถูกต้อง หรือเขาอาจจะหยุดเพื่อให้สอดแทรก

เพื่อตัดสินใจว่าการพูดตะกุกตะกักนั้นแสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นคง กระวนกระวาย สับสน ความไม่จริง หรือความพยายามที่จะทำให้ทุกอย่างถูกต้อง ให้พิจารณาแพทเทอร์นทั้งหมดของการพูด  คำพูดและภาษากาย 

คนที่พูดด้วยความตื่นเต้นมักจะพูดตะกุกตะกัก  สัญญาณบางอย่างจะปรากฏขึ้นด้วยเช่นกัน

คนที่โกหกจะไม่ยอมมองตาคนอื่นและจะมีภาษากายที่กล่าวถึงในบทที่สาม

คนที่กระวนกระวายจะไม่เพียงพูดตะกุกตะกักเท่านั้น เธอจะเปลี่ยนเก้าอี้อยู่เรื่อย หักนิ้วเล่น ฯลฯ

เมื่อการพูดตะกุกตะกักได้กลายเป็นการพูดติดอ่าง  โดยปกติไม่ใช่เป็นเพราะความกระวนกระวาย  แน่นอน บางคนพูดติดอ่างเพราะสภาพร่างกาย  จงสังเกตว่าการพูดติดอ่างนั้นต่อเนื่องตลอดการสนทนาหรือเปล่า หรือเฉพาะในช่วงตื่นเต้นหรือลิ้นพันกัน

การพูดติดอ่างเรื้อรังไม่ได้มาจากความตื่นเต้นเรื้อรัง

การพูดติดอ่างอย่างรุนแรงคือสภาพทางเสียงที่ยังไม่มีใครเข้าใจจริงๆจังสักที

 

เสียงสูง

เสียงคนเริ่มจากสงบ เย็น ไปกระทั่งเสียงแหลมสูงถึงยั่วโทสะ

ส่วนใหญ่เสียงสูงจะเกิดจากความไม่ตั้งใจ  เราจะทำเสียงสูงและลดเสียงลงสู่ระดับมาตรฐานด้วยเหตุผลบางประการ

เสียงคนส่วนใหญ่จะสูงปรี๊ดเมื่อตกใจ,กลัว,ดีใจ,ตื่นเต้น ฯลฯ  ถ้าระดับความรู้สึกต่างๆเหล่านั้นเข้มข้นมาก จะเกิดอาการเสียงแห้ง  ในกรณีดังกล่าวนี้ สาเหตุจะกระจ่างชัดหากเราดูภาษากาย  คำพูดและการกระทำประกอบ

คนบางคนลดเสียงลงจากระดับธรรมดาอย่างเห็นได้ชัดเมื่อต้องการจะลวงล่อใครสักคน

เสียงสูงจะลดลงกะทันหันเมื่อเกิดความเศร้า,หดหู่ หรือเหนื่อยล้า

 

ท่วงทำนองและการเน้น

ในหลายภาษา ความหมายของคำจะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงขึ้นอยู่กับพยางค์หรือคำไหนที่เราเน้น

ขณะที่ภาษาอังกฤษไม่ได้พึ่งพาท่วงทำนองเสียงและการเน้นมากเหมือนบางภาษา  เราจะสื่ออารมณ์และความหมายที่แตกต่างได้ด้วยการเปลี่ยนแพทเทอร์นการพูด  จงให้ความสนใจกับสิ่งเหล่านี้แล้วคุณจะได้เห็นเงื่อนปมที่สำคัญ

พวกเรามักชอบถามว่าเขาหรือเธอผู้นั้นอยากไปสถานที่บางแห่งกับเราไหม และมักจะได้รับคำตอบว่า “อยากไป”  บางครั้งเมื่อเราได้ยินคำตอบแบบนั้นเรารู้ได้ทันทีเลยว่าพวกเขาไป  ในบางโอกาส  เมื่อคนผู้นั้นจบประโยคที่ว่า “เราอยากไปนะ” และเรารู้ได้ทันทีเลยว่าคำต่อไปที่จะหลุดจากปากก็คือ “แต่”

ถ้าคุณฟังท่วงทำนอง จังหวะหยุดและเน้นอย่างตั้งใจแล้ว  คุณจะตระหนักในประโยคที่ “ไม่สมบูรณ์” ได้  แม้กระทั่งคุณไม่สามารถคาดเดาคำที่ไม่สมบูรณ์  อย่างน้อยที่สุดคุณก็สามารถสืบสิ่งที่กำกวมเพื่อตามด้วยคำถามที่เหมาะสม

ไม่น่าประหลาดใจเลยที่การเน้นคำมักจะตามมาด้วยการเน้นด้านสรีระ   ขณะที่กำลังเน้นคำ ผู้พูดอาจจะเอนกายไปข้างหน้าหรือปรับอิริยาบถอื่นๆ  ผลที่เกิดขึ้นก็คือกระทั่งการเปลี่ยนแปลงที่ซ่อนเร้นสามารถสังเกตได้ง่ายถ้าคุณฟังเขาคนนั้นมองการเปลี่ยนแปลงของภาษากายไปด้วย

 

เสียงแบนแบบไร้อารมณ์

ถ้าคุณบอกเพื่อนว่าคุณได้รับการเลื่อนตำแหน่ง  คุณคาดหวังว่าจะได้รับการตอบรับที่สะท้อนความตื่นเต้นและยินดีด้วยกับคุณซึ่งจะแสดงในน้ำเสียงของเขา  บางทีเธออาจจะใช้น้ำเสียงที่จริงใจและอบอุ่นพูดว่า “ยินดีด้วยนะเธอ”

คุณไม่ได้คาดหวังว่าเธอจะพูดด้วยน้ำเสียงแบนๆเร็วๆว่า “ก็ดีนี่”

เมื่อคุณได้รับการตอบรับอย่างที่ไม่เป็นไปตามคาดและไร้อารมณ์เยี่ยงนี้ คุณต้องตื่นตัวได้แล้วนะ  พิจารณาไปที่ภาษากายเพื่อดูว่ายายคนนี้กำลังอยู่ในอารมณ์เบื่อหรือหดหู่  หรือน้ำเสียงแบนเรียบเช่นนี้เป็นความพยายามที่จะซ่อนความรู้สึกตึงเครียด  เช่น ความอิจฉาหรือไม่พอใจบางอย่างเอาไว้

ความรู้สึกเช่นนี้จะเผยออกมาให้เห็นในภาษากาย  ขึ้นอยู่ว่าคุณได้เรียนรู้อะไรจากการสืบค้นการตอบรับเช่นนี้

 

เสแสร้ง/ทำเสียงผู้ดีจัด

คนจำนวนมากเลือกใช้เสียงผู้ดีจัดหรือการเสแสร้งบางประการเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์แห่งความสำเร็จ, ความซับซ้อน,ความชาญฉลาด,ความมั่งคั่ง หรือคุณค่าของชนชั้นสูง

แคแรกเตอร์ดังกล่าวอาจไม่ใช่แก่นแท้ของบุคลิก  ในทางตรงกันข้ามลักษณะคนหัวสูงที่ปรากฏออกมานั้นก็คือการสะท้อนความไม่มั่นคงและเป็นการแสวงหาการยอมรับมากกว่า

กระนั้นก็ตามพวกที่ใช้ทำเป็นหัวสูงและใช้เสียงผู้ดีจัดบางส่วนจะเชื่อจริงๆว่าตนเองดีกว่า ฉลาดกว่าและมีคุณค่ามากกว่าพวกเราที่เหลือ  ไม่ใช่ทั้งหมดหรอกที่คิดว่าตนเองไม่ปลอดภัยน่ะ  พวกนี้มั่นใจในตัวเองจะตายไปและอย่าเสียเวลาในการจูงใจให้พวกหัวสูงเหล่านี้ยอมรับนับถือความคิดหรือไลฟ์สไตล์ที่ด้อยกว่า

พวกหัวสูงพันธุ์แท้นั้นมักจะมาจากพวกชนชั้นสูงหรือคิดว่าเป็นชนชั้นสูง  เนื่องเพราะภูมิหลังด้านเศรษฐกิจและสังคมคือตัวพยากรณ์ว่าคนคิดและมีความประพฤติอย่างไร  อย่าได้ทึกทักเอาว่าคุณจะสามารถเปลี่ยนวิถีที่พวกหัวสูงเหล่านี้มองโลก

 

 

 

 

วีนแตก(Whining)

พวกวีนแตกมักจะเป็นผู้ตาม   พวกนี้มักไม่มีความกล้าหาญและความมั่นใจในการนำ  พวกเขาต้องการให้คนอื่นดูแลตัวเอง  พวกนี้รู้สึกช่วยตัวเองไม่ได้และควบคุมไม่ได้

ถ้าคุณต้องการรู้ว่าคนผู้นั้นเป็นจอมวีนพันธุ์แท้หรือไม่นั้น  ลองดูสังคมเพื่อนมนุษย์ของเขาดูสิ  พูดให้ง่ายอีกหน่อยก็คือลองดูเพื่อนของเขาดูสักสองคนดูเถอะ  เธอคนนั้นจะมีพฤติกรรมอย่างไร?

เธอชอบชักใยหรือเปล่า?

ถ้าเธอแต่งงานแล้ว  ลองดูสิว่าเธอมีปฏิสัมพันธ์กับสามีอย่างไร

จอมวีนก็เพราะการวีนได้ผลสำหรับเธอและการวีนเป็นลักษณะที่เอาชนะได้ยาก แม้ว่าจอมวีนอยากจะเปลี่ยนแปลงก็ตาม  พฤติกรรมของจอมวีนต่อผู้อื่นจะให้คุณเห็นพรีวิว(preview) ว่าความสัมพันธ์ของคุณจะออกมาในลักษณะใด  มันก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะตัดสินใจว่าคุณจะเผชิญการท้าทายอย่างไร

 

เสียงแหบ

 

เสียงแหบมักจะเป็นสัญญาณว่าผู้พูดสูบ  แต่มันอาจจะมีสาเหตุจากการเป็นหวัดก็ได้ หรืออาจจะเงื่อนไขทางสภาพร่างกาย 

อาจจะเป็นไปได้ว่าผู้พูดเน้นเสียงในบางครั้ง  ถามดูก็แล้วกัน

ปกติแล้วถ้าเขาชอบร้องเพลง  ปาฐกถาบ่อยๆซึ่งทำให้เสียงของเขาเหนื่อยหอบ  คุณจะมีจุดเริ่มต้นในการสนทนาที่อาจเปิดเผยตัวตนของเขา   โดยปกติเสียงคนจะแหบจากการตะโกนตอนดูกีฬา   ถามเขาอีกครั้งว่าเสียงเขาแหบเพราะตะโกนเชียร์ทีมฟุตบอลทีมโปรดเปล่า  ถ้าเขาตะโกนมากจนเสียงแหบก็แสดงว่าเขาเป็นแฟนตัวยง  และฉันสงสัยว่าเขาอาจจะเป็นพวกก้าวร้าวหรือชอบการควบคุม  ถ้าไม่ใช่เรื่องที่บอกมาสักอย่าง  เขาอาจจะเป็นคนตรงไปตรงมาและชอบตื่นเต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พูดอู้อี้

 

พวกพูดอู้อี้มักจะพูดเบาเสียจนกระทั่งแทบไม่ได้ยิน  บ้างก็ปกปิดปากตัวเองด้วยการใช้มือระหว่างพูด  บางคนก็บิดหัวหรือมองพื้น

พวกพูดอู้อี้พูดรู้เรื่องเมื่อถูกถาม  แต่บางพวกจะพูดชัดไม่ได้เลย แม้ว่าไม่มีการอธิบายทางสรีระที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าว

คนที่พูดอู้อี้แบบเรื้อรังมักจะบอกว่าพวกเขา….

ขาดความมั่นใจ

ขาดความปลอดภัย

วิตกกังวล

ไม่สามารถแสดงความคิดออกมาอย่างแจ่มแจ้งได้

หมกมุ่น

หมดแรง

ป่วย

 

พวกอู้อี้ไม่สามารถแสดงความสามารถในการเป็นผู้นำหรือปรารถนาที่จะควบคุม  อีกพวกอาจจะจิตตกหรือไม่ก็เศร้าโศก

 

สำเนียง

 

เราอยู่ในโลกที่หลากหลาย  ฉันได้ยินคนพูดถึงหกสำเนียงในแต่ละวันในสหรัฐอเมริกา 

สำเนียงของแต่ละคนคือเงื่อมปมที่บอกให้คุณรู้ว่าเขาคิดหรือกระทำอย่างไร

ถ้าฉันพบคนที่พูดสำเนียงต่างประเทศจ๋า  ฉันจะมองดูว่าเขามีข้อจำกัดทางด้านภาษาซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพูดหรือพฤติกรรมของเขาอย่างไรบ้าง  ฉันอาจจะนึกไปถึงความเป็นไปได้ที่ว่าเขาอาจจะมีภูมิหลังด้านวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งส่งผลต่อสำเนียงการพูดของเขา

บางคนมีรู้สึกไม่สบายต่อภาษาที่เขาพูดอาจจะตระหนักในตัวเองเกี่ยวกับการขาดความคล่องแคล่วหรือหมกมุ่นอยู่กับการค้นหาคำที่ถูกต้อง  เขาอาจจะหงุดหงิดหรือกระวนกระวายเพราะความยากลำบากดังกล่าว  ถ้าฉันไม่พิจารณาสำเนียงและความเป็นไปได้ที่เขาจะสื่อสารอย่างแตกต่างไปจากภาษาแม่ของเขา  ฉันอาจจะอ่านบุคลิกภาพของเขาผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง

ฉันอาจจะทึกทักผิดพลาดว่าเขาเป็นคนเชิงรับ,ขี้อาย หรือกระวนกระวาย ซึ่งจริงๆแล้วเขาอาจจะ

 

 

 

 

                                                ประเด็นสำคัญ

 

เรียนรู้การฟังความระหว่างบรรทัด : บทสนทนาสองชิ้นเกิดขึ้นในทุกๆการสนทนา  อย่างแรกเป็นการใช้คำพูด  อย่างหลังขึ้นอยู่กับเทคนิคการใช้เสียงระดับจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก  บางครั้งทั้งสองอย่างสอดคล้องต้องกัน  แต่โดยมากมักจะไม่นะ  เมื่อทั้งสองแบบขัดแย้งกัน  ความแตกต่างของเสียงจะเป็นตัวชี้วัดที่เชื่อถือได้มากกว่าคำพูด

ฟังซ่อนหาทางอารมณ์ : เมื่อเรามีอารมณ์หรือคิดว่าไม่อยากพูดกับใครด้วยเหตุผลบางประการ เช่นกระอักกระอ่วน.ไม่ปลอดภัยหรือกลัว  เรามักจะขออนุญาตผู้อื่นด้วยสัญญะทางเสียง

 

เพื่อฟังข้อความที่ไม่ได้พูด :

-      โฟกัสที่เสียง ไม่ใช่คำพูด ระหว่างที่สนทนา

-      พิจารณาดูสิว่าลักษณะเสียงนั้นเกิดจากความตั้งใจ(เสแสร้ง)หรือว่าไม่ตั้งใจ(คือเป็นธรรมชาติ)

-      ดูแพทเทอร์นเสียง ว่าสุดขั้วหรือเบี่ยงเบนจากเสียงปกติมากหรือไม่

-      เปรียบเทียบเสียงกับภาษกายและคำพูด

พิจารณาบริบทและสภาพแวดล้อมของคำพูด

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที