ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต

ผู้เขียน : ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต

อัพเดท: 09 ก.พ. 2009 10.27 น. บทความนี้มีผู้ชม: 19193 ครั้ง

เกร็ดความรู้...เพื่อเป็นมนุษย์งานมือโปร
HR Contribution
<BR><BR>
ในปัจจุบันและหลายทศวรรษที่ผ่านมา องค์กรทั้งหลายต่างพยายามพัฒนาและสร้างสรรค์ระบบการบริหารงานและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร โดยม่งหมายให้องค์การกลายเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เพื่อจรรโลงความเติบโตและความมั่นคงขององค์การทั้งในระยะสั้นและระยะยาว....
<BR><BR>


หลัก 7 ประการในการบริหารแรงงานในยุคนี้...

ในผลงานเขียนทางการจัดการเรื่อง "Touch Management" โดยมาร์ตี้ (Chuck Marti) มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับหลัก 7 ประการ ในการบริหารแรงงาน ที่ผู้เขียนขอหยิบมานำเสนอ สรุปได้คือ

1. การสื่อสารที่ชัดเจน

การบริหารงานที่ดีจำเป็นต้องให้ความสำคัญอย่างมากกับเรื่องการสื่อสาร ซึ่งหมายรวมถึงการสื่อสารเรื่องอะไร เมื่อไหร่และอย่างไร (What,When,and How) และทำไม (Why) คุณถึงต้องการสื่อสารสิ่งนั้น ๆ นอกจากนั้นความถี่และน้ำเสียงที่ใช้ในการสื่อสารที่สำคัญเช่นกัน
1.1 ความชัดเจนในการสื่อสาร
นับว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการสื่อสารที่ดี และเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในระดับใด เนื่องจากคนส่วนมากมักจะรู้สึกว่าตนเองสื่อสารได้ดีกว่าฟัง (ได้ยิน) การบริหารที่ดีมีการฟังเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสื่อสารทั้งหมด และการสื่อสารควรจะกระทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
1.2 น้ำเสียงที่ใช้ในการสื่อสาร น้ำเสียงที่ใช้ในการสื่อสารก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันกับข้อความที่ต้องการจะสื่อสารออกไปเนื่องจากใช้น้ำเสียงไม่เหมาะสมกับสิ่งที่ที่ต้องการจะสื่อนั้นอาจทำให้การสื่อสารมีความคลาดเคลื่อนได้ การสื่อสารที่ไม่ดีทำให้เกิดการขาดการเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ (Strategy) และการบริหาร (Execution) ความท้าทายอย่างหนึ่งในปัจจุบันคือการที่จะลดช่องว่างระหว่างวิสัยทัศน์ของผู้บริหารและความเป็นจริงที่ผู้จัดการและพนักงานจะต้องทำให้วิสัยทัศน์นั้น ๆ เป็นความจริงได้ ดังนั้นการสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารที่ดี เนื่องจากถ้าการสื่อสารมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ทุกฝ่ายมีความเข้าใจชัดเจนและตรงกันทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. การตัดสินใจ

ผู้บริหารจำเป็นต้องทำการตัดสินใจที่ยากลำบากหลายครั้งในการทำงาน เมื่อมีการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ผู้บริหารบางท่าน อาจตัดสินใจแบบฉับพลัน ในขณะที่ผู้บริหารบางส่วนก็รับฟังความเห็นจากผู้อื่นก่อนจึงจะทำการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ยากลำบากอาจมีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น
2.1 ระยะเวลาในการตัดสินใจ เวลาและข้อมูลนับเป็นสิ่งที่สำคัญในการตัดสินใจ หลายครั้งที่ตัดสินใจกลายเป็นเรื่องยาก เนื่องจากผู้ที่ต้องตัดสินใจมีเวลาและข้อมูลในเรื่องนั้น ๆ ไม่เพียงพอ เมื่อต้องตัดสินใจหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน ผู้ตัดสินใจควรจัดลำดับความสำคัญในเรื่องของเวลา ว่าเรื่องใดเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่สมควรจะได้รับการพิจารณาก่อน
2.2 ลำดับความยากของการตัดสินใจ บางครั้งผู้บริหารอาจต้องตัดสินใจเรื่องยากหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องพิจารณาว่าเรื่องที่ต้องตัดสินใจนั้นอาจส่งผลกระทบอย่างไรกับใครบ้าง รวมถึงพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้

3. มุ่งผลลัพธ์

ผู้บริหารที่ดีจำเป็นต้องพิจารณาว่าผลลัพธ์ประการไหนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดและพยายามตั้งเป้าหมายเพื่อที่จะบรรลุผลลัพธ์นั้นโดย
3.1 ตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำงาน โดยตั้งใจทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง และทำงานอย่างมีเป้าหมาย และกำหนดเวลา
3.2 ทำงานอย่างฉลาด โดยใช้เวลาในการทำงานแต่ละชิ้นอย่างคุ้มค่า
3.3 ทำงานหนัก เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
3.4 ลดการประชุม เนื่องจากการบริหารที่ดีไม่จำเป็นต้องอาศัยการประชุมบ่อยครั้ง แต่พยายามทำให้การประชุมแต่ละครั้งมีเป้าหมายที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ
3.5 มองถึงผลลัพธ์อย่างเป็นจริง เพื่อให้สามารถตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกัน
3.6 พยายามกระตุ้นให้องค์กรมีความตื่นตัวอยู่เสมอ

4. สร้างความยืดหยุ่น

ความยืดหยุ่นมีความสำคัญเนื่องจากเป็นสิ่งที่ทำให้ความตึงเครียดในการทำงานลดลงได้ในปัจจุบันผู้บริหารต้องเผชิญกับสภาวะการทำงานที่ตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา การสร้างความยืดหยุ่นในการทำงานสามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการทำงาน ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้บริหารสามารถจัดระเบียบการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังสามารถติดตามผลงานได้อย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นในการบริหารงานที่ดีควรจะมีการตรวจสอบงานแต่ละอย่างว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่เพื่อพิจารณาถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้บริหารที่ดียังควรที่จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ เพื่อทำการปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานและบริหารให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

5. ส่งเสริมคนที่มีความรู้ความสามารถ

การที่จะทำให้องค์กรเห็นคุณค่าของคุณนั้นอาศัยปัจจัยหลายประการที่มีความเกี่ยวข้องกับการบริหารที่ดี สิ่งที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งคือการทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน และยังต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ หลายประการ การบริหารที่ดี จึงจำเป็นต้องอาศัยความสามารถในการมองเห็นความเปลี่ยนแปลง และนำพาองค์การไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง

นอกจากนั้นการที่จะทำให้องค์การเห็นคุณค่าของคุณยังสามารถทำได้โดยการเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถในการทำงาน

6. สร้างความร่วมมือ

การบริหารที่ดีจำเป็นจะต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม (Teamwork) โดยร่วมมือกันทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการบริหารที่ดีแล้ว ยังนับว่าเป็นการพัฒนาความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ร่วมงาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญการสร้างความร่วมมือกันในการทำงาน การสร้างความร่วมมือในการทำงานสามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็น

การสร้างความร่วมมือผ่านการคิดแบบจัดลำดับความสำคัญ แนวการคิดแบบจัดลำดับความสำคัญ (Priority Thinking) สามารถช่วยให้ผู้ทำงานสามารถประเมินได้ว่างานใดมีความสำคัญ หรือสามารถกระทำได้ก่อน ซึ่งทำให้งานมีความสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างความร่วมมือโดยการแบ่งปันข้อมูลการแบ่งปันและเผยแพร่ข้อมูลในองค์การนั้นสามารถทำให้การตัดสินใจดียิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผลลัพธ์ในการทำงานมีการพัฒนา ในปัจจุบันหลาย ๆ องค์การเชื่อว่าความรู้ (Knowledge) เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้คนมีศักยภาพในการทำงาน อย่างไรก็ดีในการเผยแพร่หรือแบ่งปันข้อมูลข่าวสารในองค์กร มักจะมีปัญหาที่สำคัญสองเรื่องที่มักจะเกิดขึ้นคือ

6.1 เมื่อข้อมูลเผยแพร่ไปแล้ว ไม่มีการดำเนินการใดต่อเนื่องจากให้มีคำสั่งให้กระทำการใด ๆ ทำให้ข้อมูลที่เผยแพร่ออกมาไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ให้กับองค์กร
6.2 การแบ่งปันข้อมูลไม่ได้ให้ประโยชน์แก่ฝ่ายใดโดยตรงยกเว้นผู้ที่เผยแพร่

7. การบริหารงานที่ดีไม่จำเป็นต้องสร้างแรงกดดัน

การบริหารงานที่ดีนั้น ผู้บริหารไม่จำเป็นต้องปฏิบัติต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด หากแต่พยายามที่จะสร้างความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจและเห็นคุณค่าของลูกน้องและผู้ร่วมงาน นอกจากนั้นผู้บริหารยังควรที่จะทำให้การทำงานเกิดความสมดุล เนื่องจากในปัจจุบันผู้บริหารมีแนวโน้มที่ต้องใช้เวลาในการทำงานมากขึ้น ซึ่งทำให้การทำงานขาดความสมดุล ดังนั้นในบางครั้งผู้บริหารจำเป็นที่จะต้องหยุดพัก เพื่อที่จะพัฒนาและหามุมมองใหม่ ๆ ในการทำงาน

ผู้บริหารที่ดียังควรที่จะใส่ใจผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาอีกด้วย แนวโน้มที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือปริมาณงานเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ผู้บริหารควรที่จะต้องตรวจสอบอยู่เสมอว่าผู้ที่ทำงานหนักได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมหรือไม่ นอกจากนั้นความเชื่อมั่นของผู้ทำงานก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน ความเชื่อมั่นของผู้ทำงานกำลังลดลงอันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ ดังนั้นผู้บริหารที่ดีจึงต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน โดยพยายามรักษาบุคลากรที่มีความสามารถให้ทำงานเพื่อองค์กร

คิดว่า หลักการทั้ง 7 เรื่องที่ได้นำเสนอไปอล้วจากงานเขียบนข้างต้น จะเป็นประโยชน์ไม่น้อยในการบริหารแรงงานในยามยากของช่วงเวลาปัจจุบันเช่นนี้ครับ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที