Meditate

ผู้เขียน : Meditate

อัพเดท: 26 พ.ค. 2010 09.52 น. บทความนี้มีผู้ชม: 166686 ครั้ง

คนทั่วไป โดยปรกติ คิดว่าตัวเอง แข็งแรงอยู่เสมอ
จะไม่ค่อยเตรียมตัว และ มองอนาคตเพื่อเตรียมตัวกับการเปลี่ยนแปลง กระทันหัน เปรียบได้กับมาหาหมอเมื่ออาการ ของโรค ชัดเจนหรือโคม่าแล้ว
เช่นเดียวกับธุรกิจ คุณทราบหรือยังว่า คุณก้าวมาไกลขนาด ไหน และความเร็วของโลก หมุนเร็วขึ้น ขนาดไหน สภาพของธุรกิจจะ คงสภาพพร้อมเพื่อการแข่งขันได้นานขนาดไหน นวัตกรรม เปรียบเสมือน วิตามินเสริม หรือไม่ สำหรับธุรกิจ หรือคืออะไร
สาเหตุที่เขียน เพราะ กำลังศึกษา ปริญญาเอก ด้าน การจัดการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงอยาก เอามาร่วมแบ่งปัน ความรู้สู่อุตสาหกรรม


บทที่ 3 การศึกษา การจัดการ นวัตกรรมที่ผ่านมา ทั้งไทย และเทศ

บทที่ 3 การศึกษา การจัดการ นวัตกรรมที่ผ่านมา ทั้งไทย และเทศ

 

ในบทนี้เรา จะมาดูกันมา เรื่องนวัตกรรมนั้น

·       เริ่มต้นจากไหน  

·       ทำไม ถึงมีการ พูดถึง และ มีการศึกษา  มี ทฤษฎี ต่างๆ ออกมามากมาย

·       และในเมืองไทย  มี จุดเริ่มต้น และ เดินมาถึงไหน สำหรับเรื่องนี้

 

ระดับโลก             

                ถ้าหาก พูดถึงเรื่องนัตกรรม เราต้องกล่าวหรืออ้างอิงถึงปรมาจารย์ด้านนี้    ผู้เริ่มแนวความคิดนี้ นั้นก็คือ Joseph Schumpeter หรือชื่อเต็มว่า Joseph Alois Schumpeter (February 8, 1883 – January 8, 1950)


นักเศรษฐศาสตร์และนักรัฐศาสตร์ชาวออสเตรีย  เป็นผู้ที่เขียนบทความมากมายโดยเริ่มต้นจากทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ เช่น The history of economic analysis, Schumpeter and Keynesianism, Schumpeter and capitalism's demise,  Schumpeter and democratic theory, Schumpeter and entrepreneurship และยั เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศ ออสเตรียและเป็นนักเศรษฐศาสตร์การเมืองที่สำคัญของยุโรปก่อนอพยพ หนีภัยสงครามไป  เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด  

 

                 Schumpeter พูดถึงนวัตกรรมการจัดการ ในปี 1930s โดยเริ่มศึกษาถึงกระบวนที่ระบบทุนได้รับผลกระทบจากนวัตกรรม. หนังสือ Schumpeter     " “Capitalism, Socialism and Democracy” "  อธิบายกระบวนการดังกล่าว โดยกล่าวว่าผู้ประกอบการต่างก็หาทางใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตสินค้า บริการหรือนวัตกรรมที่เป็นสินค้าใหม่ เพื่อสร้างประโยชน์เชิงธุรกิจให้กับองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนวัตกรรมนั้นสามารถทำให้องค์กรมีกำไรจากการเป็นผู้ผูก ขาด (Monopoly profit) ได้เปรียบในการแข่งขัน แต่ก็ยังมีนักลงทุนบางคนที่พยายามจะลอกเลียนแบบเทคโนโลยีของผู้อื่น หรือดัดแปลงพัฒนาต่อยอดก็ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ตลอดเวลาเช่นกัน เกิดเป็นวงจรเช่นนี้เรื่อยไป จนกระทั่งถึงจุดที่ความสามารถในการผูกขาดหมดไป ณ จุดนี้สิ่งต่างๆ จะวนกลับมาเป็นวัฏจักร เพื่อหนีการลอกเลียนแบบผู้ประกอบการเดิมหรือคนที่มองหานวัตกรรมใหม่ๆ จะทำให้เกิดรูปแบบการแข่งขันใหม่ๆ จากการคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ Schumpeter เรียกว่าเป็น การทำลายที่สร้างสรรค์ (creative destruction) เมื่อมีการคิดสิ่งใหม่ๆ ทำลายสิ่งที่มีอยู่เดิม โดยทั้งหมดนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างกำไรเพิ่มขึ้นให้กับองค์กร1

ผู้นำด้านนวัตกรรมของเอเชีย

 

                โมริตะ อากิโอะ2 (Morita Akio) ชาวญี่ปุ่นได้รับการยกย่องให้เป็นนวัตกรแนวหน้าของเอเซีย  เขามีพื้นฐานเป็นนักฟิสิกส์แต่หันมาเอาดีทางการตลาด เขาเป็นคนมีวิสัยทัศน์ก้าวไกลและเป็น นักขายมือทอง เขาเริ่มธุรกิจกับเพื่อนชื่อ อิบุกิ มาซารุ (Ibuki Masaru) ในห้องเล็ก ๆ ของห้างสรรพ สินค้าแห่งหนึ่งในโตเกียวในปี 1946 โดยตั้งชื่อว่า Tokyo Telecommunications Engineering
Corporation

 

                เขาเริ่มต้นจากการพยายามสร้างเครื่องบันทึกเสียงแบบแม่เหล็ก (magnetic tape
recorder) เขาเริ่มต้นตัดกระดาษแผ่นบางยาวด้วยมือและนำไปทาแลคเกอร์ด้วยมือของพวกเขาเอง
เพราะแผ่นพลาสติกเป็นของหายากในญี่ปุ่นยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากที่ลองผิดลองถูก
อยู่นานเขาก็ได้ผลิตเทปแคสเซตขึ้นเป็นคนแรกในญี่ปุ่น 

 

                อากิโอะเป็นผู้ให้กำเนิดวิทยุ Walkman



เพราะเขาสังเกตว่า คนหนุ่มสาวต้องการเสียงดนตรีตลอดเวลา ดังนั้นพวกเขาจึงต้องการวิทยุขนาด เล็กที่สามารถพกพาไปไหนก็ได้  ในขณะที่อิบุกิ เป็นอัจฉะริยะทางด้านเทคนิคซึ่งต่อมาบริษัทของเขา ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "Sony" บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง

 

  

แล้ว ผู้นำด้านนวัตกรรมของไทย คือใคร ครับ

 

เดี๋ยวค่อยมาต่อกัน

1. http://www.torakom.com/article_print.php?artID=94

2. http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=dfbdbd02eca9b5323ccd0bd660fd7698&bookID=1185&pageid=4&read=true&count=true


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที