สิริอัปสร

ผู้เขียน : สิริอัปสร

อัพเดท: 25 ก.ค. 2009 05.08 น. บทความนี้มีผู้ชม: 2443 ครั้ง

ความชำนาญเฉพาะสาขาในการทำงานสำคัญไฉน


คนทำงานด้าน Logisitc

ในปัจจุบันการทำงานในงานต่าง ๆ นับเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนขององค์กรอย่างแท้จริง แต่หากว่าความสนใจและตั้งใจในการทำงานอีกทั้งทักษะในการทำงานนับเป็นผลพลอยได้ที่แท้จริงขององค์กรนั้นเกิดจากความบังเอิญขององค์กรที่คัดเลือกพนักงานหรือเกิดจากทักษะที่แท้จริงของพนักงานกันแน่

ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาคำว่า "Logistic" คงเป็นศัพท์ที่เด็กสมัยใหม่รู้จักกันและต่างเป็นที่นิยมและอยากที่จะศีกษา อีกทั้งหน่วยงานภาคการศึกษาก็เปิดสาขารองรับกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่งแต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจถึงแก่นของโลจิสติกส์อย่างแท้จริง

จากประสบการณ์ในการทำงานของข้าพเจ้า ในการทำงานด้านโลจิสติกส์นั้นไม่ใช่เป็นการทำงานไปวันวัน แต่ในการทำงานของแต่ละวันหากได้เก็บข้อมูลกันอย่างแท้จริงแล้วการที่ได้พบกับปัญหาเฉพาะหน้านั้นทำให้เราเข้าใจปัญหาและสามารถแก้ปัญหานั้น ๆ อย่างถูกวิธี

สิ่งหนึ่งที่ค้านในใจของข้าพเจ้าตลอดมาคือ การที่องค์กร สถาบันการศึกษาและองค์กรเอกชนรับสมัครพนักงานในสายงานด้านโลจิสติกส์และใส่วงเล็บว่า (Engineer Logistic) เสมอ ซึ่งในหลักการทำงานจริง ๆ นั้นเข้าใจว่าการทำงานด้านนี้โดยหลักการบริหารงานนั้น บุคลากรที่จบการศึกษาด้านบริหารจัดการก็สามารถทำงานได้เช่นเดียวกัน หรือไม่ก็คงมีความเข้าใจผิด ในการทำงานด้านโลจิสติกส์นั้นสามารถแบ่งได้ 2 ส่วน คือ

1. งานด้านบริการ คือ งาน Support งานด้านเอกสาร การประสานงานระหว่างหน่วยงานภายในองค์กรหรือ หน่วยงานนอกองค์กร (ทั้งภาครัฐและเอกชน)

2. งานด้านฝ่ายการผลิด คือ งานด้านการวางแผนการผลิตเพื่อให้สมดุลกับยอดการเสนอขายให้กับผู้ซื้อ ซึ่งในขั้นตอนนี้เองจำเป็นต้องใช้ในส่วนของ Engineer เพื่อมาทำงานด้านการวางแผนงาน หรือ planning เพื่อเป็นการกำหนดการวางแผนงานการจัดส่งให้ทันกำหนด หรือ Just in time ครั้งหนึ้งข้าพเจ้าเคยทำงานในตำแหน่งนี้โดยได้รับมอบหมายจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กรหนึ่งโดยไม่จำเป็นต้องจบการศึกษาด้าน Engineer Logisitic

สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนอยากจะเสนอแนวความคิด คือ การทำงานในงานต่าง ๆ นั้นย่อมอยู่ที่ทักษะในการทำงานของแต่ละคนมากกว่า ไม่อยากให้ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรมองผู้มาสมัครงานเพียงแค่สถาบัน ,วุฒิการศึกษา, หรือสาขาที่จบมา แต่อยากให้พิจารณาถึงความสามารถของแต่ละบุคคลในขณะนั้นมากกว่าเพราะว่า ประสบการณ์ที่สั่งสมมาของแต่ละบุคคลทีเกิดขึ้นนั้นย่อมก่อให้เกิดมุมมองที่ต่างกัน อีกทั้งความถี่ถ้วนในการพิจารณาด้านความคิดจะทำให้เกิดผลเชิงบวกแก่องค์กร


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที