TPA Magazine

ผู้เขียน : TPA Magazine

อัพเดท: 12 ก.พ. 2007 11.49 น. บทความนี้มีผู้ชม: 58095 ครั้ง

ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสาร ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใดก็ตาม เราต้องพูดต้องคุย เพื่อสร้างความเข้าใจต่อกันและกัน


มิตรภาพโพ้นทะเล

การเรียนภาษาญี่ปุ่นของดิฉันก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ และออกรสออกชาติแบบฮอลล์รสน้ำผึ้งผสมมะนาว เพราะจุงโกะและเรโกะนอกจากจะขยันเขียนจดหมายแล้ว ยังบินมาเที่ยวเมืองไทยทุกปีช่วงซัมเมอร์ แถมยังแอบเข้าไปนั่งฟังเล็คเชอร์กับพวกดิฉันด้วย จำได้ว่าพอจุงโกะกับเรโกะมากรุงเทพฯทีไร พวกเราก็พากันไปเที่ยวสนุกแบบเด็กๆยุคนั้น ซึ่งแน่นอนไม่มีสยามพารากอน อาร์ซีเอ เซ็นเตอร์พ้อยท์ และมาบุญครองอย่างปัจจุบัน

 

     พวกดิฉันในก๊วน 4-5 คน(เท่าที่นึกชื่อออกนะ คนอื่นที่บังเอิญอยู่ร่วมเหตุการณ์ตอนนั้นแต่ไม่ได้เอ่ยชื่อก็อย่าถือสาแล้วกัน ก็โถ ! เวลามันผ่านมาตั้งยี่สิบกว่าปีแล้วนะ นึกได้ขนาดนี้ ดิฉันก็ว่ายอดแล้วนา )     

 

     มีคุณนายมน ซึ่งดิฉันจะเรียกติดปากว่า ยายมน เจ้าตุ่ม ไอ้ศรี นังเก๋ เจ้าฮุ้ย (ปัจจุบันกระจัดกระจายแยกย้ายกันได้ดี เป็นใหญ่เป็นโต ตามโซนต่างๆ ของประเทศไทยบ้าง ต่างประเทศบ้าง ที่จำได้ ยายมนปัจจุบันเป็นใหญ่เป็นโตดูทางด้านประชาสัมพันธ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม เจ้าตุ่มเรียนจบปุ๊บก็ไปอเมริกา ตอนนี้ได้ดีเป็นเศรษฐีอยู่โน่น ไม่มีที่ท่าว่าจะกลับ นังเก๋ก็ลงไปคุมสวนอยู่ใต้ เจ้าฮุ้ยก็เป็นเจ้าแม่อยู่กรมประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ความจริงคุณนายฮุ้ย เพื่อนสุดเลิฟและเป็นขาลุยของ ก๊วนนี้มีเรื่องที่ทำให้ดิฉันต้องจดจำ อย่างไม่รู้ลืมเลยทีเดียวเพราะ หลังจากเป็นคนโตอยู่ในกรมประชาสัมพันธ์ได้สักพักใหญ่ เธอก็ตัดสินใจเสียดุลไปกับหนุ่มใหญ่ชาวอเมริกัน โดยลาออกแล้วไปตั้งรกรากอยู่อเมริกาเช่นเดียวกับคุณนายตุ่มเพื่อนอีกคนในก๊วน แต่ที่ต่างออกไปก็คือ คุณนายตุ่มยังอยู่ดีมีสุข ส่วนฮุ้ยนั้นเพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อปลายปีที่แล้ว โดยก่อนสิ้นบุญนั้น เธอเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ แล้วมีอาการแทรกซ้อนทำให้นอนเป็นเจ้าหญิงนิทราอยู่ในโรงพยาบาลนาน 3 เดือนก่อนจะลาโลกอย่างสงบ นับเป็นเพื่อนคนที่สามของรุ่นที่เสียชืวิต )

      

     พวกเราจะสับเปลี่ยน พาสองสาวต่างแดนนี้ขึ้นรถเมล์ รถสองแถว ตุ๊กตุ๊ก ลงเรือหางยาวกันชุลมุน ไปอยุธยาบ้าง พัทยาบ้าง เรียกว่าเที่ยวกันจนตัวดำปี๋ ไม่รู้คนไหนไทยคนไหนญี่ปุ่น พอสองสาวนี่กลับญี่ปุ่น พวกดิฉันก็เป็นโรคระบาด เรียกกันว่าโรคเจแปนิสซึ่ม คือทุกคนในก๊วนจะดัดจริตทักทายกันเป็นภาษาญี่ปุ่น เช้ามาเจอกันที่โต๊ะก็จะบอก แล้วแยกย้ายกันไปเรียน กลางวันสุมหัวกินข้าว ที่ท่าพระจันทร์ เจอกันก็ ตอนเย็นๆ บางทีมีโทรศัพท์คุยกันก็พูด ซึ่งเจ้าความคลั่งญี่ปุ่นของดิฉัน และเพื่อนๆ ในกลุ่มนั้นเป็นที่เลื่องลือ และขณะเดียวกัน ก็สร้างความหมั่นไส้ให้ผู้คนรอบข้างเป็นอย่างยิ่ง

 

     ตอนนั้นพอเรียนประโยคหรือคำใหม่ๆกันที พวกเราก็จะมาหัดพูดแต่งประโยคเพิ่ม เช่น เวลาเรียนเรื่องตัวเลข

   
    

หมายถึง 1-10 เราก็จะไปเอาเบอร์โทรศัพท ์ของแต่ละคนในก๊วนมา แล้วก็ใส่เป็นภาษาญี่ปุ่นลงไป ท่องกันใหญ่ เป็นที่หนวกหูของโต๊ะข้างเคียงนัก บางทีเราก็ย้ายสถานที่ติวไปที่หน้าหอใหญ่ (หอประชุมใหญ่) ซึ่งสมัยนั้นจะมีต้นหางนกยูงใหญ่ๆ ร่มครึ้ม และมีโต๊ะไม้วางเรียงรายอยู่ พอแดดร่มหน่อย ก็แห่ไปนั่งติวกันที่นั่น

 

     ที่หน้าหอใหญ่นี่แหละ ทำให้ดิฉันได้พบเพื่อนใหม่อีก นอกเหนือจากจุงโกะและเรโกะ แต่คราวนี้เป็นหนุ่มสองหน่อ ที่บังเอิญเดินเข้ามาบริเวณหน้าหอใหญ่ แล้วเห็นพวกดิฉันกำลังหัดเขียนตัวเลขญี่ปุ่น 1 -10 อยู่ ก็เลยเดินเข้ามาคุยด้วย ทำให้รู้ว่า ทั้งคู่เดินทางมาจากอินเดีย กำลังจะกลับญี่ปุ่น แวะเปลี่ยนเครื่องที่เมืองไทย ก็เลยอยู่ต่อ 2-3 วัน คนหนึ่งเป็นหมอ ชื่อโตชิโอะ อีกคนเป็นเภสัชกร ชื่ออิเคดะ แต่โทษทีนะ สารรูปตอนที่ทั้งคู่เจอพวกดิฉัน ไม่เหมือนหมอ หรือเภสัชกรเลย จำได้ว่าผมหยิก ฟูฟ่อง แต่งตัวด้วยผ้าฝ้ายสีหม่นๆ สะพายย่าม หน้าตาเนื้อตัวมอมแมม เหมือนพวกฮิปปี้ หรือญี่ปุ่นเร่ร่อนยังไงยังงั้น แต่พวกดิฉันซ่า(ส์) อยู่แล้ว ไม่สนใจสารรูปกันหรอก เพราะฟังจากสำเนียงพูดภาษาอังกฤษ ก็รู้ว่าคงจะเป็นเงาะญี่ปุ่นยังไม่ถอดรูป รจนาท่าพระจันทร์อย่างพวกดิฉันก็พาทัวร์มหาวิทยาลัยทันที สนุกสนานจนลืมเรียนวิชาในช่วงบ่ายทีเดียว
 
     หลังจากนั้น ดิฉันก็มีเพื่อนต่างแดนเพิ่มอีกหนึ่งคู่ โดยคู่หลังนี้มีเพียงยอดชาย นายโตชิโอะเท่านั้น ที่ขยันส่งโปสการ์ดมาให้ โดยคุณหมอโตชิโอะทำงานเป็นหมอ อยู่ที่โรงพยาบาลวาคะยะม่า เมืองเล็กๆ ชายทะเลใกล้กับโอซาก้า และเป็นนักเดินทางตัวยง จำได้ว่าดิฉันได้รับโปสการ์ด จากทุกมุมโลกทุกปี คุณหมอคนนี้ขยันเดินทางมากๆ แล้วได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ เป็นต้นว่า การทักทายกันสวัสดี สบายดีหรือเปล่า ภาษาญี่ปุ่นจะทักทายกันว่า ( สบายดีหรือเปล่า) เวลาตอบก็จะพูดว่า หรือ  ซึ่งมีเรื่องตลก เพราะดิฉันเป็นคนที่ถ้าจะพูดอะไรแล้วไม่เข้าใจสิ่งที่พูดอย่างลึกซึ้ง ดิฉันจะลืมง่ายและ ไม่อยากพูด เพราะฉะนั้นเพื่อไม่ให้คำศัพท ์หรือประโยคใหม่เลือนหายไปจากเซลส์สมองอย่างรวดเร็ว ดิฉันก็จะพยายามแปล และทำความเข้าใจความหมายของคำ หรือประโยคใหม่ๆ ที่ได้เรียนรู้
 
     ปรากฏว่าประโยค นี้ทำเอาดิฉันตงิดๆชอบกล คุณลองคิดดู ถ้าเวลามีคนมาถามเราว่าคุณสบายดีหรือเปล่า ปกติถ้าสบายดีก็ต้องตอบว่า สบายดีค่ะ ขอบคุณ หรือไม่ค่อยสบายค่ะ เป็นโน่นเป็นนี่ว่ากันไป จริงมั๊ย แต่สำหรับการตอบคำถามด้วยการใช้คำว่า ซึ่งถ้าแยกศัพท์แล้ว   หมายถึง เงาหรือร่มเงา  ก็คือคุณ(ของคุณ) ก็คือ ด้วย แปลโดยรวมก็คือ “ ด้วยร่มเงาหรือภายใต้ร่มเงาของคุณแล้วฉันสบายดี ” อุ๊ ! แม่เจ้า อะไรจะลิเกปานนั้น นี่ถ้าไม่ใช่ร่มเงาคุณแล้ว ดิฉันคงแย่แล้วซิท่า ดิฉันเกิดอาการพะอืดพะอมทุกที ถ้าจะต้องตอบจดหมายคุณหมอโตชิโอะด้วยประโยคที่ว่านี้
 
    ด้วยความทนไม่ไหวดิฉันเขียนถามคุณนายจุงโกะทันทีถ้ามีคำถามว่า ควรจะตอบแบบไหนระหว่าง  กับ ซึ่งก็ได้คำตอบจากจุงโกะว่า ประโยคแรก ใช้กับคนที่สนิทหรืออ่อนกว่า
ส่วนประโยคหลัง นั้นใช้กับผู้ใหญ่และเป็นทางการมากกว่า สุภาพมากกว่า คุณดูเถอะ ความเป็นคนถ่อมตัวของพวกยุ่นปี่-ญี่ปุ่นนี้นำมาซึ่งความยุ่งยากในการจดจำและใช้ภาษาของพวกนักเรียนต่างชาติอย่างเราๆจริงๆ

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที