ทีมงาน

ผู้เขียน : ทีมงาน

อัพเดท: 20 ก.ค. 2012 15.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 22108 ครั้ง

ทางเดียวกันไปด้วยกัน


Kaizen Web Vote 2012


คุณณัฐฐาวดี  ธนศรีวะรมย์
แผนก จัดซื้อ  /PPHV Business/ ABB Limited
อายุการทำงาน 19 ปี
ผลงาน  “ทางเดียวกันไปด้วยกัน”


มูลเหตุจูงใจ
เนื่องจากมีการออกใบสั่งซื้อวัตถุดิบจำนวนมาก ซึ่งพบว่าวัตถุดิบชนิดเดียวกันจะเปิดใบสั่งซื้อหลายครั้งในทุกสัปดาห์ เป็นการทำงานซ้ำเหมือนเดิมบ่อยๆ  ทำให้เสียเวลา และสิ้นเปลืองเวลาในการออกเอกสาร และ การอนุมัติการจัดส่งเอกสารให้กับทางผู้ขาย

สภาพของปัญหาโดยรวม

  1. เสียเวลาในการออกใบสั่งซื้อ
  2. สิ้นเปลืองกระดาษ
  3. ผู้มีอำนาจอนุมัติไม่อยู่ทำให้การสั่งซื้อล่าช้า
  4. ผู้ผลิตไม่สามารถผลิตตามที่ต้องการได้หากได้รับใบสั่งซื้อวัตถุดิบล่าช้า

แนวความคิดในการปรับปรุงงาน    “ทางเดียวกันไปด้วยกัน”

เป้าหมายในการปรับปรุงครั้งนี้

  1. ช่วยลดเวลาการทำงาน
  2. ใช้กระดาษน้อยลง ช่วยลดโลกร้อน

วิธีการปรับปรุง

  1. รวบรวมใบขอสั่งซื้อวัตถุดิบชนิดเดียวกันที่มีการแยกย่อยหลายๆ ใบ มารวมกันในแต่ละสัปดาห์
  2. ทำการเปิดใบสั่งซื้อเป็นใบเดียวกัน

ผลที่ได้รับจากการปรับปรุง

  1. ลดเวลาในการทำงานที่ซ้ำซ้อนในแต่ละสัปดาห์
  2. หลังจากทำการปรับปรุง 1 เดือนที่ผ่านมา ลดการออกใบสั่งซื้อวัตถุดิบ จาก 11 ใบ/เดือน เหลือเพียง 4 ใบ/เดือน

ปัญหาที่พบจากการปรับปรุงครั้งที่ 1
เกิดความล่าช้าของวัตถุดิบเนื่องจากการรวบรวมใบขอสั่งซื้อ

แนวทางการแก้ไข ครั้งที่ 2
เพิ่มปริมาณการสั่งซื้อวัตถุดิบต่อครั้งให้มากขึ้นโดยการใช้พยากรณ์การใช้วัตถุดิบล่วงหน้า 

วิธีการปรับปรุง ครั้งที่ 2

  1. ขอข้อมูลการพยากรณ์จำนวนการใช้วัตถุดิบจากแผนกวางแผนการผลิตในแต่ละเดือนเพื่อให้รู้จำนวนที่จะต้องสั่งวัตถุดิบ
  2. เปิดใบสั่งซื้อล่วงหน้า โดยใบสั่งซื้อ (PO) 1 ใบ ต่อจำนวนการใช้วัตถุดิบ  1 เดือน
  3. กำหนดจัดส่งวัตถุดิบ โดยแบ่งเฉลี่ย 1  ครั้ง  ต่อ สัปดาห์

ผลจากการปรับปรุง ครั้งที่ 2

  1. วัตถุดิบไม่เกิดความล่าช้า
  2. สามารถลดใบสั่งซื้อ (PO)  จาก 4 ใบ / เดือน เหลือเพียง 1 ใบ / เดือน
  3. ลดเวลาในการสั่งซื้อวัตถุดิบ จาก 40 นาที / เดือน เหลือเพียง 10 นาที / เดือน
ผลที่ได้รับจากการ ปรับปรุง ก่อนการปรับปรุง หลังการปรับปรุง
จำนวนการสั่งซื้อวัตถุดิบ 11  ครั้ง / เดือน
หรือ 132 ครั้ง ต่อ ปี
4 ครั้ง / เดือน
หรือ 48 ครั้ง ต่อ ปี
สูญเสียเวลาในการทำงาน 110 นาที / เดือน
1320 นาที  / ปี
40 นาที / เดือน
หรือ 480 นาที / ปี

ปัญหาที่พบจากการปรับปรุงครั้งที่ 2

  1. พบว่าการส่งวัตถุดิบในแต่ละสัปดาห์ไม่ตรงกับปริมาณความต้องการใช้จริง
  2. ปริมาณการเก็บ Stock ของวัตถุดิบมากขึ้น
  3. ได้รับการแจ้งจากสโตร์ว่าพื้นที่ในการจัดเก็บไม่เพียงพอ เนื่องจากสินค้าเก่ายังมีอยู่

แนวทางการแก้ไข ครั้งที่ 3
แจ้งการรับวัตถุดิบในจำนวน และเวลาที่เหมาะสม

วิธีการปรับปรุง ครั้งที่ 3

  1. ใช้ระบบคัมบัง (Kanban) ที่ได้รับการอบรม  นำมาใช้แทนระบบการส่งวัตถุดิบแบบเฉลี่ย
  2. เจรจากับทางผู้ขาย ในการส่งวัตถุดิบตามระบบ คัมบัง (Kanban)
  3. เจ้าหน้าที่จัดซื้อจะแจ้งกับทางผู้ขายเกี่ยวกับจำนวนและเวลาในการส่งวัตถุดิบ

ผลจากการปรับปรุงครั้งที่ 3

  1. พบว่าการส่งวัตถุดิบในแต่ละสัปดาห์เหมาะสมกับปริมาณการใช้จริง
  2. ไม่ได้รับการร้องเรียนจากสโตร์เพราะสามารถบริหารพื้นที่ในการจัดเก็บได้ง่ายขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำ KAIZEN

  1. มีเวลามากขึ้นในการทำงานอื่น ๆ
  2. ช่วยสโตร์บริหารพื้นที่ในการจัดเก็บวัตถุดิบ
  3. ลดปัญหาความล่าช้าในการส่งวัตถุดิบ
  4. ภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการลดภาวะโลกร้อน
  5. ได้รับรางวัล

ตารางเปรียบเทียบการปรับปรุง

 

จัดทำมาตรฐานการใช้งาน

  1. ขอพยากรณ์ปริมาณการใช้วัตถุดิบจาก Planning
  2. เปิดใบสั่งซื้อวัตถุดิบทุกๆ สัปดาห์แรกของเดือน สำหรับการจัดส่งวัตถุดิบในเดือนถัดไป
  3. เมื่อมีจำนวนคัมบังครบตามที่กำหนด ให้แจ้งกำหนดการส่งวัตถุดิบให้ผู้ผลิตทราบ
  4. ส่งคัมบังพร้อมกำหนดวันส่งวัตถุดิบให้กับสโตร์ทราบ

แผนการปรับปรุงในอนาคต
หยิบง่ายใช้สะดวก
 


ประเภท: Kaizen for Office
เรื่อง: ทางเดียวกันไปด้วยกัน
เจ้าของผลงาน: คุณณัฐฐาวดี ธนศรีวะรมย์
องค์การ: บริษัท เอบีบี จำกัด


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที