สุนิสา

ผู้เขียน : สุนิสา

อัพเดท: 18 ส.ค. 2012 16.19 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5990 ครั้ง

ทรัพยากรน้ำจืด


ทรัพยากรน้ำจืด

 

ทรัพยากรน้ำจืด

น้ำจืด ถือได้ว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ เพราะทรัพยากรน้ำจืดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิต และเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มานานนับพันๆ แต่อย่างไรก็ตาม ทรัพยากรน้ำจืดที่พบบนโลก และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในปัจจุบันมีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น ดังนั้นเรามีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องช่วยกันดูแล รักษา ทรัพยากรน้ำจืดที่มีอยู่เพียงน้อยนิด ให้สามารถธำรงความบริบูรณ์ของระบบนิเวศ พอเพียงและสมบูรณ์ต่อการนำมาใช้ประโยชน์ของมนุษย์

ฝ่ายทรัพยากรน้ำจืด WWF ประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการทำงานในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง นั้นก็คือ พื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่บางส่วนของภาคเหนือของประเทศไทย 
 
โดยมีเป้าหมายหลักในการดำเนินงาน คือ ภายในปี พ.ศ. 2563 พื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่างยังคงความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งน้ำที่มีคุณภาพ เป็นแหล่งผลิตอาหารที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสรรพชีวิต ตอบสนองความต้องการในการดำรงชีพได้เหมาะสม รวมทั้งได้รับการบริหารจัดการ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน


โดยมุ่งเน้นการจัดการทรัพยากรน้ำจืดอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจืด

จุดมุ่งหมายเพื่อ

อนุรักษ์ความหลากหลายทรัพยากรน้ำจืด ระบบนิเวศ แหล่งทำรังวางไข่ และชนิดพันธุ์หายาก ใกล้สูญพันธุ์ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง 

การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรน้ำจืดอย่างชาญฉลาด เจ้าหน้าที่ของรัฐและชุมชนท้องถิ่นร่วมกันบริหารจัดการ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐด้านการจัดการทรัพยากรน้ำจืด และพื้นที่ชุ่มน้ำ รวมทั้งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน  

พัฒนาศักยภาพองค์กรภาครัฐและชุมชน สนับสนุนอำนวยความสะดวกจัดตั้งองค์กรระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค เพื่อการบริหารจัดการ รวมทั้งเสริมสร้างจิตสำนึก สร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรน้ำจืด เพื่อนำไปสู่การจัดการร่วมกันต่อไป 

ปัจจุบันมีโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำจืดหลากหลายโคร่งการ ที่เกิดขึ้นในลุ่มน้ำโขง ได้แก่

·         โครงการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในประเทศไทยและลุ่มน้ำโขง จ.หนองคาย เลย และน่าน

·         โครงการฟื้นฟูลุ่มน้ำชี จ.ขอนแก่น

·         โครงการอนุรักษ์ปลาบึกแม่น้ำโขง จ.เชียงราย ประเทศไทย-แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว

·         โครงการเสริมสร้างจิตสำนึก เพื่อการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง

·         โครงการสำรวจจัดทำฐานข้อมูล พื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญในประเทศไทย 20 แห่ง

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที