ณัฐกานต์

ผู้เขียน : ณัฐกานต์

อัพเดท: 03 ก.ย. 2012 20.18 น. บทความนี้มีผู้ชม: 7030 ครั้ง

รายละเอียดเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อการวางระบบ บริหารคุณภาพและสิ่งแวดล้อม ISO 9000 และ ISO 14001


การเตรียมความพร้อมเพื่อการวางระบบ บริหารคุณภาพและสิ่งแวดล้อม ISO 9000 และ ISO 14001

การเตรียมความพร้อมเพื่อการวางระบบ บริหารคุณภาพและสิ่งแวดล้อม ISO 9000 และ ISO 14001

 

1 ) การเตรียมความพร้อม

เป็นที่ทราบกันดีว่าในการวางระบบบริหารคุณภาพและสิ่งแวดล้อม องค์กรที่ต้องการจัดทำระบบจะต้องมีพร้อมทั้งในส่วนที่มุ่งมั่นในการดำเนินระบบของผู้บริหารระดับสูง การจัดสรรทรัพยากร การเงิน และความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ของทุกส่วนงานในองค์กร เนื่องจากบุคลากรที่ได้รับมอบหมายหรือส่วนงานที่เกี่ยวข้องจะต้องใช้เวลาส่วนหนึ่งจากงานประจำในการจัดเตรียมเอกสารที่จำเป็นต่อการดำเนินระบบ การจัดเตรียมวิธีปฏิบัติงานต่างๆ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนด รวมทั้งจะต้องจัดเตรียมสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม กับการวางแผนในส่วนงานต่างๆ ซึ่งจะต้องวางระบบให้เหมาะสมกับประเภทธุรกิจและผลิตภัณฑ์ขององค์กรเอง

โดยทั่วไปผู้บริหารจะต้องมีความมุ่งมั่นในการดำเนินระบบ

 • โดยสื่อสารออกมาในรูปแบบของการประกาศ การประชุมชี้แจงกับบุคลากรในองค์กรเพื่อเข้าสู่ระบบ

 • มีการประกาศนโยบายคุณภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นเอกสารอย่างชัดเจน

 • มีการกำหนดทีมปฏิบัติ (Implementation) ซึ่งเป็นคณะทำงานที่จะช่วยให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ

 • พร้อมทั้งแต่งตั้งผู้ที่จะเป็นหัวเรือใหญ่ในการดำเนินระบบ คือ ผู้แทนฝ่ายบริหาร (Quality and Environment Management Representative - QEMR) ซึ่งรับผิดชอบในเรื่อง การจัดทำระบบทั้งโครงการ รวมทั้งรายงานสถานการณ์ดำเนินระบบให้กับผู้บริหาร

 • มีการกำหนด "แผนการปฏิบัติงาน" (Implementation Plan) เพื่อใช้เป็นทิศทางในการดำเนินระบบซึ่งมีการกำหนวดกิจกรรมหลักอย่างชัดเจน มีการกำหนดผู้รับผิดชอบ พร้อมทั้งระยะเวลาในการดำเนินงานที่เหมาะกับสภาพขององค์กรเอง

 • มีการกำหนด โครงสร้างหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละตำแหน่งงานอย่างชัดเจนโดยกำหนดเป็น ผังองค์กร (Organization Chart) พร้อมทั้งกำหนดรายละเอียดหน้าที่ความรับผิดชอบในแต่ละตำแหน่งงานอย่างชัดเจน (Job Descript/Specifacation)

 

2 ) การวางแผนการปฏิบัติงาน

ในการทำงานโครงการใดๆ แน่นอนจะต้องมีการกำหนด แผนงานโครงการ ซึ่งเทคนิคในการวางแผนส่วนใหญ่จะนำเทคนิคของนาย Gantt มาประยุกติใช้ช่วยในการดำเนินงานโครงการ คือ มีการกำหนดกิจกรรมหลัก มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม และมีการกำหนดช่วงระยะเวลาของแต่ละกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อใช้ในการควบคุมงานทั้งโครงการ ซึ่งจะต้องพิจารณาคัดเลือกบุคลากรในองค์กรที่มีความพร้อมทั้งความรู้ ความสามารถ และความตั้งใจจริงที่จะช่วยองค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยส่วนใหญ่ควรจะคัดเลือกบุคลากรในตำแหน่งหัวหน้างานขึ้นไป และจะต้องพิจารณาความพร้อม เช่น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์กรแบบไม่หวังผลตอบแทน ความเสียสละเป็นต้น

อ้างอิงจาก:

ธีระพันธ์ พลมณี (2543). การเตรียมความพร้อมเพื่อการวางระบบบริหารคุณภาพและสิ่งแวดล้อม ISO 9000 และ ISO 14001. ใน ระบบบริหารคุณภาพและสิ่งแวดล้อม การจัดทำมาตรฐาน ISO 9000&ISO 14001 . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ สยามมิตรการพิมพ์

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที