ทีมงาน

ผู้เขียน : ทีมงาน

อัพเดท: 28 พ.ย. 2012 11.47 น. บทความนี้มีผู้ชม: 3321 ครั้ง

ขอเชิญนักเรียน/นักศึกษา บุคคลทั่วไป เข้าร่วมส่งบทความ รูปภาพ ภายในวันที่ 9 ธันวาคม


ขอเชิญนักเรียน/นักศึกษา บุคคลทั่วไป เข้าร่วมส่งบทความ รูปภาพ

ขอเชิญนักเรียน/นักศึกษา บุคคลทั่วไป เข้าร่วมส่งบทความ รูปภาพ โดยมีกฎเกณฑ์ดังนี้

เกณฑ์การรับเนื้อหา

ขอเชิญนักเรียน/นักศึกษา บุคคลทั่วไป เข้าร่วมส่งบทความ รูปภาพ ภายในวันที่ 9 ธันวาคม ที่ web-service@tpa.or.th โดยมีกฎเกณฑ์ดังนี้

ลักษณะเนื้อหา

  1. เป็นเนื้อหาความรู้ใหม่ที่ยังไม่เคยตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อน
  2. เป็นเนื้อความรู้เดิมแต่ยังมีความน่าสนใจ โดยนำมาเรียบเรียงใหม่เป็นภาษาของผู้เขียนเอง
  3. เป็นเนื้อความรู้เดิม แต่เอามาวิเคราะห์และหาประเด็นในการนำเสนอใหม่
  4. เป็นเนื้อหาที่ต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ

การนับจำนวนสาระ

  1. 1 บทความ นับเป็น 1 สาระ (หากมีภาพประกอบในบทความ ไม่นับภาพประกอบนั้นเป็นสาระ) (จ่าย บทความละ 1,000 บาท กรณีที่ ตรวจรับผ่านและแก้ไข ตามที่กรรมการแจ้ง)
  2. 1 ภาพพร้อมคำอธิบาย (photo caption) นับเป็น 1 สาระ (จ่าย ภาพละ 500 บาท กรณีที่ ตรวจรับผ่านและแก้ไข ตามที่กรรมการแจ้ง)
  3. 1 วลีเด็ดๆ พร้อมชื่อผู้คิดวลีนั้น นับเป็น 1 สาระ (จ่าย วลีละ 300 บาท กรณีที่ ตรวจรับผ่านและแก้ไข ตามที่กรรมการแจ้ง)
  4. 1 Info Graphic นับเป็น 1 สาระ (จ่าย ภาพละ 1,500 บาท กรณีที่ ตรวจรับผ่านและแก้ไข ตามที่กรรมการแจ้ง)

 

หมวดเนื้อหา ที่ ต้องการ

  1. เข้าถึงโอกาส
    • อาเซียนเป็นหนึ่ง
    • ทุนวัฒนธรรม
    • วิทยาการ
    • ลูกค้าใหม่
    • ร่วมคิดร่วมสร้าง
  2. คิดสร้างสรรค์
    • กระตุกต่อมคิด
    • คนต้นคิด
    • บทความเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  3. Global Trend
    • Color Trends Direction
    • Life style Report
    • Using  Trends
    • Trend into Product
    • Who's In-Trend
    • Global trends Partners
  4. ความรู้กินได้
    • ภูมิปัญญาสร้างรายได้
    • ต่อยอดการเกษตร
    • คนดิจิตัล
  5. จัดการความรู้

 

ตัวอย่าง 1 ภาพพร้อมคำอธิบาย (Photo caption) นับเป็น 1 สาระ (จ่าย  500 บาทต่อเรื่อง)

วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ศิลปินศิลปาธร ประจำปี 2553 หนึ่งในแกนนำในการจัดงาน “เหตุเกิดที่อัมพวา”
กล่าวไว้ว่า “นับจากวันนี้ชื่อ ‘อัมพวา’ ไม่ได้หมายถึงแค่อำเภอๆ หนึ่งในจังหวัดสมุทรสงครามอีกต่อไป
แต่คำว่า ‘อัมพวา’ จะหมายถึง การปกป้อง รักษาชุมชน วัฒนธรรม วิถีพื้นบ้าน และการดำเนินชีวิตแบบไทยๆ
ที่กำลังเลือนหายไปด้วยเหตุผลบางอย่าง เวลาหรือเงินทุน”

 

ตัวอย่างการเขียนบทความ

เรื่อง ต่อเนื้อเยื่อมนุษย์จากของเหลือทิ้ง

ฟังดูแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าของเหลือทิ้งจะสามารถต่อเนื้อเยื่อมนุษย์ได้ แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว ด้วยผลงานวิจัยของ รศ.เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่นำเซซิรีนหรือโปรตีนจากกาวไหมมากระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อได้  ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการแพทย์ของโลก  ในการคิดค้นผลิตแผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลจากของเหลือทิ้ง และยังมีคุณสมบัติช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น สร้างหลอดเลือดเพิ่ม (neovascularization)  เพิ่มคอลลาเจนในบาดแผล ไม่ทำให้เกิดการแพ้หรือระคายเคือง ทั้งยังทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อ แผลจึงหายเร็ว เพราะเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการอับเสบน้อยกว่าการใช้พลาสเตอร์ทั่วไป โอกาสเกิดแผลเป็นก็ต่ำกว่า และการใช้งานก็เหมือนพลาสเตอร์ที่ใช้ปิดกั้นกันเชื้อโรคเข้าไปในแผลที่มีวางขายตามท้องตลาดทั่วไป

กาวไหม คือ น้ำเหลือทิ้งจากการต้มรังไหม ซึ่ง ดร.พรอนงค์ ได้ทำการศึกษาวิจัยโปรตีนในกาวไหมหรือน้ำเหลือทิ้งจากการต้มรังไหม และค้นพบว่า กาวไหมมีเซริซีน (sericin) ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นกรดอะมิโนสำคัญต่อร่างกาย ที่มีปริมาณสูงถึง 30% ทำให้แข็งตัวเป็นเจล แข็งแรงและยืดหยุ่นได้ตามอุณหภูมิการผลิต และสารประกอบร่วมมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ดูดซึมน้ำได้ดี จึงทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ใช้ปิดแผลก็เจ็บปวดน้อยลง ที่สำคัญเซริซีนยังกระตุ้นการสร้างเซลล์ไปพร้อมกับเพิ่มการยึดเกาะตัวกัน อันเป็นตัวการช่วยสร้างเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้
ในกรณีแผลขนาดใหญ่ไฟไหม้ เนื้อเยื่อผิวหนังเสียหายเป็นบริเวณกว้าง ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อได้ยาก การรักษาต้องกรีดหรือตัดเนื่อเยื่อจากร่างกายส่วนอื่น ทำให้มีแผลเพิ่ม และเสี่ยงต่อปัญหาการติดเชื้อ  แผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลจากกาวไหมลดปัญหาการติดเชื้อได้ เนื่องจากไม่ต้องเปิดแผลใหม่ แผ่นปิดแผลติดแล้วไม่ต้องลอกออก ปิดครั้งเดียว จากนั้นกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อจะขึ้นมาทดแทนและโปรตีนกาวไหมจะละบายไปเองใน 21 วัน

มีการวิจัยกับผู้ได้รับบาดเจ็บไฟลวกเป็นบริเวณกว้างถึง 60% จากเหตุเพลิงใหม่สถานบันเทิงชื่อดังแห่งหนึ่ง พบว่าได้ผลดีและจากการทดลองกับหนูพบว่า เพิ่มคอลลาเจนไปกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อให้แผลหายเร็วขึ้น ขณะเดียวกันก็ได้ทดลองโดยติดกับผิวหนังอาสาสมัคร ซึ่งเป็นบุคคลทั่วไปที่ไม่มีแผล 112 คน เป็นเวลา 23 สัปดาห์ ไม่พบการแพ้ และทดลองกับคนไข้ที่มีบาดแผลจริง 70 ราย ก็ได้ผลดีตามคุณสมบัติและความคาดหมาย
ต้นทุนการผลิตแผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลกาวไหม แผ่นละ 250 บาท หรือคิดเป็น 3.6 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งถ้านำมาใช้อย่างจริงจังจะลดรายจ่ายโดยรวมของประเทศลงมิใช่น้อย
ผลพลอยได้อีกทางหนึ่ง คือ จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กาวไหม ซึ่งเป็นของเหลือใช้ทางการเกษตร ให้กับแวดวงอุตสาหกรรมไหมไทยได้อีกด้วย

เขียนโดย ชัชมนต์ สมาร์ท สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้

ที่มา: http://twitter.com/vp2650  
เดลินิวส์ http://www.classifiedthailcom/concept.php?article=25796


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที