อ.อุดม

ผู้เขียน : อ.อุดม

อัพเดท: 22 ธ.ค. 2006 11.05 น. บทความนี้มีผู้ชม: 71243 ครั้ง

PDCA คือ Management Circle ซึ่งเป็นหัวใจหลักของ TQM


แนะนำ เคล็ดลับ สไตล์ อ.ซึยาม่า

เมื่อครั้งที่ อ.ซึยาม่า ได้มาสอน การแก้ไขปัญหา ที่ สสท (ประกอบการเผยแพร่หนังสือ ที่เขียนโดย ดร. ปริทัศน์) ท่านได้ให้เคล็กลับไว้ 20 ข้อครับ ผมเห็นว่า น่าสนใจและผู้อ่านท่านก็สามารถนำไปประยุกต์ได้ (หรือจะหาฉบับสมบูรณ์ ก็หาได้ที่ร้านหนังสือ สสท)

เคล็ดลับ 20 ข้อนั้น ถูกเรียกเป็น 4 หมวด ครับ

หมวดที่ 1 เรียกว่า S8 ซึ่งคือขั้นตอนการแก้ไขปัญหาอันประกอบไปด้วย

1.การเลือกหัวข้อที่เข้าใจได้ และเห็นผลการดำเนินงานที่ชัดเจน
2.การรวบรวมข้อมูล สำรวจสภาพปัจจุบัน
3.เลือกและกำหนดค่าเป้าหมายตลอดจนแผนกิจกรรม ช่วงเวลา รวมทั้งหน้าที่ความรับผิดชอบ
4.วิเคราะห์ปัจจัย กำหนดมาตรการเป็นรูปธรรม ชัดเจน
5.ดำเนินการตามมาตรการ
6.ตรวจยืนยันผลลัพธ์ (ทบทวน) เทียบกับค่าเป้าหมาย
7.กำหนด / แก้ไขมาตรฐาน และวิธีการ ควบคุม การเกิดปัญหาซ้ำ
8.นำปัญหาที่เหลืออยู่ มากำหนดแผนงานต่อไป

หมวดที่ 2 เรียกว่า S5 ซึ่งเป็น 5 ขั้นตอนพื้นฐานในการแก้ไขปัญหา ที่เป็นบทขยายความ ขั้นตอนที่ 2,3,4 ใน S8 อันประกอบไปด้วย

1.ต้องเก็บข้อมูลให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
2.ต้องจำแนกแจกแจงข้อมูล
3.เขียนกราฟ
4.วิเคราะห์พาเรโต้
5.วิเคราะห์ก้างปลา (สำหรับมือใหม่ๆ แต่มือเก๋าอาจเป็นเครื่องมืออื่นที่เจาะจงมากขึ้น)

หมวดที่ 3 เรียกว่า S3 ซึ่งเป็น 3 จุดตรวจสอบที่ใช้ตัดสินความเป็นรูปธรรมของก้างปลา อันประกอบไปด้วย

1.เมื่อระดับของเหตุปัจจัย (ก้าง) เปลี่ยน ผลลัพธ์ (หัว) เปลี่ยนแปลงหรือไม่ (หรือ พูดสั้นๆคือ "เหตุเปลี่ยนแล้วผลเปลี่ยนหรือไม่")
2.อำนาจหน้าที่ของเราสามารถเปลี่ยนระดับของสาเหตุ(ก้าง)ได้หรือไม่ (หรือพูดสั้นๆ คือ "กลุ่มสามารถควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงสาเหตุได้หรือไม่")
3.ถ้าผลลัพธ์(หัว) มีทั้งดีและเลว เหตุ(ก้าง) มีระดับคงที่หรือไม่ (หรือพูดสั้นๆคือ "เมื่อหัวเปลี่ยน แล้วก้างคงที่หรือไม่")

-หากใช่ ให้เขียนวงกลม แต่ในขณะที่ถามในกลุ่มนั้นห้ามใช้เสียงครับ แต่ให้ใช้สัญญลักษณ์นี้แทน


-หากไม่ใช่ ให้เขียน กากบาท แต่ในขณะที่ถามในกลุ่มนั้นห้ามใช้เสียงครับ แต่ให้ใช้สัญญลักษณ์นี้แทน


-หากไม่แน่ใจ ให้เขียนรูปสามเหลี่ยม แต่ในขณะที่ถามในกลุ่มนั้นห้ามใช้เสียงครับ แต่ให้ใช้สัญญลักษณ์นี้แทน




หมวดที่ 4 เรียกว่า S4 ซึ่งเป็น 4 จุดตรวจสอบมาตรการ / แผนงานก่อนปฏิบัติ อันเป็นการกลั่นกรองมาตรการที่มากเกินความจำเป็น (ปกติการแก้ปัญหาที่สาเหตุใดๆ สามารถมีหลายแนวทางครับ หากคิดได้มากก็จะยิ่งดี ประกอบด้วย

1.มาตรการเป็นรูปธรรม และปฏิบัติได้ หรือไม่?
2.สามารถทำสำเร็จในเวลาที่กำหนดหรือไม่?
3.มีผลลบต่อหน่วยงานถัดไป หรือลูกค้าหรือไม่?
4.สามารถปฏิบัติได้ต่อเนื่องในระยะเวลาที่ยาวนานหรือไม่?

เช่นกันครับ การตัดสินใจก็ใช้สามลักษณะดัง หมวดที่ 3 คือ ใช่ ไม่ใช่ ไม่แน่ใจ


เคล็ดลับนี้สำคัญมากครับ และช่วยให้กลุ่มแก้ไขปัญหา หรือกลุ่ม QCC ทำการแก้ไขปัญหาและพิจารณาได้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้นนั่นเอง บทความนี้ผมแนะนำว่าต้องนำไปใช้เลยนะครับ ฟันธง


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที