นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 15 ม.ค. 2015 08.20 น. บทความนี้มีผู้ชม: 503377 ครั้ง


วิชาฟิสิกส์ เป็นวิชาพื้นฐานของความรู้ในทางวิทยาศาสตร์มากมายหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น นักวิทยาศาสตร์, วิศวกร, แพทย์, ทหาร ฯลฯ
หนังสือเล่มนี้ จะกล่าวถึง 6 ภาคหลัก ๆ ได้แก่
1. กลศาสตร์คลาสสิก
2. ทฤษฏีสัมพันธภาพ
3. อุณหพลศาสตร์
4. แม่เหล็กไฟฟ้า
5. แสง
6. กลศาสตร์ควอนตัม

ส่วนในตอนท้ายจะกล่าวถึง ความรู้ทางปรัชญา ศาสนา นั่นก็คือมิลินทปัญหา (ฉบับธรรมทาน) เพื่อให้นอกจากจะมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์แล้ว ก็ยังมีความรู้ในทางปรัชญา ศาสนา ใช้เป็นแนวคิดของชีวิตได้ด้วย เพือเป็นการพัฒนาทางด้านจิตใจ
วัตถุประสงค์ที่ทำมาให้อ่านก็เพื่อความรู้ และที่สำคัญเพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้า ทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศพัฒนาแล้ว


ตอนนี้ยังเขียนไม่เสร็จ มีจำนวนเยอะมาก อีกทั้งยังต้องขัดเกลาให้อ่านได้ง่าย และมีงานที่ต้องรับผิดชอบด้วย จะพยายามเขียนให้อ่านกันเร็ว ๆ นะ แล้วเราจะเรียนรู้ไปด้วยกัน
www.thummech.com


9 การประมาณขนาด / ลักษณะของผู้ไม่กลับมาเกิด

1.5 การประมาณขนาด และลำดับการคำนวณ

 

      ถ้ามีคนถามว่า ในดีวีดีบลูเรย์ภาพยนต์แผ่นหนึ่งจะมีจำนวนข้อมูลกี่บิต? แน่นอน แต่ละแผ่นไม่สามารถบอกได้อย่างแม่นยำได้ ก็เพราะว่าขนาดข้อมูลในแต่ละแผ่น แต่ก็สามารถประมาณค่าเอาได้ ซึ่งสามารถแสดงออกมาเป็นตัวเลขในทางวิทยาศาสตร์ การประมาณค่าอาจทำได้โดยการจัดเรียงลำดับข้อมูลที่มีความสำคัญ ซึ่งเป็นเลขยกกำลังสิบได้ดังต่อไปนี้: 

 

1. การแสดงตัวเลขในทางวิทยาศาสตร์ พร้อมกับการคูณเลขสิบ ซึ่งยกกำลังระหว่าง 1 - 10 แล้วก็แสดงหน่วย

1 ´ 10n หน่วย

 

2. ถ้าตัวคูณน้อยกว่า 3.162 (รากที่สองของสิบ: Ö10) ลำดับความสำคัญของตัวเลขจะเป็น กำลังของสิบในทางวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าตัวคูณมีค่ามากกว่า 3.162 ลำดับของขนาดตัวเลขก็คือใหญ่กว่ากำลังของสิบในทางวิทยาศาสตร์

 

      เราใช้สัญลักษณ์ สำหรับลำดับของ ใช้ขั้นตอนข้างต้นในการตรวจสอบลำดับของขนาดดูได้จากตัวอย่างความยาวด้านล่าง:

 

0.0086 อยู่ในช่วง 10-2 m      0.0021 m อยู่ในช่วง 10-2 m     720 m อยู่ในช่วง 103 m 

 

      โดยปกติ เมื่อมีประมาณการลำดับขนาด จะทำผลลัพธ์ออกมาให้มีความน่าเชื่อถือ ก็ให้อยู่ในรูปแบบ การคูณกับสิบ (´10) และยกกำลังอะไรก็ว่ากันไปตามขนาด ถ้าปริมาณเพิ่มขึ้นลำดับตัวเลขก็มากขึ้นไปด้วย ยกตัวอย่าง 103 = 1,000; 106 = 1,000,000; 1012 = 1,000,000,000,000 เป็นต้น

 

ตารางการแปลงสำหรับหน่วยเมตริก

 

เป็น

มิลลิ-

เป็น

เซนติ-

เป็น

เดซิ-

เป็น

เมตร, กรัม, ลิตร

เป็น

เดกา-

เป็น

เฮกโต-

เป็น

กิโล-

กิโล-

´106

´105

´104

´103

´102

´101

 

เฮกโต-

´105

´104

´103

´102

´101

 

´10-1

เดกา-

´104

´103

´102

´101

 

´10-1

´10-2

เมตร, กรัม, ลิตร

´103

´102

´101

 

´10-1

´10-2

´10-3

เดซิ-

´102

´101

 

´10-1

´10-2

´10-3

´10-4

เซนติ-

´101

 

´10-1

´10-2

´10-3

´10-4

´10-5

มิลลิ-

 

´10-1

´10-2

´10-3

´10-4

´10-5

´10-6

 

 

                เมื่อเกิดความผิดพลาด และค่าที่ไม่ถูกต้องขึ้น มักจะเกิดจากการคาดการณ์ตัวเลขที่ต่ำเกินไป  ยกตัวอย่างตัวเลขจำนวนหนึ่ง จะทำการคาดเดาค่อย ๆ สูงขึ้น เพื่อให้เกิดความถูกต้องมากยิ่งขึ้น ในการจัดการทางคณิตศาสตร์ ควรมีตัวเลขคาดการณ์ให้น้อยที่สุดจะดีกว่า ทำให้สามารถดูได้ง่ายอีกด้วย 

 

ตัวอย่างที่ 1.4 เราหายใจกันกี่ครั้ง ในชั่วชีวิตคนเราตั้งแต่เกิด จนกระทั่งตาย 

 

วิธีทำ

 

สมมติว่ามนุษย์คนหนึ่งมีอายุถึง 80 ปี ค่าเฉลี่ยจากการหายใจของคนภายใน 1 นาที จำนวนการหายใจในแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน อีกทั้งกิจกรรมแต่ละกิจกรรมปริมาณการหายใจก็จะแตกต่างกันด้วย ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย, การนอนหลับ, โกรธ, สงบ และอื่น ๆ ดังนั้นเราจะทำการสมมติว่าใน 1 นาที จะมีการหายใจเฉลี่ยประมาณ 10 ครั้ง (ประมาณจากการทำกิจกรรมทั้งหมด แล้วหาค่าเฉลี่ย)    

 

ให้หาจำนวนประมาณของการหายใจในแต่ละปี ดังนี้

1 ปี ´ (365 วัน / 1 ปี) ´ (24 ชั่วโมง /1 วัน) ´ (60 นาที / 1 ชั่วโมง) = 525,600 นาที

 

 หาจำนวนของนาทีในการสมมติจำนวนอายุขัย 80 ปี

เมื่อมีอายุถึง 80 ปี จำนวนนาทีเท่ากับ 80 ปี ´ 525,600 นาที = 42,048,000 นาที

 

ดังนั้น การหายใจตลอดช่วงอายุขัย 80 ปี จะเท่ากับ

จำนวนของการหายใจมีค่าเท่ากับ (10 ครั้ง / นาที) ´ 42,048,000 นาที = 420,480,000 ครั้ง หรือประมาณ 4 ´ 108 ครั้ง

 

ดังนั้น คน ๆ หนึ่งที่มีอายุประมาณ 80 ปี จะมีการหายใจประมาณ 4 ´ 108 ครั้ง (400 ล้านครั้ง) ในช่วงตลอดชีวิต         ตอบ

 

 

ปัญหาพระยามิลินท์

 

ปัญหาที่ ๘ ลักษณะของผู้ไม่กลับมาเกิดอีก (มนสิการลักขณปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน ลักษณะแห่งโยนิโสมนสิการมีอย่างไร และลักษณะแห่งปัญญามีอย่างไร”

     

พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร โยนิโสมนสิการ

มีลักษณะยกขึ้น ปัญญามีลักษณะตัด”

     

: “ขอเธอ จงหาตัวอย่างมาเปรียบเทียบความต่าง แห่งลักษณะทั้ง ๒ นั้นให้ฟังที”

     

: “ขอถวายพระพร ชาวนาเขาเกี่ยวข้าวกันอย่างไร”

     

: “เขาก็เอามือขวาจับเคียวตะล่อนข้าวรวมกันเข้าเป็นกำ แล้วเอามือซ้ายจับกำข้าวขึ้น แล้วเขาก็ตัดกำข้าวด้วยเคียวนั้น”

 

รูปเปรียบกับชาวนากำลังเกี่ยวข้าว

     

: “นั่นแลฉันใด แม้ผู้ที่ฝึกฝนตนก็ฉันนั้นเหมือนกัน ใช้ความคิด

ความนึกยกเอาเหตุผลแห่งวิธีฝึกหัดทั้งหลายมารวมกันเพื่อไต่สวนใช้ความรอบรู้เป็นผู้ชี้ขาดว่า จะควรฝึกหัดด้วยวิธีอย่างไร จึงจะมีผล ขอถวายพระพร นี้แล เป็นความต่างแห่งลักษณะทั้ง ๒ นั้น”

 

จบมนสิการลักขณปัญหา

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที