พุทธิชัย

ผู้เขียน : พุทธิชัย

อัพเดท: 22 ธ.ค. 2006 16.29 น. บทความนี้มีผู้ชม: 212770 ครั้ง

เรียนเทคนิคการใช้ AutoCAD ด้วยการเรียนผ่านสื่อภาพเคลื่อนไหวแบบออนไลน์ ประหยัดเวลาและสะดวกด้วยตนเอง


เทคนิคการใช้ UCS กับงาน3มิติ

เทคนิคการใช้ UCS กับงาน3มิติ(AutoCAD 3 Dimension)

คราวนี้มาลองดูประโยชน์ของ UCS ในการทำงาน3มิติ ใน AutoCAD กันบ้างนะครับ เพราะงานออกแบบทางวิศวกรรม หรือสถาปัตยกรรมนั้นจะเข้าใจได้ง่ายและถูกต้องขึ้น ถ้าสามารถสร้างงานแบบ3มิติได้
 AutoCAD ทำงานบนระนาบแบบ2มิติเป็นพื้นฐาน ระนาบการทำงานเราเรียกว่า XY Plane หรือ ระนาบ XY หมายความว่าหากเราต้องการสร้างงานบนระนาบใดก็ตาม ต้องทำให้ระนาบ XY ไปขนานกับระนาบนั้นเสมอ ไม่ว่าระนาบนั้นจะเป็นงาน3มิติ หรือ2มิติก็ตาม

แล้วเราจะปรับ XY Plane ด้วยวิธีใด?

XY Plane มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ UCS
(แกน XYเดียวกัน) หากเราทำการหมุน UCS ให้ XY ไปขนานกับระนาบใด ก็เปรียบเสมือนนำเอา XY Plane ไปขนานกับด้านนั้นด้วย เมื่อทราบดังนี้แล้ว หากเราทำงานแบบ2มิติ ดูจะไม่ค่อยมีปัญหามากนัก เพราะเริ่มต้นมา UCS ก็ขนานกับระนาบพื้นที่ทำงานอยู่แล้ว เพียงแค่ปรับมุมหมุนรอบแกน Z ไปมาเป็นค่ามุมต่างๆเท่านั้น แต่สำหรับงาน3มิตินั้นแตกต่างกันออกไป เนื่องจากมีระนาบการทำงานเพิ่มขึ้นจากงาน2มิติ อย่างน้อยก็มีระนาบ YZ และ ZX เพิ่มขึ้นมาดังรูป

18414_UCS6.png

แสดงว่าระนาบในการทำงานเพิ่มขึ้นตามมาด้วย เนื่องจากงาน3มิติ มีรายละเอียดที่สามารถ เกิดขึ้นบนระนาบใดก็ได้ ตัวอย่างเช่น หากผมต้องการเจาะรูกลมบนระนาบ YZ แต่ขณะนี้ UCS ขนานกับระนาบ XY(สังเกตที่ไอคอน UCS) จึงไม่สามารถเจาะรูกลมบนระนาบ YZ ได้ จำเป็นที่จะต้องหมุนให้ UCS นำ XY มาขนานกับระนาบ YZ ก่อน

การหมุน UCS ในงาน 3 มิติ
หากต้องการหมุน UCS ในงาน 3 มิติ
ผมแนะนำให้ทำโมเดล UCS จำลองขึ้นมา วิธีง่ายๆคือการ นำแท่งดินสอสีไม้ 3 สี(ตามแกนx,y,z) มามัดกันเป็น3แกน เพื่อจะได้เห็นภาพชัดเจน เมื่อเราจะทำการหมุน UCS ดังรูป

18414_UCS7.png
ผมจะทดลองหมุน UCS ให้ X,Y ไขนานกับด้าน YZ ของรูปกล่อง3มิติตัวอย่าง

คำสั่งในการหมุน UCS คือคำสั่งที่มีชื่อว่า "UCS" (แนะนำให้ใช้การคีย์ เพราะรวดเร็วกว่า) เมื่อ enter คำสั่งแล้ว ไม่ว่าทางเลือกจะเป็นอย่างไร ผมใช้เทคนิคแบบ 3point(3จุด) ตามหลักการดังนี้
เมื่อป้อนคำสั่งแล้ว ให้พิมพ์ 3
(หมายถึง 3 จุด) ลงไปแล้ว enter จากนั้นกำหนดจุดตามลำดับดังนี้(ควรใช้ร่วมกับ Osnap )

จุดที่ 1 : จุดเริ่มต้น(Origin) ของ UCS
จุดที่ 2 : จุดปลายแสดงทิศทาง ของแกน X
จุดที่ 3 : จุดปลายแสดงทิศทาง ของแกน Z

ดังรูปนี้   18414_UCS8.png
จากรูปจะเห็นว่า UCS เปลี่ยนไปขนานกับระนาบที่ต้องการ ทำให้สามารถเจาะรู
ได้ผลดังรูป
18414_UCS9.png

ผมอยากให้ทุกท่านลองหมุน UCS ในด้านให้ครบทุกด้าน โดยใช้เทคนิคที่ผมแนะนำไว้ ก่อนที่จะไปทำนในขั้นตอนต่อไป


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที