ทีมงาน

ผู้เขียน : ทีมงาน

อัพเดท: 22 ธ.ค. 2015 03.58 น. บทความนี้มีผู้ชม: 63658 ครั้ง

Union of Japanese Scientists and Engineers (JUSE) ได้ทำการรวบรวมชีวประวัติของท่าน ศาสตราจารย์ ดร.คาโอรุ อิชิกาว่า เป็นบทความภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ฟรีทาง http://www.juse.or.jp และทางสมาคมฯ ได้คัดบทความบางส่วนมาแปลเป็นภาษาไทยและเผยแพร่ใน Website ของสมาคมฯ ซึ่งท่านสามารถติดตามอ่านและดาวน์โหลดเอกสารฟรีได้ที่ http://www.tpa.or.th


บทที่ 2 : ความโศกเศร้าต่อการถึงแก่กรรมของศาสตราจารย์อิชิกาวา (Laminating the Death of Prof. Kaoru Ishikawa: Articles of Condolence in Magazines, Convention Memorandums, Newspapers,etc.)

Reports of Statistical Application Research, JUSE
“ความโศกเศร้าต่อการถึงแก่กรรมของศาสตราจารย์อิชิกาวา”(Lamenting the Death of Prof. Ishikawa)

Tadakazu  Okuno

ศาสตราจารย์ คะโอรุ อิชิกาวา  หัวหน้าบรรณาธิการ ของ the Reports of Statistical Application Research, JUSE  ถึงแก่กรรม ในวันที่ 16 เมษายน 1989   นี่เป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของสังคมที่ดำเนินการ การควบคุมคุณภาพ  และ ข้าพเจ้า ของแสดงความเสียใจอย่างจริงใจต่อผู้จากไป

ในปี 1949  ท่านและ มิตรสหายหลายคน  ได้เริ่มกิจกรรมความร่วมมือ ในการวิจัย เกี่ยวกับ การควบคุมคุณภาพ และได้เริ่มการตีพิมพ์เป็นรายงานภาษาอังกฤษนี้ ครั้งแรก ในปี 1953   ต่อมาในปี 1959 ท่านได้มาเป็นหัวหน้าบรรณาธิการ รับช่วงต่อ จาก ศาสตราจารย์ T. Kawata    จากนั้นมา ท่านได้รับหน้าที่ดูแลกองบรรณาธิการ นี้ เป็นเวลา 30ปี

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  การแนะนำการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ มาสู่อุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เป็นแรงจูงใจที่สูงส่งต่อการตีพิมพ์ของ  the Reports นี้   สาขาทางด้านสถิติ ได้ดึงดูดนักสถิติญี่ปุ่น  ในช่วงชีวิตงานช่วงแรกของพวกเขา ด้วย แรงจูงใจที่รุนแรง

การทำคุณประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของ ดร. อิชิกาวา ในฐานะหัวหน้าบรรณาธิการ  คือการช่วยให้นักวิจัยญี่ปุ่น สามารถตีพิมพ์บทความเป็นภาษาอังกฤษ  ดังนั้น สมาคมวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ จึงได้นำเสนออย่างเสมอภาพ ต่อ กิจกรรม QC ของญี่ปุ่น   ความตั้งใจของท่าน ได้สร้างให้มีจำนวนบทความเพิ่มมากขึ้น ที่ได้รับการตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการต่างประเทศ โดย นักสถิติญี่ปุ่น    the Reports  ได้ถือกำเนิดขึ้น ในฐานะการสิ่งพิมพ์ระหว่างประเทศ   ซึ่งได้รับการยอมรับว่า มีการสร้างคุณประโยชน์ในต่างประเทศ อย่างเหมาะสม

Reports นี้ ช่วงเริ่มแรก มีความตั้งใจ ในการตีพิมพ์ใน  Section A ของบทความวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับ ทฤษฎี และวิธีการทางสถิติ  และ ใน Section B ของรายงาน เกี่ยวกับกิจกรรม QC ทางอุตสาหกรรม ที่ ครอบคลุม  application เริ่มแรกของ วิธีการทางสถิติ  ซึ่ง ได้รับการส่งเสริมเป็นการพิเศษโดย ท่านอิชิกาวา   ตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา  กิจกรรม QC ของญี่ปุ่น  ได้เข้าสู่ ขั้นเสริมสร้าง   หรือ Total Quality Control (TQC) นั้น เกี่ยวข้องกับ สมาชิกทุกคนของสถานประกอบการตั้งแต่ ผู้บริหารระดับสูง จนถึงพนักงาน   กิจกรรม TQC ได้มี ผลกระทบที่เห็นได้ชัดต่อ QC ในต่างประเทศ    ต่อมา ท่าน อิชิกาวา ได้ สร้าง Section C  ให้แก่ the Reports ในส่วน ที่เกี่ยวข้องกับ กิจกรรม TQC  รวมถึงกิจกรรม QC Circle และ การนำไปใช้ประโยชน์ทั่วทั้งอุตสาหกรรม ของ วิธีการทางสถิติ

การทำคุณประโยชน์ของท่าน ในฐานะหัวหน้าบรรณาธิการ นั้น ล้วนเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่  อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ถูกบดบังจนดูเล็กไป ด้วยกิจกรรม บุกเบิกของท่าน ในการควบคุมคุณภาพ    เขาให้สัญญาเป็นการส่วนตัว  ต่อการขยายตัวของ การควบคุมคุณภาพแบบญี่ปุ่นในต่างประเทศ  ระหว่างช่วงปี 1980 กิจกรรมระหว่างประเทศของท่าน ได้ขยายไปถึง กว่า 30 ประเทศ ดังนั้น ท่านจึงเป็นภาพสัญลักษณ์ของกิจกรรม QC ในสไตล์ญี่ปุ่น

ท่านนำเสนอ และ มีความเชื่อว่า

สิ่งสำคัญที่ท่านอิชิกาวาได้ทำมา สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

  1. การนำเสนอกิจกรรม  QC Circle ในปี 1962
  2. การก่อตั้ง “Quality Month”  ในปี 1960
  3. การจัด  symposia  และ conferences เกี่ยวกับ QC  ที่หลากหลาย

ท่าน ได้รับตำแหน่ง ประธานของ คณะกรรมการโปรแกรม ต่างๆ หลายครั้ง   ในการ เริ่มต้น  International Conferences on Quality Control (ICQC)   และ International Convention of QC Circle (ICQCC) ในประเทศญี่ปุ่น ต่อไปนี้ เป็น การเกียรติประวัติ ที่ท่านได้รับ

หมายเหตุ: คณะกรรมการ บรรณาธิการร่วม ได้เลือก Tadakazu  Okunoเป็น หัวหน้าบรรณาธิการในเดือน สิงหาคม ปี 1989    หัวหน้าบรรณธิการผู้รับช่วงต่อ ได้ นำเสนอ การยึดถืออย่างต่อเนื่องของแนวนโยบายทางอดีต หัวหน้าบรรณาธิการ ในการส่งเสริม สถานะระหว่างประเทศของ the Reports


 

การประชุมประจำปีของ American Society for Quality Control , Toronto, 1989
“คำสรรเสริญ ต่อ ศาสตราจารย์ คะโอรุ อิชิกาวา ผู้ล่วงลับ”

William A. Golomski

ประมาณ 1เดือนก่อน  เพื่อคนหนึ่งจากญี่ปุ่น ได้แจ้งให้ข้าพเจ้าได้รู้ว่า ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้ถึงแก่กรรมแล้ว  และได้รับการแจ้งรายละเอียดอย่างเป็นทางการ จาก the Union of Japanese Scientists and Engineers   ในวันที่ 16 เมษายน ปี 1989  ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้เสียชีวิตจาก เลือดออกในสมอง   พิธีศพของท่าน ได้จัดขึ้นในวันที่ 24 เมษายน ที่ Zosoji  Temple ใน Tokyo ซึ่ง  คุณ Douglas Ekings ประธานของ American Society for Quality Control ได้เป็นตัวแทนของสมาคม เข้าร่วมพิธีด้วย

ศาสตราจารย์ อิจิกาวา ได้รับ ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จาก University of Tokyo ในปี 1958 ในสาขา applied chemistry

อะไร ทำให้ศาสตราจารย์อิชิกาวา มีชื่อเสียง   เพราะว่า ท่าน ได้สร้าง แนวคิด ความสัมพันธ์ระหว่าง customer-vendor ภายในบริษัทหรือ  หรือว่า เพราะว่า ความสำเร็จในเรื่อง การ sampling สำหรับวัตถุจำนวนมาก   หรือว่า เพราะว่า ความคิดสร้างสรรค์ของท่านในเรื่อง the cause and effect diagram ซึ่งเป็นที่รู้จักการในนาม Ishikawa Diagram  ศาสตราจารย์อิชิกาวาเป็นหนึ่งในจำนวนไม่กี่คนที่เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของ American Society for Quality Control  ท่านได้เป็น  President ของ International Academy for Quality and Executive Member of ISO, Japan    ท่านมีชื่อเสียงเพราะตำแหน่งเหล่านี้หรือ  แน่นอน นี่เป็นเพียงบางเหตุผลเท่านั้น  แต่สำหรับความเห็นของข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าคิดว่า สิ่งที่สำคัญกว่า คือ การทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ของท่านต่อการปรับปรุงคุณภาพ ซึ่ง ลดความสูญเสีย ทั้งความพยายามและ วัตถุ   ขอขอบคุณท่าน ที่ทำให้พวกเราสามารถปรับปรุงมาได้อย่างยาวนาน   ในความเป็นจริงแล้ว ศาสตราจารย์อิชิกาวา รู้ว่า อะไรคือสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ

หลังจากที่ท่านเกษียณจาก การเป็นศาสตราจารย์ของ University of Tokyo ในปี 1976 ดูเหมือนว่า เป็นสิ่งที่ดีสำหรับท่านที่จะได้ใช้เวลาของท่านในการพักผ่านหลังเกษียณ   อย่างไรก็ตาม ท่านไปสอนที่ Science University of Tokyo อีก 2 ปี ซึ่งระหว่างนั้น ท่านยังได้ทำกิจกรรมอย่างหลากหลายกว้างขวาง ในต่างประเทศ  ท่านเคยกล่าวไว้ว่า คนญี่ปุ่นต้องการแสดงความกตัญญูอย่างแท้จริง ต่อ การช่วยเหลือที่พวกเขาได้รับจาก สหรัฐอเมริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ขอขอบคุณกิจกรรมทั้งหลายของศาสตราจารย์อิชิกาวา นั่นคือ ความยากจนที่ลดลง  ประชาชนสามารถเข้าใจปัญหาในงานของเขา คนงานเริ่มมีความสนใจในงานของเขา  ประชาชนเริ่มอุทิศให้กับงานมากขึ้น และ หันมาทำงานหนักขึ้น  ต้องขอขอบคุณสิ่งที่ศาสตราจารย์อิชิกาวาได้พูด และวิธีการต่างๆ ที่ท่านสอน และนำมาใช้

ในปี 1978 ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้ลาออกจาก Science University of Tokyo และย้ายไปเป็น อธิการบดี ของ Musashi  Institute of Technology ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ท่านดำรงอยู่จนกระทั่งถึงแก่กรรม

ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้อุทิศให้กับงานของท่านอย่างเต็มที่เสมอ  ตัวอย่างเช่น เมื่อท่านได้มาเยี่ยมอเมริกาเหนือ  ท่านไม่ต้องใช้ความพยายามมากนักในการตัดสินใจช่วยเหลือคนจำนวนมาก  ท่านมีความรู้ที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ และ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอยู่แล้ว    ทักษะและความคิดสร้างสรรค์ของท่าน ยังคงฝังอยู่ในความทรงจำของข้าพเจ้า  เราขอขอบคุณความเอื้ออาทรของท่านที่ได้มอบให้เราที่บ้านท่าน  ท่านไม่เพียงแต่เป็นบุคคลที่สามารถพูดหลายๆ สิ่งหลายอย่างได้ เช่น “คุณไม่ต้องทำงานให้หนักจริงๆ หรอก   คุณควรจะดูดีเวลาทำงาน”  ท่านได้ต่อสู้กับการทำงานหนัก อย่างจริงจัง อยู่เสมอ   เพราะว่า การทำงานหนัก เคยเป็นอะไรบางอย่างที่จำเป็น ในการทำให้ญี่ปุ่น บรรลุถึง คุณภาพที่ดีที่สุดของโลก

ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้รับการรำลึกอยู่เสมอ สำหรับการทำคุณประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ ในการปฏิบัติ Quality Control   ข้าพเจ้าเจตนาที่จะใช้คำว่า Quality Control ณ ที่นี้ เพราะนี่คือ Japanese-style Total Quality Control ที่ท่านมักจะพูดถึงอยู่เสมอ

ศาสตราจารย์อิชิกาวา  ท่องเที่ยวไปทั่วโลก เข้าร่วม  การประชุมวิชาการเรื่องคุณภาพ  พวกเราหลายๆ คน เฝ้าคอยที่จะพบท่าน  guru  ท่านนี้อยู่ ทุกๆ ปี

ข้าพเจ้า พร้อมกับครอบครัวของท่าน  มิตรสหายจากมหาวิทยาลัย และเพื่อนๆ จาก Union of Japanese Scientists  and Engineers ,  Japan Society for Quality Control   ขอไว้อาลัยต่อการถึงแก่กรรมของศาสตราจารย์อิชิกาวา และในขณะเดียวกัน ขอแสดงความขอบคุณ ที่พวกเรา ได้รับสิทธิพิเศษ ที่ได้เคยอยู่ร่วมกับท่าน

เพราะ ศาสตราจารย์อิชิกาวา  พวกเราจึงได้พัฒนาได้  เราจะก้าวต่อไปอย่างต่อเนื่อง ตามรอยของท่านที่ได้ให้ไว้ และนำธงนี้ สำหรับการพัฒนาของเรา  เราจะทำให้สำเร็จให้ได้

ขอให้เรายืนขึ้น และ อธิษฐานอย่างสงบ

ขอบคุณมากครับ

(President, W.A. Golomski& Associates; Former President, ASQC; Member, IAQ)

หมายเหตุ :  คำไว้อาลัยนี้ ได้อ่านในวันที 8 พฤษภาคม 1989 ใน ช่วงเริ่มต้นของพิธีเปิดของ การประชุมทั่วไป ของ American  Society for Quality Control, ที่ Toronto   มีผู้เข้าร่วมประมาณ 3000 คน ได้ยืนไว้อาลัยและแสดงความเคารพอย่างสงบ ในทุกๆ โอกาส     Mr. Golomski ผู้มีบทบาทโดดเด่น ในเรื่อง การควบคุมคุณภาพ ใน อเมริกา เป็นอาจารย์พิเศษที่  Chicago Institute of Technology   และ Illinois Institute of Technology  เป็นเพื่อนที่สนิทของศาสตราจารย์อิชิกาวา มากว่า 30 ปี


 

Hinshitsu (Journal of the Japanese Society for Quality Control)
“ความโศกเศร้าต่อการถึงแก่กรรมของศาสตราจารย์อิชิกาวา”(Lamenting the Death of Prof. Ishikawa)

The Board of Directors

Japanese Society for Quality Control

ศาสตราจารย์คะโอรุ อิชิกาวา ได้พักฟื้นจาก การผ่าตัดลำไส้ ซึ่งท่านได้ป่วยมาตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 1988  ท่านได้มีสุขภาพที่ดีขึ้นตามลำดับ  แต่ท่านก็ต้องประสบกับภาวะเลือดออกในสมอง และ ได้ถึงแก่กรรม

ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้ป่วยมาก่อนหน้านี้  ก่อนที่ท่านจะเกษียณจาก University of Tokyo  แต่หลังจากนั้น ท่านได้ฟื้นจากป่วยอีกครั้งคล้ายกับ นกphoenix   หลังจากนั้น เป็นเวลากว่า 10 ปี ท่านได้มาเป็น อธิการบดีของMusashi  Institute of Technology  ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญ  ในขณะเดียวกัน ได้ อุทิศตนในการสอน advancement of quality control และ ให้คำปรึกษาอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย เหมือนกับท่านยังเป็นคนหนุ่มอยู่  พวกเราได้หวังว่าท่านจะมีสุขภาพที่ดีอีกครั้งเหมือนก่อน   จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียใจและโศกเศร้าอย่างมากสำหรับเรา ว่า เรื่องที่เราหวังนั้นไม่ได้เกิดขึ้น  ถึงแม้ว่า เราจะรู้ซึ้งว่า  การจากไป เป็นวาระสุดท้ายที่มีกับทุกๆ คน

ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้อุทิศตัวท่านอย่างมากให้กับการพัฒนาของ การควบคุมคุณภาพ ในญี่ปุ่น  ด้วยใจที่กว้างและ ด้วยความมุ่งมั่นอดทน ท่านได้สร้างระบบการควบคุมคุณภาพให้เกิดขึ้นในญี่ปุ่น  ไม่มีใครสามารถปฎิเสธความยิ่งใหญ่ของท่านในฐานะผู้นำ และ ศาสตราจารย์  ได้แต่เพียงว่า  “ดวงดาวที่ยิ่งใหญ่ ได้ลับไปแล้ว”

ในช่วงเวลาที่เราต้องพบกับความท้าทายในการนำเอาการปฏิรูป เข้ามาในการควบคุมคุณภาพ การจากไปของท่านสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของ อุตสาหกรรมญี่ปุ่น  เราได้เพียงแต่โศกเศร้าที่การจากไปของท่าน ได้พรากเราจากการดูแลของท่าน

ศาสตราจารย์อิชิกาวา ไม่ได้สนใจมากเกี่ยวกับ การถกเถียงด้วยคำพูด   ท่านไม่ยึดติดกับการถกเถียงว่า อะไรคือ TQC อะไรคือ การประกันคุณภาพ  ท่านค้นหา และค้นพบสิ่งที่บริษัทต้องการ ในสถานที่ทำงานจริง  ซึ่งเป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่นต้องการ และเป็นสิ่งที่โลกต้องการ  ท่านนำเอาสิ่งที่ค้นพบ ไปทำการปฏิบัติ  ท่านสาธิตให้เห็นในการพิสูจน์จริงว่า ในการควบคุมคุณภาพนั้น การปฏิบัติจะต้อง มีความสำคัญมากกว่าทฤษฎี    กิจกรรมควบคุมคุณภาพ ซึ่งตามประเพณีแล้ว มีเพียงวิธีการทางเทคนิค ของการควบคุมการผลิต เช่น control diagrams และ sampling inspection   ปัจจุบันได้เป็นส่วนสำคัญที่สุด ของกิจกรรมธุรกิจ   ในปัจจุบัน จากการวางแผนการผลิต ผ่าน การออกแบบ  การผลิต ไปจนถึง การบริการหลังการขาย ทุกคนในบริษัท ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง จนถึงผู้ปฏิบัติงานระดับหน้างาน  เข้าร่วมในกิจกรรมเกี่ยวกับคุณภาพ  ความก้าวหน้าในการควบคุมคุณภาพ นำนวัตกรรม มาสู่ ทักษะการบริหารธุรกิจตามประเพณีปฏิบัติ  เมื่อเรามองย้อนกลับถึง ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของ ศาสตราจารย์อิชิกาวา   ผู้ที่ต้องติดตาม รอยเท้าของเขา จะรู้สึกถึงอย่างหนักหน่วงของภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบ ในการธำรงรักษา และพัฒนางานที่ท่านได้ทำมา

ศาสตราจารย์อิชิกาวา  เป็นหนึ่งในผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ซึ่ง แบกรับการสร้างเศรษฐกิจของ ญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2   ท่านได้ทำงานอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย จนกระทั่งท่านได้จากไป   เราขออธิษฐานให้ดวงวิญญาณของท่าน จงไปสู่สุขคติ  ศาสตราจารย์อิชิกาวาขอ จงพักผ่อนอย่างสงบ  ท่านได้ทำงานมาหนักพอแล้ว

หมายเหตุ:  Hitoshi Kume, Hinshitsu, Vol. 19, No. 2, 1989


 

Quality Progress (Journal of The American Society for Quality Control)
ในการรำลึกถึง ดร. คะโอรุ อิชิกาวา ผู้ก่อตั้ง คุณภาพ (in Memoriam: Dr. Kaoru  Ishikawa:Quality Organizer)

Ms. Nancy A. Karabatsos

“เมื่อข้าพเจ้ามองย้อนกลับที่ชีวิตข้าพเจ้า พร้อมกับ QC    สิ่งต่อไปนี้ ได้กลายเป็นความหวังและ คำอธิษฐาน:  ขอให้ QC และกิจกรรม QC Circle แผ่ขยายไปสู่ทุกแห่งหนในโลก ขอให้คุณภาพทั่วทั้งโลก จงพัฒนาปรับปรุง  ขอให้ต้นทุนนั้นต่ำลง ขอให้ประสิทธิภาพการผลิต ดีขึ้น  ขอให้วัตถุดิบและพลังงานมีการประหยัด  ขอให้ประชาชนทั่วโลกจงมีความสุข และ ขอให้ โลก จง รุ่งเรืองและมีสันติภาพ”    ดร.คะโอรุ อิชิกาวา ได้เริ่มหนังสือที่เป็นสัญลักษณ์ ด้วยคำพูดที่ว่า   What is Total Quality Control ?  The Japanese Way  และด้วยคำพูดเหล่านี้  ลูกศิษย์ และ มิตรสหายของท่าน จะยังระลึกถึงท่านอยู่เสมอ

ถ้าคุณเคยได้ใช้ cause –and – effect diagram (หรือที่เรียกว่า fishbone หรือ Ishikawa diagram) หรือถ้าคุณเคยเป็นส่วนหนึ่งของ Quality Control Circle คุณจะอยู่เป็นส่วนหนึ่งของมรดกที่ ดร.อิชิกาวา ทิ้งให้กับคนข้างหลังทั่วโลก มันเป็นเจตนารมณ์ของท่าน ที่ต้องการให้คนในทุกระดับ และในทุกอุตสาหกรรม สามารถใช้ เครื่องมือที่ง่าย ในการทำงานร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหา และ กำจัดสิ่งกีดขวางในการปรับปรุง  การร่วมมือ และการศึกษา

ความพยายามของท่านต่อวิสัยทัศน์ของท่าน นำท่านมาสู่เกียรติยศที่สูงส่ง: นั่นคือ Deming Prize,  Second Class Order of the Sacred Treasure in Japan,  Grant Award,  Shewhart Medal,  Honorary Member ของ American Society for Quality Control

หลังจากจบการศึกษาจาก University of Tokyo ในปี 1939  ดร.อิชิกาวาได้ ทำงาน ในระยะสั้นๆ ที่ Nissan Liquid Fuels Co., Ltd. ก่อนเข้าสู่กองทัพเรือของญี่ปุ่น ในฐานะ เจ้าหน้าที่วิศวกรรมพิเศษ ท่านได้เข้าร่วมในกลุ่มวิจัยการควบคุมคุณภาพ ของ Union of Japanese Scientists and Engineers (JUSE)  ในปี 1949 พร้อมกับทำงานในฐานะผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่ University of Tokyo   ในเรื่องWhat is Total Quality Control? The Japanese Way  นั้น ดร.อิชิกาวาอธิบายว่า ท่านได้ยินชื่อของ JUSE และต้องการใช้ ข้อมูลการวิจัยทั้งหลาย สำหรับงานของท่านที่มหาวิทยาลัย   “ที่นั่น Mr. Kenichi  Koyanagi , senior managing director ของ  JUSE  ยืนยันว่า  ถ้าข้าพเจ้าไม่ร่วมในกลุ่มวิจัย  QC  และเป็นหนึ่งในวิทยากร แล้ว  เขาไม่สามารถอนุญาต ให้ข้าพเจ้าใช้ข้อมูลเหล่านั้นได้   คำตอบของข้าพเจ้า ง่ายมาก “คนมาใหม่จะเป็นวิทยากร ได้อย่างไร? “  แต่ Mr. Koyanagi กลับชักชวนว่า “เราเพิ่งจะเริ่มต้น  ไม่ต้องห่วงหรอก”   ข้าพเจ้าถูกบังคับให้เข้าร่วมกิจกรรม QC ด้วยวิธีนี้  เมื่อข้าพเจ้าได้เริ่มศึกษาวิธีการทางสถิติ และ QC ข้าพเจ้าก็รู้สึกติดใจสิ่งเหล่านี้  สิ่งเหล่านี้ได้สร้างคุณประโยชน์ อย่างมาก ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น “

ดังนั้น ดร.อิชิกาวา จึงได้กลายเป็น หนึ่งในจำนวนผู้บุกเบิก ในกิจกรรม QC ในญี่ปุ่น ท่านได้เกี่ยวข้องกับหลักสูตรเกี่ยวกับคุณภาพทั้งหมด ที่เสนอโดย JUSE และยังมองเห็นว่า หลักสูตรเกี่ยวกับคุณภาพ นั้นสามารถนำเสนอต่อ ฝ่ายจัดซื้อและฝ่ายขายได้   ท่านได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วสำหรับงานของท่าน เมื่อท่านได้รางวัล Deming Prize ในปี 1952 ร่วมกับกลุ่ม วิจัยการควบคุมคุณภาพ

ปี 1943  ดร.อิชิกาวา ได้พัฒนา cause-and-effect diagram เป็นครั้งแรก  ในหนังสือของท่าน “Guide to Quality Control”   ท่านได้อธิบายว่าเคยได้ใช้ diagram นี้ ช่ายงานพนักงานที่ Kawasaki Steel Works  ในการวิเคราะห์ และทำความเข้าใจปัญหา   ซึ่ง diagram นี้  ส่วนใหญ่มักเรียกว่า fishbone diagram (ผังก้างปลา) เพราะมีรูปทรงคล้ายๆ กับ ก้างของปลานั่นเอง  ใช้สำหรับ ค้นหาต้นตอของปัญหา ที่มาจาก วัสดุ  วิธีการ  เครื่องจักร(อุปกรณ์) และ วิธีการวัด ( materials, methods, machines, measurement)  จากนั้น ได้มีการขยายตัวไปทั่วโลก และใช้กันอย่างสม่ำเสมอโดยคนที่ทำงานทั้งในอุตสาหกรรมการผลิต และบริการ

ท่านมีความเชื่อว่า “QC เริ่มต้นด้วยการปฏิสัมพันธ์ของคน”  และ สิ่งที่ปรากฏเป็นผลลัพธ์ที่กว้างขวางของ ปรัชญาดังกล่าวก็คือ การใช้กันอย่างทั่วโลก เรื่อง Quality Control Circle (หรือ Quality Circle)  ท่านและงานของท่านที่ JUSE เริ่มต้นโดยการใช้ แนวคิดการเน้นทีมเวอร์ค (teamwork-oriented concept) ในช่วงต้นทศวรรษ 1950  ในเดือนเมษายน ปี 1962 วารสารญี่ปุ่น  Genba  To QC-magazine ได้ตั้งชื่อแนวคิดนี้อย่างเป็นทางการว่า “QC Circle”  จากนั้นมา ดร.อิชิกาวา ต้องมีความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ ผ่านสิ่งพิมพ์ และการแนะนำเป็นส่วนตัวของท่าน  ในการขยาย ความคิด circles ดังกล่าว ไปทั่วโลก

การขยายตัวของ circles สร้างความแปลกใจอย่างมากให้แก่ท่าน  เพราะมันเป็น พรอันประเสริฐสำหรับผู้ซึ่งได้ใช้แนวคิดนั้น  ในหนังสือ “Quality Control Circles at Work”  ดร.อิชิกาวา ได้กล่าวไว้ใน บทนำว่า   “...ความเคลื่อนไหวของ QC มักจะได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจาก สิ่งที่แตกต่างในแบบญีปุ่น เช่น ผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ  สหภาพแรงงานในบริษัท และ ระบบค่าจ้างตามระดับอาวุโส  การจ้างงานตลอดชีพ  ธรรมเนียมประเพณีศาสนาแบบญี่ปุ่น และ ปัจจัยอื่นๆ   แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สำคัญที่สุด  ในช่วงแรก ข้าพเจ้ามีสมมุติฐานว่า ประเทศที่ไม่ใช่ตะวันออก ซึ่งไม่มีศานาพุทธ หรือ ลัทธิเต๋า จะไม่สามารถเข้าถึง กิจกรรม QC Circle  ได้  อย่างไรก็ตาม เร็วๆ นี้ ข้าพเจ้าได้พบการพัฒนากิจกรรม QC Circle ประสบความสำเร็จ ในประเทศต่างๆ กว่า 40 ประเทศทั่วโลก รวมทั้ง ประเทศตะวันตกหลายๆ ประเทศ  สิ่งนี้ได้เปลี่ยนทัศนะคติของข้าพเจ้า และบังคับให้ข้าพเจ้าสรุปว่า กิจกรรม QC Circle นี้ สามารถนำมาใช้ประสบความสำเร็จได้ไม่ว่าที่ใดในโลก โดยเพียงแต่ ปรับเล็กน้อยให้เข้ากับสภาพการท้องถิ่นเท่านั้น  ธรรมชาติของมนุษย์จะเหมือนกันทุกแห่งในโลก และ กิจกรรม QC Circle ก็สามารถปรับใช้ได้ในทุกๆ ที่ที่ ให้ความเคารพความเป็นมนุษย์

ลูกศิษย์และมิตรสหาย ดร.อิชิกาวา จดจำท่านได้ในฐานะผู้สนับสนุนและ เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งได้ส่งเสริมผู้ปฏิบัติงานให้ใช้วิธีการง่ายๆ  ในการแก้ไขปัญหา ท่านได้ แนะนำให้ใช้สิ่งที่เรียกว่า seven tools ซึ่งได้แก่ cause-and-effect diagram, histogram, check sheet, Pareto chart, control chart, scatter diagram, และ graphs  ท่านได้กล่าวถึงเครื่องมือเหล่านี้ว่า สามารถแก้ไขปัญหาได้ทุกอย่าง  Dr.  Noriaki  Kano แห่ง Science University of Tokyo ได้กว่าว่า “ผมใช้เวลาถึง 20 ปี ในการทำความเข้าใจ”   “จากสายตาของนักศึกษาคนหนึ่ง มันไม่น่าสนใจเลย –seven tools นี้ ง่ายเกินไป” แต่ ท่านกล่าวว่า คุณสามารถใช้ในการแก้ไขปัญหา ได้ถึง 95 %” 

ดร.อิชิกาวา ยังได้รับการยอมรับว่า เป็นสมาชิกสำคัญในยุคของการปฏิรูปในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของญี่ปุ่น ศาสตราจารย์ Yoshio Kondo ศาสตราจารย์เกียรติคุณของ Kyoto University ได้กล่าวถึง ดร. อิชิกาวา ว่า มีบทบาทที่สำคัญในการศึกษา American method  และ ช่วยเหลือ คนญี่ปุ่นในการปรับ สิ่งเหล่านั้นให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของญี่ปุ่น    ความรู้ของท่าน  สร้างแรงดลใจให้กับลูกศิษย์ของท่าน   ศาสตราจารย์ Kondo ได้พบ ดร.อิชิกาวา ใน SAC seminar ในปี 1951  เขาได้กล่าวว่า “ผมตื่นเต้นมาก – เขารู้ทุกๆ เรื่องเลย”

สุดท้ายนี้ ดร. อิชิกาวา ได้รับการจดจำในฐานะ ผู้สนับสนุนที่ยิ่งใหญ่ของ ผู้เชี่ยวชาญ QC ในญี่ปุ่น ท่านเชื่อว่า ญี่ปุ่นจะได้รับประโยชน์อย่างมาก มันเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้เชี่ยวชาญในการประสาน ความพยายามของเขาทั้งหลาย ที่แทนที่จะยืนอยู่คนเดียว  Dr. Noriaki Kano ใช้คำพูดที่ว่า “เขาดื่มทั้งน้ำที่สะอาดและเปื้อนโคลน” เพื่อเน้นอธิบายถึงทักษะ ของดร.อิชิกาวา ในการทำให้คนทั้งหลายมาร่วมมือกัน เขาอธิบายว่า สะอาดนั้นคือ วิธีการ หรือ สถานการณ์ ที่ดี และง่าย “อีกสิ่งหนึ่ง คือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางการเมือง หรือ ความไม่ชอบกันระหว่างคน”  ดร.อิชิกาวา เป็น master ของทั้ง 2 กรณี

มิตรสหายของ ดร.อิชิกาวา ต้องการเล่าเรื่อง ในส่วนที่น่ารัก ของท่าน  เมื่อถามว่า เราจำ ดร.อิชิกาวา อย่างไร  ศาสตราจารย์ Yoshio Kondo ตอบว่า  “เข้าชอบ สาเก  ทุกเที่ยงคืนทุกที”  Dr. Noriaki Kano กล่าวว่า “เข้าไม่ใช่คนที่น่ากลับ เขาเป็นคนที่ยิ่งใหญ่ในหมู่มวลมนุษย์”

(Editor of Quality Progress, ASQC)

หมายเหตุ:   Quality Progress,  June, 1989


 

 

 

The Asahi shimbun (Japanese newspaper): 
“บิดาแห่ง QC ญี่ปุ่น  ศาสตราจารย์อิชิกาวา มุ่งเป้าหมายที่ นวัตกรรมการบริหาร”
“Father of Japanese QC, The Late Prof. Ishikawa

Aimed at Managerial Innovation”

คะโอรุ อิชิกาวา อธิการบดีของ Musashi Institute of Technology (ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์  University of Tokyo และเป็นพี่ชายของ Rokuro Ishikawa  ประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น) ถึงแก่กรรม  ท่านเป็นนักเขียนระดับโลก และ เป็นผู้สร้างสรรค์แนวคิดของ Total Quality Control (TQC) ในญี่ปุ่น  ซึ่งได้เปลี่ยน  “Made in Japan” ไปเป็นคุณภาพที่ดีที่สุดในโลก  ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้อุทิศในการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต โดยอธิบายเสมอว่า การปรับปรุงคุณภาพนั้น เป็นสิ่งที่นำไปสู่ การลดต้นทุน และ ผู้บริหารระดับสูง ต้องเป็นผู้นำในกิจกรรม QC

เทคนิคของการควบคุมคุณภาพ ได้รับการแนะนำสู่ญี่ปุ่น จากอเมริกาโดยตรงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ในช่วงนั้น พวกเขาให้เฉพาะเทคโนโลยีการบริหารที่นำไปใช้ได้กับ พื้นที่การผลิต และ วิธีการควบคุม ที่อยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่า ผู้ปฏิบัติงาน ทำให้เกิดความผิดพลาด และ พยายามแก้ไขอย่างง่ายๆ   อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้พยายามค้นหาระบบที่เหมาะสมกับวัฒนธรรม และ อุปนิสัยของคนญี่ปุ่น   ท่านได้สร้างสรรค์ระบบ Total Quality Management  ซึ่งเกี่ยวข้องกบ การสร้าง กลุ่มหน้างานขนาดเล็ก หรือ  “circles” ซึ่งสมาชิกนั้น จะสร้างข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ  สมาชิกทุกคนของบริษัทจะ เข้าร่วมในระบบ

ในปี 1960 เมื่อ บริษัท Nisson Motor  ได้รับ Deming Prize  ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับการควบคุมคุณภาพ ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้ไปเยี่ยมโรงงาน   ท่านโกรธมากเมื่อพบว่า การแนะนำ นั้น ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของทีมงาน  ท่านได้เรียกตัวประธาน  คุณ Katsuji Kawamata ผู้ล่วงลับ  รวมทั้ง กรรมการท่านอื่น พร้อมกับ ต่อว่า อย่างรุนแรง  เหตุการณ์นี้ แสดงให้เห็นว่า TQC ของศาสตราจารย์อิชิกาวา ไม่เป็นเพียงการฝึกหัด การควบคุมคุณภาพ แต่ มีเป้าหมาย ที่นวัตกรรมการบริหารที่นำโดยผู้บริหารระดับสูง

ศาสตราจารย์อิชิกาวา  ไม่ได้ลดราวาศอก คำพูดของท่าน  ซึ่งเหมือนกับบิดาของท่าน   Ichiro Ishikawa ผู้ล่วงลับ ซึ่งเป็นประธานคนแรกของ Keidanran (Japan Business Federation)  ในปี 1956 (หมายเหตุของบรรณาธิการ: ปีที่ถูกต้องคือ 1958)  ท่าน ได้กล่าวที่วอชิงตัน ซึ่ง QC ในอเมริกา นั้นยังไม่ดี  ศาสตราจารย์ Hajime Karatsu ของ  Tokai University  ซึ่ง ร่วมกับท่าน  รำลึก ว่า คนอเมริกัน ได้หวนกลับมา เชื้อเชิญให้สอนพวกเขาบางอย่างเกี่ยวกับ  QC    ศาสตราจารย์อิชิกาวา เป็นสมาชิกกิตติมศักด์คนเดียวที่ไม่ใช่คนอเมริการของ American Society for Quality Control     ศาสตราจารย์  Hitoshi Kume แห่ง  University of Tokyo ซึ่งเป็นรุ่นน้องของท่าน ใน  ที่โรงเรียนเดิม ได้กล่าวว่า “เขาดูเหมือนจะได้รับความนิยมที่อเมริกา มากกว่า ในญี่ปุ่นเสียอีก”   

(วันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน  ปี 1989)


ส.ส.ท. ได้รับอนุญาตจาก JUSE ในการแปลและเผยแพร่บทความเรื่อง  “Kaoru Ishikawa, The Man and Quality Control”


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที