ทีมงาน

ผู้เขียน : ทีมงาน

อัพเดท: 22 ธ.ค. 2015 03.58 น. บทความนี้มีผู้ชม: 63865 ครั้ง

Union of Japanese Scientists and Engineers (JUSE) ได้ทำการรวบรวมชีวประวัติของท่าน ศาสตราจารย์ ดร.คาโอรุ อิชิกาว่า เป็นบทความภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ฟรีทาง http://www.juse.or.jp และทางสมาคมฯ ได้คัดบทความบางส่วนมาแปลเป็นภาษาไทยและเผยแพร่ใน Website ของสมาคมฯ ซึ่งท่านสามารถติดตามอ่านและดาวน์โหลดเอกสารฟรีได้ที่ http://www.tpa.or.th


บทที่ 8 : ศาสตราจารย์อิชิกาวา และ การควบคุมคุณภาพ (Prof. Ishikawa and Quality Control)

8.1 การทำคุณประโยชน์ต่อ   การยกระดับคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของญี่ปุ่น
(Contribution to the Quality Enhancement to Japanese Industrial Products)

ศาสตราจารย์อิชิกาวา ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในการเผยแพร่ และพัฒนา การควบคุมคุณภาพ

เทคนิคการควบคุมคุณภาพ ได้ถูกแนะนำสู่ญี่ปุ่น จาก สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ไม่นาน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จะอธิบายต่อไป ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้เผยแพร่และขยายการควบคุมคุณภาพ ไปสู่อุตสาหกรรมญี่ปุ่น    ร่วมกับ ผู้เชี่ยวชาญการควบคุมคุณภาพที่มีจิตใจที่คล้ายคลึงกัน  ได้แก่ศาสตราจารย์ Shigeru Mizuno   ศาสตราจารย์ Tetsuichi Asaka  ศาสตราจารย์  Masao Kogure  ท่านเป็นผู้นำเอาการวิจัย ไปสู่การพัฒนาระบบการควบคุมคุณภาพ ซึ่งมีความเหมาะสมมากขึ้นกับ อุตสาหกรรมญี่ปุ่น  ท่าน เริ่มต้นความคิดของ Total Quality Control (TQC)    ระบบการควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ซึ่งทำให้คนในองค์กรมีส่วนร่วม ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง จนถึง ผู้ปฏิบัติงาน ที่หน้างานจริง   โดยระบบนี้ ท่าน ได้นำ การเปลี่ยนแปลงเชิงนวตกรรม มาสู่ปรัชญาการบริหารธุรกิจ และ สไตล์การทำงาน

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน คุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ได้ปรับปรุงขึ้นอย่างเหลือเชื่อ  ไม่มีใครสามารถปฏิเสธความจริงที่ว่า  กิจกรรมการควบคุมคุณภาพ ได้สร้างคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวง สู่การพัฒนาปรับปรุงนี้   การควบคุมคุณภาพแบบญี่ปุ่น  ปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจมาก ไม่เพียงแต่ประเทศที่กำลังพัฒนาเท่านั้น แต่ยังสำหรับประเทศพัฒนาแล้วในตะวันตกอีกด้วย

ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1948  Union of Japanese Scientists  and Engineers (JUSE)  ได้ก่อตั้งกลุ่มวิจัยการควบคุมคุณภาพขึ้น   ตามการเรียกร้องของ Economic Stability Board กลุ่มนี้ได้เริ่มต้นการค้นคว้าและวิจัย เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ   จากผลงานของกลุ่มวิจัยนี้  Quality Control Basic Course (BC) ครั้งแรก ได้จัด่ขึ้นในเดือนกันยายน ปี 1949     พร้อมกับการเริ่มต้นของสัมมนานี้ การประชุมประจำเดือน ก็ได้จัดให้มีขึ้น เพื่อเตรียมข้อมูลและ ทดลองข้อมูล   การประชุมนี้ ไม่เพียงแต่เกี่ยวเนื่องกับสัมมนา แต่ยังเป็นการประชุมเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ผ่านการปฏิบัติ การควบคุมคุณภาพ   ตามไอเดียที่ว่า การควบคุมคุณภาพ จะต้องมีการวิจัยเชิงลึกมากขึ้น  มีการวิเคราะห์ และ นำเสนอ ในวิถีที่จะเผยแพร่ไปสู่ทั่วทั้งอุตสาหกรรมญี่ปุ่น   ดังนั้น ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีนั้น คนเหล่านั้นได้มารวมกันเพื่อการประชุมเหล่านั้น ซึ่งเรียกว่า  กลุ่มวิจัยการควบคุมคุณภาพ  (Quality Control Research Group-QCRG)    ศาสตราจารย์อิชิกาวา เข้าร่วมและอุทิศทุ่มเทให้กับ การค้นคว้า และ วิจัยการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ ซึ่ง ได้นำเข้ามาจาก สหรัฐอเมริกา    ปรัชญาของท่าน คือ กิจกรรมการควบคุมคุณภาพขององค์กร จะต้องดำเนินไป ไม่เพียงแต่โดยกลุ่มย่อยของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น  แต่ต้องดำเนินการโดยทุกระดับชั้น และ ฝ่ายงาน   จากไอเดียนี้  ศาสตราจารย์อิชิกาวา จึงได้เข้าร่วมอย่างแข็งขัน ในกิจกรรม ที่มีขอบข่ายกว้างขวางมาก พร้อมกับทีมงาน ของ QCRG 

ศาสตราจารย์อิชิกาวา เสนอให้  Union of Japanese Scientists and Engineers   ให้จัดสัมมนาที่หลากหลายเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ  ท่านจัดสัมมนาขึ้น และ นอกจากนั้น ยังได้เข้ามารับเป็นประธาน ของสัมมนา QC เกือบทุกครั้ง  และเป็นสมาชิกบริหาร หรือ เป็นวิทยากรอีกด้วย  ท่านได้แสดงให้เห็นถึง ความสามารถของท่านในการสร้าง ปรัชญา TQC  และการสร้างสิ่งนี้ให้เป็นจริง    ศาสตราจารย์อิชิกาวา สอนหลักสูตรเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ สำหรับ สมาคมเคมีของญี่ปุ่น   Nihon Shortwave Broadcasting, NHK Radio, NHK Educational TV  (ดู Chapter 9)

นอกจากนี้ ในกระบวนการสร้าง  TQC  ศาสตราจารย์อิชิกาวา เสนอรูปแบบของ QC Circle เพื่อให้การศึกษาแก่หน้างาน  ท่านได้รับหน้าที่หัวหน้าบรรณาธิการ ของ  Genba To QC-magazine  (Foremen and QC)  (เปลี่ยนชื่อเป็น FQC แล้วเปลี่ยนเป็น QC Circle)    จาก ฉบับแรก ในปี 1962  จนกระทั่งท่านถึงแก่กรรม   ท่านได้ให้การอุทิศที่ยิ่งใหญ่ ต่อการเผยแพร่ ของ TQC (ดู Chapter 10)

เพื่อการเผยแพร่การควบคุมคุณภาพ  ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้เป็นหัวหน้าบรรณาธิการตั้งแต่ปี 1952 ถึงปี 1978 ของ Hinshitsu Kanri (Statistical Quality Control)  ซึ่งเป็นวารสารรายเดือน จัดพิมพ์โดย JUSE  ตั้งแต่ปี 1950  ผ่านวารสารนี้  ท่านได้อุทิศตัวท่านเอง สู่การเผยแพร่ การควบคุมคุณภาพ   จำนวนพิมพ์ของวารสารนี้ ได้เพิ่มขึ้นถึง ประมาณ 10,000 ฉบับ

เพื่อเป็นอนุสรณ์ของการทำคุณประโยชน์และมิตรภาพของ Dr. W.E. Deming  ที่มีมายาวนาน และ เพื่อส่งเสริม การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของการควบคุมคุณภาพ ในญี่ปุ่น  จึงได้มีการก่อตั้ง  Deming Prize  ที่มีทั้งรางวัลสำหรับบุคคล และ บริษัทซึ่งมีการปฏิบัติ การควบคุมคุณภาพที่โดดเด่น  ในญี่ปุ่น ในปี 1951   เพื่อการบริหาร Deming Prize   จึงได้มีการจัดตั้ง  Deming Prize Committee  โดยมี  JUSE  ได้รับหน้าที่เป็นกองเลขาธิการ    ศาสตราจารย์ อิชิกาวา ได้ทำหน้าที่รองประธานของ  Deming Application Prize  Sub-committee ร่วมกับ ศาสตราจารย์ Shigeru Mizuno เป็นเวลานาน  (ศาสตราจารย์ Mizuno ถึง ปี 1980  ศาสตราจารย์อิชิกาวา ถึงปี 1985)  ในขณะที่  ประธานคือ อธิบดีกรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม    โดยรองประธานนั้นจะทำหน้าที่ รับผิดชอบ การบริหารและจัดการ ของ committee   ศาสตราจารย์ทั้ง 2 ได้มีบทบาทเป็นผู้นำ ในการจัดระบบการสอบที่เหมาะสม และ ทุ่มเทกำลังในการให้รางวัล แก่บริษัทที่บรรลุผลลัพธ์ที่โดดเด่น ในการควบคุมคุณภาพ  ทั้ง 2 ท่าน ได้สร้างคุณานุประการแก่การพัฒนาคุณภาพของ บริษัทญี่ปุ่นอย่างมาก

ศาสตราจารย์อิชิกาวา คิดว่า การถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันในระหว่างภาคอุตสาหกรรม  ภาครัฐ และ ภาควิชาการ เป็นสิ่งที่จำเป็นในการเผยแพร่การควบคุมคุณภาพให้กว้างขวางยิ่งขึ้นได้    ตั้งแต่ปี 1951  เป็นต้นมา ท่านได้จัดให้มีการประชุมวิชาการด้านการควบคุมคุณภาพ ที่สปอนเซอร์สนับสนุนโดย JUSE   ซึ่งมี QC Conference   (ปัจจุบัน QC Conference for Managers and staffs)  QC Spring Conference,  QC Conference for Foreman (ปัจจุบัน  QC Conference for Managers and Supervisors),  QC Conference for Top Management , All japan QC Circle Conference ต่างๆ    และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านได้ ทำหน้าที่เป็น   conference chairman  ตั้งแต่ QC Conference ครั้งที่ 1  จนถึงครั้งที่ 11

ในปี 1965 ท่าน  ได้เสนอให้ การจัด Quality Control Symposium เป็น forum ทั่วไป สำหรับ การ อภิปรายเกี่ยวกับการวิจัย สำหรับ ภาคราชการ  เอกชน  และวิชาการ    ท่านได้สร้าง  event  และทำหน้าที่เป็น คณะกรรมการจัดงาน จนถึงปี 1978 พร้อมกับ ศาสตราจารย์ Shigeru Mizuno   และ ศาสตราจารย์ Tetsuich iAsaka     Symposium ดังกล่าวได้จัดขึ้นทุกปี เพราะว่า ได้รับการยอมรับ และ ได้สร้างประโยชน์อย่างมาก ในการพัฒนาปรับปรุงยกระดับการควบคุมคุณภาพ ในญี่ปุ่น

ในปี 1971  ท่าน เป็นสมาชิกของ คณะกรรมเตรียมการ สำหรับการก่อตั้ง Japanese Society for Quality Control   ตั้งแต่ปี 1971 ถึง ปี 1974 ท่านได้เป็นรองประธาน และ ตั้งแต่ปี 1974 ถึงปี 1975 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นประธาน  มีบทบาทในการสร้างฐาน สมาคมนั้นให้แข็งแกร่ง  การทำคุณประโยชน์ของท่าน  ทำให้ท่านได้รับเลือกเป็นสมาชิกกิตติมศักด์ของ สมาคมดังกล่าวในปี 1982

ในปี 1980  ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็น ปรานของ MITI’s Nuclear Power Plant Quality Assurance Review Committee  ในบทบาทนี้ ท่านได้อุทิศตนในการพัฒนาปรับปรุง การใช้ประโยชน์ การกำเนิดไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ในญี่ปุ่น

ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้มีความเกี่ยวข้องในวงกว้าง ของการวิจัยเรื่องการควบคุมคุณภาพ  ท่านได้ตีพิมพ์สิ่งที่ท่านค้นพบ ในหนังสือและบทคามมากมาย  หนังสือของท่าน ได้รับรางวัลมากมาย    เช่น เรื่อง Sampling in Manufacturing Plants  และ หนังสืออื่นๆ อีก 3 เล่ม  ท่านได้รับรางวัล Nikkei Quality Control  Literature  Prizeของ Nikkei Inc.  ส่วน หนังสือ  What is Total Quality Control?  The Japanese way (JUSE press, 1981)  ท่านได้รับรางวัล Management Book Award  จาก  Nippon Omni-Management Association (ดู Chapter 15  ลำดับเหตุการณ์ที่ท้ายของ chapter) 

ท่านได้อุทิศตนให้กับ การส่งเสริม  sampling research  (Chapter 13) และ การส่งเสริม เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม (Chapter 14)  ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของการควบคุมคุณภาพ

นอกเหนือจาก กิจกรรมที่ประสบความสำเร็จในญี่ปุ่นแล้ว ท่านยังมีกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในโลกอีกด้วย (ดู Chapter 11  และ 12)

ในปี 1952  ท่านได้รับมอบรางวัล Deming Prize  ในฐานะปัจเจกบุคคล  จาก  Deming Prize Committee  สำหรับความสำเร็จต่างๆ ที่ได้กล่าวมา ในฐานะ สมาชิกของ QC Research Group

หมายเหตุ:  บทความตอนนี้ เป็นบทความฉบับปรับปรุงของ ประวัติของศาสตราจารย์อิชิกาวา  ที่ได้เปิดเผย ในโปรแกรมฉลอง เหรียญรางวัลของท่าน (ประธาน  ศาสตราจารย์  Hitoshi Kume)  เรา ขอขอบคุณ  Mr. Eizo Watanabe สำหรับ คำแนะนำที่มีคุณค่า  ที่มีส่วนช่วย เราอย่างมาก ในการ เตรียม ประวัติของท่าน


 

คุณค่าที่แท้จริงของ ดร. คะโอรุ  อิชิกาวา
(The True Value of Dr. Kaoru Ishikawa)*
J.M. Juran

ข้าพเจ้าได้พบกับ ดร.อิชิกาวา ในฤดูร้อนปี 1954 เมื่อข้าพเจ้าไปญี่ปุ่นครั้งแรก โดยได้รับเชิญจาก Japan Business Federation (Keidanren)  และ Union of Japanese Scientists and Engineers (JUSE)    ในเวลานั้น ดร.อิชิกาวา เป็นสมาชิกของ  QC Research Group  ของ  JUSE  เกี่ยวข้องกับ การวิจัยและการเผยแพร่กิจกรรม เช่น การจัดทำเอกสารทางการศึกษา และ หลักสูตร ฝึกอบรมการปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างคุณภาพในญี่ปุ่น ให้สามารถแข่งขันได้ในโลก  Research Group นี้ ให้ความร่วมมืออย่างดีมาก  แปลเอกสารการบรรยาย ซึ่งข้าพเจ้าส่งให้ในทันที  วางแผนและบริหารการบรรยาย และยังช่วยเหลือข้าพเจ้าในการให้คำแนะนำแก่บริษัทต่างๆ อีกด้วย

จากปี 1954 เป็นเวลา 35 ปี  ข้าพเจ้ามีโอกาสได้พบและทำงานร่วมกับดร.อิชิกาวา ไม่เพียงแต่ในญี่ปุ่นเท่าน้น หากยังในประเทศต่างๆ ทั่วโลกอีกด้วย  ระหว่างนั้น ดร.อิชิกาวา  ได้พัฒนาขึ้นอย่างมาก เป็นนักออกแบบ การปฏิวัติคุณภาพของญี่ปุ่น  ดร.อิชิกาวา ได้เป็นผู้นำในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพ ผ่านการอุทิศของท่าน ให้แก่ พันธกิจของการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของญี่ปุ่น  และ คุณภาพของโลก หลังจากนั้น  การอุทิศของท่าน นำมาสู่ผลลัพธ์ที่น่าทึ่งอย่างมาก

ดร.อิชิกาวา เขียน และ จัดพิมพ์ ตำราต่างๆ ที่หลากหลาย  ซึ่งรวมถึง หนังสือและบทความที่มีคุณค่าเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ  มีการแปลและจัดพิมพ์ หนังสือและบทความจำนวนมากเหล่านี้ด้วย

*บทความนี้ ได้แปลมาจากฉบับภาษาญี่ปุ่น มาเป็นภาษาอังกฤษอีกครั้ง  เพราะว่าต้นฉบับภาษาอังกฤษนั้น ได้สูญหายไป

 

ดร.อิชิกาวา ได้ทำคุณประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อการศึกษามาถึง 2  รุ่นของผู้บริหาร วิศวกร  พนักงาน ญี่ปุ่น และแม้แต่ ผู้บริหารนอกประเทศญี่ปุ่น  ทั้งในญี่ปุ่น และระหว่างประเทศ ท่านได้ทิ้งผลงานที่ยิ่งใหญ่ไว้ ในกิจกรรมของ คณะกรรมการสร้างมาตรฐาน

นอกจากนี้  ดร.อิชิกาวา มีไอเดียสร้างสรรค์มากมาย รวมถึง ปรัชญาของQC Circle และ  cause and effect diagram

ในการทำคุณประโยชน์นั้น ดร.อิชิกาวา นั้น เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในระหว่างประเทศ ในฐานะ ผู้เชี่ยวชาญที่มีอิทธิพลด้านคุณภาพของญี่ปุ่น ที่โดดเด่น  มีเรื่องจำนวนมากที่สามารถเรียนจากการค้นคว้าวิจัยของท่าน เป็นต้นว่า ดร.อิชิกาวาทำอย่างไรจึงสามารถบริหารจัดการ หลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่างมากมาย ระหว่างชีวิตของท่าน   สำหรับความคิดเห็นของข้าพเจ้า ท่านมีทิศทางที่ชัดเจนในการใช้พรสวรรค์ธรรมชาติของท่าน  ท่าน ได้รับการยกย่องในการทำประโยชน์แก่สังคม แทนที่จะทำเพื่อตัวของท่านเอง   อุปนิสัยของท่าน นั้น ท่านเป็นคนที่อ่อนน้อมถ่อมจน ทำให้คนจำนวนมาก อยากจะร่วมมือกับท่าน   ท่านเดินตามวิถีของท่านในการสอน โดยเน้นที่ข้อเท็จจริง และ วิเคราะห์สิ่งเหล่านั้นอย่างเข้มงวด  ท่านมีความจริงจังมาก ที่ทำให้ทุกๆ คน เชื่อถือท่านอย่างสมบูรณ์

ข้าพเจ้าอยากจะแสดงความเสียใจต่อประชาชนชาวญี่ปุ่น ต่อการถึงแก่กรรมของดร. อิชิกาวา  ข้าพเจ้าชอบที่จะทำงานกับท่าน  ข้าพเจ้ามีความภูมิใจในการได้เป็นเพื่อนของท่านในช่วงเวลาที่ท่านมีชีวิตอยู่   ข้าพเจ้าอยากจะแสดงออกถึงความเคารพอย่างสุดซึ้ง แก่ ดร.อิชิกาวา  สำหรับการทำคุณประโยชน์ให้แก่ คุณภาพ ทั่วโลก และ  สำหรับการอุทิศของท่านให้กับสมาคมของเรา

(ประธานกิตติมศักดิ์   Juran Institute, Inc.)


 

สิ่งที่ข้าพเจ้าเรียนรู้จาก ศาสตราจารย์อิชิกาวา
(What I learned from Prof. Ishikawa)
Yutaka  Kume

เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่า ดร.อิชิกาวา เป็นบุคคลผู้ยิ่งใหญ่   ท่านยังเป็นบุคคลที่อยู่ในความทรงจำไม่รู้ลืมสำหรับ Nissan Motors  และสำหรับข้าพเจ้า   เมื่อ มองย้อนกลับไป  ครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้พบ ดร.อิชิกาวา  นั้น นานมาแล้ว

ในปี 1959  บริษัทของเราตัดสินใจในการท้าทาย Deming Prize ผ่าน การนำเสนอ  Company-wide Quality Control  เพื่อที่จะเอาชนะปัญหา การเปิดเสรีทางการค้า และ การส่งออก นั้น ต้องเปลี่ยนอย่างสุดขั้วมาที่สหรัฐอเมริกา  และเพื่อการสร้างคุณประโยชน์ที่แข็งแกร่งในอนาคต  ในช่วงนั้น   ข้าพเจ้าอยู่ที่โรงงานสำนักงานใหญ่  (ปัจจุบันคือ โรงงานโยโกฮามา)  ในตำแหน่งผู้จัดการส่วนงานแผนการผลิต ใน ฝ่ายผลิต  ข้าพเจ้าได้รับคำสั่งจาก ประธาน Kawamataให้มีบทบาทในฐานะ ผู้ส่งเสริมการท้าทายครั้งนี้  ซึ่งข้าพเจ้าได้รับการแนะนำโดยตรงจาก ดร.อิชิกาวา   ในส่วนหนึ่งของความทรงจำ  ข้าพเจ้า จำได้ว่า ดร.อิชิกาวา บอกข้าพเจ้าว่า  “คุณไม่จำเป็นต้องทำมัน   ถ้าหากว่า นั่นทำเพื่อให้ได้ Deming Prize เท่านั้น”  หลังจากนั้น เราได้รับคำแนะนำ หลายๆ ครั้ง  โดยเฉพาะเมื่อเร็วๆ นี้ เราต้องขอบคุณคำแนะนำของท่านอย่างมาก ในการวางแผนที่จะนำเอา โปรแกรม การฝึกอบรม การควบคุมคุณภาพภายในบริษัท สำหรับ ผู้บริหาร และผู้จัดการระดับสูง

ด้วยเหตุผลดังกล่าว  มีคนจำนวนมาก ซึ่งได้พบกับ ดร.อิชิกาวาโดยตรง  สำหรับสิ่งที่มีอยู่จริง ในบริษัท  ข้าพเจ้าอยากจะเล่า ให้ฟังบางอย่าง ว่า เราใช้ หลักปรัชญา ของ ดร.อิชิกาวา อย่างไร ในช่วงเวลานั้น

ข้าพเจ้า ได้สร้างปรัชญาองค์กร เมื่อหลายปีที่ผ่านมา  วัตถุประสงค์ก็คือ  การเปลี่ยนจิตใจของพนักงานทุกคน และ นำไปสู่พลัง การเข้าสู่ศูนย์กลาง    แนวคิดก็คือ  “ความพึงพอใจของลูกค้า จะเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกเสมอ”    ในขณะที่สิ่งนี้เป็น แก่นแท้ของ  QC  ซึ่ง ดร.อิชิกาวา สอนเราอยู่เสมอๆ    ข้าพเจ้าอยากจะบอกว่า สิ่งนี้ต้องใช้เวลานาน ในการฝังรากให้หยั่งลึก    ปรัชญานี้ ได้ขยายไปอย่างกว้างขวาง สู่ทุกๆ ระดับ ในบริษัท ข้ามทุกฝ่ายงาน  ในช่วงเวลานั้น  ข้าพเจ้าได้รับการบอกเล่าจากคนภายนอก เสมอว่า  “Nissan ได้เปลี่ยนไป”  ข้าพเจ้า คิดว่า  QC ของเรานั้น ได้เป็นจริงแล้ว

ข้าพเจ้า ทบทวนความทรงจำของข้าพเจ้าต่อ ดร.อิชิกาวา ดังกล่าวข้างต้น    เราหวังอย่างยิ่งว่า เราจะต้อสู้ต่อไป เพื่อเป็นบริษัทชั้นนำ  โดยการใช้ประโยชน์สิ่งที่ท่านได้สอนให้กับเรา

(ประธาน  Nissan Motor Corp.)


 

Thinking of Prof. Kaoru Ishikawa
(ระลึกถึง ศาสตราจารย์ คะโอรุ อิชิกาวา)
Shoichiro  Toyoda

ข้าพเจ้า ปรารถนาที่จะแสดงความเสียใจอย่างจริงใจต่อ การ มรณกรรมอย่างปัจจุบันทันด่วนของ ศาสตราจารย์อิชิกาวา    เมื่อปีใหม่ปีนี้ เรา ได้มีโอกาสร่วมกันฉลองเครื่องราชอิสริยาภรณ์ the Order of the Sacred Treasures, Second Class  ที่ศาสตราจารย์ อิชิกาวาได้รับ   ท่านดูเหมือนมีความสุข และ ดูสุขภาพดี  แต่โอกาสนั้น กลับกลายเป็นโอกาสสุดท้ายที่ข้าพเจ้าได้พบท่าน

ในงานฉลองนั้น  ข้าพเจ้าได้รับหนังสือ  “Introduction to Quality Control”  บทนำ ได้ มีนำเสนอ คำยืนยันของท่าน ซึ่งท่านเคยบอกเราบ่อยๆ ว่า  “ระบบใหม่ของ การควบคุมคุณภาพ นั้น เป็นการ ปฏิวัติทางอุดมคติของการบริหารจัดการ   ถ้าระบบใหม่ของการควบคุมคุณภาพ สามารถนำมาใช้ทั่วทั้งบริษัท เราก็จะสามารถบรรลุการพัฒนาปรับปรุง ธรรมนูญของบริษัท.....”   ศาสตราจารย์อิชิกาวา  ได้สร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่ โดยปฏิบัติตามความเชื่อนี้  อุทิศตัวท่านเอง ให้กับการพัฒนา การควบคุมคุณภาพของญี่ปุ่น  ท่านให้ความจริงจังกับเรื่องนี้มาก  และท่านสอน และ ชี้นำเรา ใน ทุกช่วงเวลาที่เราต้องการ  หากมองย้อนกลับไปที่ความเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ที่ท่านได้แสดงให้เห็น  ข้าพเจ้ามีความเสียใจอย่างสุดซึ้งที่เราจะไม่มีโอกาสได้ใช้ประโยชน์จากสติปัญญาของท่านอีก

บริษัทจำนวนมากที่ได้รับการชี้แนะจากท่าน ได้ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงธรรมนูญของบริษัทโดยการปฏิบัติ การควบคุมคุณภาพ  เพื่อที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศสำหรับผลิตภัณฑ์ของเรา และสร้างความแข็งแกร่งให้กับ ฐานทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปัจจุบัน   ความสำเร็จของท่าน อยู่ที่ ความสนใจของบริษัทไม่เพียงแต่บริษัทญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังอยู่ที่ความสนใจของบริษัททั่วโลกด้วย  ศาสตราจารย์อิชิกาวา เน้น การนำมาใช้  “implementation”  ของการควบคุมคุณภาพ ในการค้นคว้าวิจัย และฝึกอบรม ที่ท่านได้มอบให้    การเน้นนี้ ได้รับการอ้าแขนรับไปทั่วโลก

“QC เริ่มและจบลงด้วยการศึกษา”   ท่านได้สอนสิ่งนี้แก่เรา  เราจะต้องไม่ลืมสิ่งนี้ ในการเพิ่มความพยายาม ที่จะพัฒนาการควบคุมให้มากขึ้น

ขออธิษฐานให้ดวงวิญญาณของท่านสู่สุขคติ  ข้าพเจ้าขอจบคำสรรเสริญเพียงเท่านี้

(ประธาน    Toyota Motor Corporation)


 

คำแนะนำ TQC ของ ศาสตราจารย์อิชิกาวา สร้าง Bridgestone Corp. ปัจจุบัน
(The TQC Advice of Prof. Ishikawa Made the Bridgestone Corp. of Today)
Kenichiro Ishibashi

ญี่ปุ่นในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่เป็นเลิศที่สุดในโลก  อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 1950  มาตรฐานของเทคโนโลยี ยังห่างไกลมากจากระดับโลก  ผลิตภัณฑ์ที่เราผลิต ยังเป็นแบบตามบุญตามกรรม และ มีคุณภาพที่ต่ำอย่างมาก

ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เสียได้ง่าย เมื่อเรานำมาใช้ และไม่มีใครสามารถที่จะซ่อมได้

ถึงจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม   คนญี่ปุ่น ก็จำเป็นต้องสร้างประเทศของพวกเขาให้แข็งแกร่ง ถึงแม้ว่าจะไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ

ในช่วงนั้น ศาสตราจารย์อิชิกาวา ไม่เพียงแต่ เป็นผู้นำในการนำเอาวิธีการ ของ total quality control (TQC)  ซึ่งเริ่มต้นขึ้นมาจาก สหรัฐอเมริกา  เพื่อเป็นเครื่องมือ ในการช่วยฟื้นเศรษฐกิจ    แต่ท่านยังสร้างสรรค์ และ อุทิศตัวท่านเองในการเผยแผร่ ระบบที่เหนือกว่า ในการควบคุมคุณภาพ ซึ่ง อเมริกาไม่สามารถแข่งขันได้   ระบบ QC Circle เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงอย่างมาก  ข้าพเจ้าเชื่อว่า เรื่องนี้   เป็นลูกของ ศาสตราจารย์อิชิกาวา   สิ่งนี้ ได้กลายมาเป็น แรงดลใจที่ยิ่งใหญ่

ในปี 1964  ข้าพเจ้ามีอายุ 43 ปี   ในฐานะประธานบริษัท  ข้าพเจ้าได้นำเอา TQC เข้ามาในบริษัทของข้าพเจ้า ด้วย การแนะนำที่แข็งขันของ ศาสตราจารย์อิชิกาวา  เพื่อ สร้างไอเดีย ให้เกิดขึ้นภายในบริษัท  และเน้น การมุ่งสู่ความสำเร็จ  สิ่งนี้ คือสิ่งที่เราได้ปฏิบัติมาที่ทำให้เราบรรลุถึง ความเป็น Bridgestone  ในปัจจุบัน   ข้าพเจ้า มีความปลื้มปิติอย่างแท้จริง

(กรรมการและ ประธานกิตติมศักดิ์  Bridgestone Corporation)


 

QC จะล้มเหลว ถ้าหากว่า ประธานบริษัท ไม่เข้ามานำ”
(QC Fails Unless the Company President Takes the Lead”
Ichiro  Shinji

ดูเหมือนว่า ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้ให้คำชี้แนะแก่เรา เมื่อเร็วๆ  นี้เอง  แต่ ในความเป็นจริง มันได้ผ่านมา เศษหนึ่งส่วนสี่ของศตวรรษแล้ว   วันเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วมาก !

ย้อนกลับไปช่วงนั้น  สโลแกนหนึ่งปี ของ  JUSE Quality Month   ก็คือ การทำให้เกิด  “การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และ เพิ่มการส่งออกอย่างมหาศาล”   ในช่วงนั้น ญี่ปุ่นขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ   จึงกล่าวกันว่า  “อเมริกาจามเมื่อไร  ญี่ปุ่น ก็จะเป็นหวัด”   สโลแกนของ JUSE  เป็นบทสรุปที่มุ่งไปข้างหน้า ของ  เป้าหมายง่ายๆ ของ ผู้ที่ทำงานในการควบคุมคุณภาพ    นั่นคือถ้าเราสามารถผลิตสินค้าคุณภาพดี  ประชาชนทั่วโลกก็จะซื้อ แต่เราจะเปลี่ยน ข้อเท็จจริงเชิงทฤษฏีให้เป็นความเป็นจริงได้อย่างไร?     สิ่งที่เป็นกุญแจสำคัญคือ  เราต้องมาสุมหัวกัน และ ทำงานให้หนัก

“QC จะสำเร็จก็ต่อเมื่อ ตัวประธานบริษัท ต้องเข้ามานำ และเริ่มต้นโดยการตัดสินใจที่จะศึกษาด้วยตัวเขาเอง  ไม่ใช่เพียงแต่ มอบหมายสิ่งนี้ให้กับทีมงานมาทำแทน”

นี่คือสิ่งที่ศาสตราจารย์อิชิกาวา กล่าวแก่ข้าพเจ้า เมื่อข้าพเจ้าได้พบท่านเป็นครั้งแรก  ในฐานะผู้จัดการฝ่ายการควบคุมคุณภาพ  ข้าพเจ้ามุ่งไปที่ Deming Prize  และต้องการที่จะนำ QC มาสู่บริษัทของข้าพเจ้า

ในภายหลังข้าพเจ้าได้เข้ามามีส่วนร่วมใน  5QCT (QC Team) นำโดย Dr. Mizuno และใช้เวลา 40 วัน ไปเยี่ยมบริษัทชั้นนำของอเมริกาและยุโรป   ข้าพเจ้ามีโอกาสไปเยี่ยมบริษัทเหล่านี้ และได้มีการปรึกษาหารือกัน    ทุกๆ บริษัทที่เราไปเยี่ยม ล้วนเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้นำในโลก  อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถเห็น ร่องรอยของ แนวคิด TQC ซึ่ง ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้กล่าวถึงเลย

ปัจจุบัน  ญี่ปุ่น เป็น มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก   และมีความขัดแย้งทางการค้ากับ ประเทศพัฒนาแล้วในตะวันตก   ญี่ปุ่นได้ก้าวมาไกลมากแล้ว!     ข้าพเจ้ารู้สึกอย่างมากว่า สิ่งนี้มาจาก การปฏิบัติของบริษัทญี่ปุ่น ซึ่ง ศาสตราจารย์อิชิกาวา และ มิตรสหายของท่าน ได้สร้างสรรค์ขึ้น  “QC  นำโดยประธานบริษัท”   และ  “QC ซึ่งเป็นความพยายาม แบบทั่วทั้งบริษัท  ซึ่งทุกๆ คน ได้ทำงานเพื่อสิ่งนั้น”

(สมาชิกกิตติมศักดิ์พิเศษ  อดีตประธาน   JVC)


 

8.4   การแสดงความเป็นผู้นำ ใน การพัฒนา ของ Deming Prize  (Exhibiting Leadership in the Development of the Deming Prize)

เพื่อเป็นการสรรเสริญ การทำคุณประโยชน์ และมิตรภาพของ Dr. W.E. Deming ในวิธีการที่ยั่งยืน และ เพื่อส่งเสริม การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของการควบคุมคุณภาพ ในญี่ปุ่น   จึงได้มีการก่อกำเนิด Deming Prize  ให้แก่ทั้งปัจเจกบุคคล และ บริษัท ที่ นำเสนอให้เห็นการควบคุมคุณภาพที่โดดเด่น ในญี่ปุ่น ในปี 1951

The Deming Prize

“Deming Prize สำหรับปัจเจกบุคคล  จะมอบให้กับปัจเจกบุคคลซึ่งได้สร้างคุณประโยชน์ที่โดดเด่น แก่การศึกษาวิจัย Company-wide Quality Control (การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งบริษัท) หรือ วิธีการทางสถิติ ที่ใช้ใน  Company-wide Quality Control  นั้น  หรือ ผู้ที่ ได้สร้างคุณประโยชน์ที่โดดเด่น ในการเผยแพร่  Company-wide Quality Control   ส่วน  Deming Application Prize นั้น จะมอบให้กับองค์กร หรือ ฝ่ายงานขององค์กร ที่ได้บรรลุผลสัมฤทธิ์ที่โดดเด่น ในการพัฒนาปรับปรุง ผ่านการนำเอา Company-wide Quality Control เข้ามาใช้ โดยการใช้ประโยชน์ วิธีการทางสถิติ หรือ วิธีการอื่นๆ    ทางด้าน Quality Control Award for Factory โดย Deming Prize Committee  จะมอบให้กับ หน่วยปฏิบัติงาน ขององค์กร ซึ่ง ได้บรรลุผลสัมฤทธิ์ที่โดดเด่นในการพัฒนาปรับปรุง ผ่าน การ ใช้  การควบคุมหรือ บริหารคุณภาพ  ใน การดำเนินการ Company-wide Quality Control” ( จาก Deming Prize Guide)

นอกจากนี้แล้ว  คณะกรรมการ Deming Prize ยังดูแล Japan Quality Control Medal และ  Nikkei Quality Control Literature Prize

ในฐานเป็นหนึ่งใน  8 สมาชิกของ กลุ่มวิจัย  QC  ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้รับรางวัล  Deming Prize for Individuals (ปัจเจกบุคคล) ในปี 1952     และ Nikkei Quality Control Literature Prize  ที่มอบโดย คณะกรรมการDeming Prize โดยความร่วมมือของ Nikkei Inc. ที่ได้นำเสนอเป็นครั้งแรกใน ปี 1954 และ ได้มอบให้ศาสตราจารย์อิชิกาวา สำหรับหนังสือ เรื่อง Sampling in the Factory(พิมพ์โดย Maruzen)    รวมแล้ว ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้รับรางวัลนี้ 4 ครั้งด้วยกัน

ในประวัติศาสตร์ ของ การนำเอา Deming Prize เข้ามานี้ ได้มีการบันทึก ใน ข้อความที่คัดลอกมาข้างล่างนี้ จาก รายงาน คณะกรรมการ Deming ในช่วง ที่ รางวัลนี้ ได้จัดให้มีขึ้น

“Dr. W. Edwards Deming  ที่ปรึกษาของ สำนักงบประมาณของสหรัฐอเมริกา  มาญี่ปุ่นเพื่อเป็นที่ปรึกษาของ GHQ ESS ( Economic and Scientific Section of General Headquarters)   สำนักงานใหญ่ ที่ควบคุมญี่ปุ่นในช่วงนั้น  เพื่อจัดสรรการช่วยเหลือสำหรับ การสำรวจเบื้องต้น ที่ดำเนินการในเดือน กรกฎาคม ถึงกันยายน  ปี 1950 เพื่อ สำรวจสำมะโนครัวญี่ปุ่น    เมื่อได้รับการเชิญจาก JUSE  เขาก็เริ่มต้นหลักสูตรการบรรยาย ที่ ห้องประชุมของ สมาคมการแพทย์ของญี่ปุ่น ที่คานดะ ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม  ซึ่งต่อมาเรียกว่า “หลักสูตร 8 วันของการควบคุมคุณภาพ”  การบรรยายเหล่านี้  มีผลกระทบเชิงปฏิบัติ ต่อกฎระเบียบของการควบคุมคุณภาพในญี่ปุ่น    เนื้อหาของหลักสูตร 8 วันนี้ หรือ Dr. Deming’s Lectures on Statistical Control of Quality    ได้รับการเรียบเรียง จาก การบันทึก แบบชวเลข ทั้งภาษาอังกฤษและญี่ปุ่น   แจกจ่ายโดยการจำหน่าย  แต่  Dr. Deming ได้บริจาคค่าลิขสิทธิ์ให้แก่ กรรมการผู้จัดการของ JUSE  คุณ Kenichi Koyanagi  ดังนั้นเพื่อเป็นการขอบคุณความกรุณาของ Dr. Deming   คุณ Koyanagiได้เสนอต่อ คณะกรรมการบริหารของ JUSE ว่า  ได้ใช้ค่าลิขสิทธิ์ที่ได้รับบริจาค และกำไร มาเป็นทุนสำหรับรางวัล   และได้ประกาศ การกำเนิดขึ้นของ Deming Prize     ข้อสรุปของ คณะกรรมการบริหาร JUSE  ได้สรุปอย่างคร่าวๆ ดังนี้

  1. เพื่อเป็นเกียรติแก่ความกรุณา และความสำเร็จของ Dr.W. Edwards  Deming
  2. และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการควบคุฒคุณภาพในญี่ปุ่น
  3. ผู้ที่ได้สร้างคุณประโยชน์ที่โดดเด่น แก่ทฤษฎีการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ  การวิจัย การนำมาใช้ในการปฏิบัติ  และ การศึกษา    ซึ่งได้รับเลือกในแต่ละปี จะได้รับมอบ รางวัลนี้
  4. นอกจากนี้ รางวัลเกี่ยวกับการนำมาใช้ประโยชน์  จะมีการจัดให้มีขึ้น ซึ่งจะมอบแก่ให้บริษัทหรือ โรงงาน ที่ได้รับคัดเลือกจาก จำนวนผู้สมัคร  ที่ประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาปรับปรุงผลประกอบการได้อย่างโดดเด่น ผ่าน การใช้ประโยชน์ วิธีการควบคุมคุณภาพ เชิงสถิติ

จากความพยายามของ  Ichiro Ishikawa (บิดาของศาสตราจารย์คะโอรุ อิชิกาวา)  ซึ่งเป็นทั้งประธานของ Keidanran (Japan Business Federation)  และ JUSE  ในขณะนั้น  และพร้อมกับการยอมรับขององค์กรเศรษฐกิจ  และ การสนับสนุน  ของ กระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม   สื่อมวลชนและอื่นๆ  Deming Prize จึงได้กำเนิดขึ้น และ ได้มีการดำเนินการต่อเนื่อง  ผ่านความร่วมมืออาสาสมัครของ ผู้เชี่ยวชาญ   จากภาควิชาการ และ อุตสาหกรรม  หนึ่งในสมาชิก คือ ศาสตราจารย์คะโอรุ อิชิกาวา ได้ปฏิบัติงาน เป็นกรรมการ Deming Prize เป็นเวลากว่า 39 ปี    จากในช่วงที่รางวัลนี้ได้ริเริ่มในขั้นเตรียมการ จนถึง ปี 1989   สร้างความมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของรางวัลนี้ และ  เพื่อ ธำรงรักษา อำนาจ ของคณะกรรมการ  ท่านยังได้มีบทบาทในการให้การแนะนำ แ ละชี้แนะให้อุตสาหกรรม ในการเผยแพร่ และส่งเสริม การควบคุมคุณภาพ  เช่นเดียวกับ การก่อกำเนิด ระบบการสอบที่มั่นคง  พร้อมกันนั้น ความพยายามของท่านยังช่วยพัฒนา ปรับปรุง สมาชิกคณะกรรมการสอบ  ท่านยัง ได้อุทิศความพยายาม ในการมอบรางวัลแก่บริษัท ที่มีผลประกอบการที่โดยเด่น  เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ    กิจกรรมเหล่านี้ มีผลประทบอย่างชัดเจน ต่อระดับของการควบคุมคุณภาพของบริษัทญี่ปุ่น

อาจจะกล่าวได้ว่า ระดับของการควบคุมคุณภาพในญี่ปุ่น  ได้รับการยกระดับโดยบริษัทที่ได้รับ Japan Quality Control Medal หรือ  Deming Application Prize   และ Quality Control Award  for Factory   โดย คณะกรรมการ Deming Prize    ระบบ Deming Prize นี้ ยังคงเข้ากับปัจจุบันได้อยู่  และยังได้รับการธำรงรักษา ความมีชื่อเสียง เพราะ การวิจัยที่บากบั่นของ สมาชิกคณะกรรมการสอบ  ซึ่ง ได้กล่าวถึงจิตวิญญาณ และทักษะทางเทคนิคของ กระบวนการสอบ และ การพัฒนาอย่างมีแผนของสมาชิกกรรมการสอบรุ่นใหม่     ถึงแม้ว่า จะเป็นประเพณีในการมอบให้ หัวหน้าของ สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ใน กระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม ให้มีตำแหน่งเป็นประธานของ คณะอนุกรรมการนี้   แต่ในการปฏิบัติจริง ของศูนย์กลางคณะกรรมการ ก็อยู่ที่รองประธาน   พร้อมกับศาสตราจารย์ Shigeru Mizuno (1951-82)   ศาสตราจารย์ Tetsuichi Asaka (1951-84)  และ ศาสตราจารย์ Ikuro Kusaba (1956-89)   ศาสตราจารย์อิชิกาวา ทำงานเป็น คณะอนุกรรมการ รางวัลการนำมาใช้ประโยชน์  (application prize)  เป็นเวลาสถึง 35 ปี   ตั้งแต่การก่อตั้งในปี 1951 จนถึง การเกษียณจากคณะกรรมการนี้ในปี 1985 เมื่ออายุ 70 ปี  โดยที่ ระยะเวลา 24 ปี ได้ดำรงตำแหน่งรองประธานของคณะกรรมการ (1962-85)   ในระหว่างนั้น ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้ ทำคุณประโยชน์ไม่เพียงแต่การก่อตั้ง Deming Application Prize สำหรับสถานประกอบการขนาดเล็ก (1958)  Deming Prize  สำหรับฝ่ายงานของบริษัท (1966)    Quality Control Award for Factory  โดย Deming Prize Committee (1973)  Japan Quality Medal (1970)   ยังได้เป็น ฝ่ายบริหารของรางวัลต่างๆ เหล่านั้นด้วย ในเวลาต่อมา

นอกจากนี้  เริ่มต้นพร้อมกับการสอบสำหรับ รางวัลต่างๆ เหล่านี  ท่านยังเข้าร่วมอย่างแข็งขัน ในการวินิจฉัย QC ที่ดำเนินการโดย สมาชิกคณะกรรมการ Deming Prize (ที่ก่อตั้งในปี 1971)    และผ่านการสอบและวินิจฉัยคุณภาพ ของ บริษัทที่เข้าเสนอตัวเข้าประกวด   ท่านไม่เพียงจัดเตรียมข้อแนะนำถาวร ในรายงานความเห็นการสอบ และ รายงานการวินิจฉัย  เพื่อวัตถุประสงค์การพัฒนาปรับปรุง ผลประกอบการของบริษัท   แต่ยัง นำเอาการฝึกงานสำหรับสมาชิกคณะกรรมการ เข้ามา  โดยชี้แนะด้วย ตัวอย่างโมเดล    สมาชิกคณะกรรมการรุ่นใหม่ เข้าร่วมกับท่าน ในการสอบ   ได้รับการแนะนำว่า ถึงแม้ว่า นั่นจะเป็นการสอบหรือ การวินิจฉัยคุณภาพ     มันควรจะเป็นการทำเพื่อประโยชน์ของบริษัท  ท่านได้กล่าวว่า  “อย่าเขียนแต่คำสรรเสริญที่ง่ายๆ  ควรจะเขียน เกี่ยวกับสิ่งที่ควรจะทำเพื่อให้บริษัทดีขึ้นมากกว่า”

ศาสตราจารย์อิชิกาวา  ได้ช่วยการพัฒนาปรับปรุง ผ่านข้อเสนอและ ข้อแนะนำมากมาย ของท่าน เกี่ยวกับระบบ Deming Prize   ในส่วนที่เกี่ยวกับการสอบที่จะต้องดำเนินการ และประเด็นอื่นๆ     ความสำเร็จอื่นๆ ของท่าน รวมถึงการนำเอาระบบของ การเกษียณของสมาชิก คณะกรรมการสอบ ที่อายุ 70 ปี เข้ามาใช้ (1980)  และ การปรับปรุง checklist ที่ใช้สำหรับ กระบวนการสอบ ของ application prize (1984)

ในปี 1981   ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเศรษฐกิจญี่ปุ่น   ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้ให้คำแนะนำว่า  มีความต้องการ สำหรับนโยบายเปิดประตู สำหรับ การยื่นสมัคร Deming Prize   ให้แก่บริษัทในต่างประเทศ    ในช่วงแรกนั้น  หลายๆ คนในคณะอนุกรรมการและ ฝ่ายงานบริหารมีความเห็นคัดค้าน  แต่ท้ายที่สุด   ทุกๆ คน ก็ต้องยอมจำนวนต่อ ความมุ่งมั่น ยืนหยัด และการตัดสินใจของ ศาสตราจารย์อิชิกาวา   นำมาสู่ การก่อตั้ง กลุ่มอนุกรรมการศึกษาในประเด็นต่างประเทศ และ ในปี 1984  หลักเกณฑ์การรับสมัครจากองค์กรในต่างประเทศ ก็ได้ถูกร่างขึ้น และ เริ่มมีการให้การแนะนำในระดับนานาชาติ

ความฝันของ ศาสตราจารย์อิชิกา ได้ปรากฎเป็นจริงในปี 1989  เมื่อ  Florida  Power  and Light  Company  ได้เป็นบริษัทแรกในต่างประเทศ ที่ได้รับ รางวัล Deming application prize   ตามมาด้วย Philips Taiwan ซึ่งได้รับรางวัลในปี 1991  ข้าพเจ้า  อยากจะขอกล่าวเพื่อเป็นบทต่อเนื่อง ต่อเรื่องนี้  ซึ่งข้าพเจ้าได้ยินจากสมาชิกคณะกรรมการ ที่ รับผิดชอบ การสอบครั้งประวัติศาสตร์ สำหรับผู้สมัครรายแรกจากต่างประเทศ  ซึ่ง เขาได้รายงาน ต่อหน้า หลุมศพของศาสตราจารย์  เกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นเลิศ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่าง สองประเทศ คือญี่ปุ่น กับสหรัฐอเมริกา  ผ่านกระบวนการสอบ

นอกจากนี้ ก่อนที่ท่านเกษียณ ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้พิมพ์หนังสือ “On QC Counseling  to Companies” (1985)  และ  “Attitude Necessary for Members of the Application Prize Sub-Committee” (1985)   ซึ่งได้เสนอ ภาพที่ตกผลึก ของประสบการณ์ 35 ปี ใน  Deming Prize Examination Committee และ หนังสือเหล่านี้ ยังคงเป็นแนวทางที่สำคัญสำหรับ สมาชิกของ คณะอนุกรรมการนั้น  แม้ในปัจจุบันนี้

ศาสตราจารย์อิชิกาวา ยังได้ ทำคุณประโยชน์ที่โดดเด่น แก่การเติบโต และการพัฒนาของ ทั่วทั้ง Deming Prize Committee   นอกเหนือจากในฐานะ รองประธานของ Application Prize Sub-Committee  ท่านยังได้ประสบความสำเร็จ ในฐานะสมาชิกของ Deming Prize for Individuals  Sub-Committee   ยังเป็น สมาชิกของคณะอนุกรรมการPrize System     ประธานของคณะอนุกรรมการ  Nikkei Quality Control Literature Prize  ด้วย

นอกจากนี้ แม้แต่ในต่างประเทศ ซึ่งมีบูมที่เกิดขึ้นเงียบๆ  ของการก่อตั้งรางวัลขึ้นมา โดยอาศัยโมเดล หลังจากมี Deming Prize  รางวัลหนึ่งก็คือ Malcolm Baldrige  National Quality Award  ในสหรัฐอเมริกา    การพิจารณาในสภา คองเกรส เกี่ยวกับรางวัลนี้ เริ่มขึ้นในปี 1986  โดย  Dr. Joseph Juran และ John  J. Hudiburg (ประธานของ Florida  Power and Light ในขณะนั้น)   ได้รับเชิญให้ไปปาถกฐา ที่ประชุมพิจารณ์   ทั้งสองท่าน ได้เน้นถึงบทบาทของ Deming Prize ในการส่งเสริม การควบคุมคุณภาพ  และ ได้ให้ความเห็นว่า รางวัลที่คล้ายคลึงกับ Deming Prize เป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับ สหรัฐอเมริกา   ผลลัพธ์ก็คือ ได้มีการผ่านกฎหมาย ผ่านสภาผู้เทนราษฎร ในเดือน สิงหาคม ปี 1987 และมีผลในปี 1988   รางวัลนี้ ได้รับการตั้งชื่อว่า Malcolm Baldrigeรัฐมนตรีกระทรางพาณิชย์ ซึ่ง เป็นผู้สนับสนุนอย่างแข็งขัน ในเรื่อง การค้าเสรี และ ถึงแก่มรณกรรมอย่างกระทันหันในปี 1987


 

8.5 การทำงานหนักเพื่อการพัฒนา การประชุมวิชาการ QC  (Working  hard for the Development  of QC Conferences)

ในปัจจุบัน  “QC Conference”   ได้จัดขึ้นทุกปี ในเดือนพฤศจิกายน  เป็นงานที่สรุปรวม กิจกรรมทั้งปี เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ  และจะมีผู้เข้าร่วม ประมาณ 4000 คน

Conference นี้ ได้เริ่มจัดขึ้นพร้อมกับนิทรรศการ ที่ Osaka Chamber of Commerce  Lecture Hall ในวันที่ 22 กันยายน ปี 1951   ซึ่ง ได้มีการวางแผนจัดขึ้น เป็นนิทรรศการ แสดงกิจกรรมการนำเสนอการควบคุมคุณภาพ ที่เกิดขึ้นที่หน้างาน และผู้ที่เข้าร่วมงานสามารถเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  งานนี้ได้จัดขึ้นเพียงวันเดียว แต่ เป็น งาน ครั้งแรกของ Quality  Control  Conference ที่ได้เคยจัดขึ้น   ด้วยการเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นพร้อมกับการฟื้นตัวของญี่ปุ่น หลังสงคราม  งานนี้จึงเป็น ขั้นแรกของการสร้างสรรค์คุณภาพผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่น

จากผลตอบรับที่ โอซากา  จึงได้มีการปรับเนื้อหาเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1952  conference นี้ ได้จัดขึ้นทุกปี ในเดือน พฤศจิกายน ของทุกปี  หลังจากนั้น ก็ได้มีการจัดตั้ง  “Quality Month”  และงานนี้ ก็ได้กลายมาเป็นงานหลักของ Conference  ซึ่งยังคงมีอยู่จนถึงทุกวันนี้  ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้ทำหน้าที่เป็นประธานตั้งแต่การ conference ครั้งแรกจนถึงครั้งที่ 12  และหลังจากนั้น ก็ยังร่วมในการวางแผน และ จัดทำ ทิศทางในการติดตามผล  จากมุมมองที่กว้างออกไป ในฐานะ ประธานของ คณะกรรมการ Quality Month

ตั้งแต่ปี 1957 เป็นต้นมา  conference  ครั้งที่ 2 ได้ถูกจัดเพิ่มขึ้น เพื่อขยายการปฏิบัติการควบคุมคุณภาพ ไปสู่ภูมิภาค  จึงได้มีการจัด Spring Quality Control Conference (3 วัน)   ซึ่งจัดขึ้นในช่วยเดือน พฤษภาคม หรือ มิถุนายน ของทุกปี ในเมืองอื่นๆ ที่สำคัญ นอกเหนือ จากโตเกียว

จากความสนใจเพิ่มขึ้นต่อ กิจกรรมการควบคุมคุณภาพ  Quality Control Conference for Foreman  จึงได้จัดขึ้นในปี 1962  (และเรียกว่า  Quality Control Conference for Management ตั้งแต่ปี 1990 (3วัน)  และในปีต่อมา ปี 1963 ได้มีการจัด  Top Management Quality Control Conference (ครึ่งวัน)    พร้อมกับการนำเอา การควบคุมคุณภาพเข้าสู่ อุตสาหกรรมบริการ จึงได้มีการจัด  Service Industry Quality Control Conference ขึ้น ในปี 1985 (2 วัน)  และ ยังคงดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน

ในช่วง 10 ปีหลัง  รูปแบบของ conference ได้มีการปรับให้เป็นมาตรฐาน  แต่ในช่วงเริ่มต้นนั้น ไม่ได้มีการกำหนด รูปแบบ หรือ วิธีการ ซึ่งเป็นฐานของ conference   ซึ่งที่ผ่านมา เป็นการจัดขึ้นโดยที่มีศาสตราจารย์อิชิกาวา เป็นหัวเรือใหญ่ และ มีความร่วมมือจากคนจำนวนมาก   กฏกติกา จึงเป็นไปตามความเชื่อของศาสตราจารย์อิชิกาวา ในความไม่มีขีดจำกัดของความสามารถของมนุษย์  รวมทั้งไอเดียของท่านที่ว่า  “อย่าบอกว่าคุณทำไม่ได้  ให้คิดว่าคุณจะทำอย่างไร”  “จงทำ และ ค่อยคิดถึงมัน”  และ “คิดด้วยตัวของคุณเอง  การปรับปรุงเป็นบางอย่างที่คุณต้องการที่จะนำเสนอให้ผู้อื่น”      ในขณะที่ conference เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กันได้ภายใต้ นิสัยที่ไดนามิกของท่าน ในขณะนั้น  ท่านจะดูเหมือน รถกรุยดิน (bulldozer)    ท่านสามารถกลั่นความรู้ของสมาชิกคณะกรรมการ และ ทำให้เป็น การปฏิบัติได้  และ เพื่อที่จะทำให้ทุกสิ่งมารวมกัน  ศาสตราจารย์อิชิกาวา ไม่เพียงแต่ใช้ความสุภาพของท่านเท่านั้น แต่ยัง มอบหมายประเด็นต่างๆ  และในบางครั้งดูเหมือนท่าทีที่แข็งกร้าว แสดงให้เห็นความเป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง ต่อสิ่งที่วิกฤติ เช่น กำหนดการเกี่ยวกับ conference หรือการประชุมสัมมนา    ในที่ประชุมวางแผน   มีบรรยากาศ ของอำนาจ ซึ่งสร้างให้เกิดความรู้สึกว่า ถ้า ศาสตราจารย์อิชิกาวากล่าวสิ่งใด ทุกคนต้องทำตาม    สิ่งนี้ ได้ฝังรากเป็นกฎกติกาพื้นฐานของท่านในการชี้แนะ ถ้าคุณกล่าวบางอย่าง คุณจะต้องทำให้ได้ และ  ความเข้าใจที่ว่า เมื่อมีการเรียกประชุมแล้ว  การไม่เข้าร่วมนั้น เป็นสิ่งที่เลือกไม่ได้   ข้าพเจ้าตรึงใจอย่างมากต่อทั้งความใจดีของท่าน และ ความจิตสำนึกต่อความรับผิดชอบ ที่ท่านมีต่อตัวเอง  ต่อคณะกรรมการ และสังคมโดยรวม  ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ด้วยการกระทำของท่าน

ถึงแม้ว่า ระดับของกิจกรรมการควบคุมคุณภาพ จะพัฒนาขึ้นพร้อมกับ การนำมาใช้อย่างต่อนื่องของกิจกรรมไคเซ็นของบริษัท   ซึ่งพึ่งพา approaches และวิธีการที่เป็นรูปแบบทางการภายใน  ที่มีแนวโน้ม ทำให้ผู้คนยึดติดกับการลอกเลียนแบบ และ ดื้อดึง   ในบางประเด็น  การจำลองจากภายนอก เป็นสิ่งจำเป็นในการรักษา การนำมาใช้อย่างต่อเนื่องนี้ได้  ในเวลาเดียวกัน เพื่อรักษาความเป็นสากลในการให้วิธีการนั้นฝังรากลงได้  การทดลองทำในหลายๆ บริษัท เป็นสิ่งที่จำเป็นในการขัดเกลาให้มีความประณีตขึ้นได้  Quality Control Conference นั้น ไม่เพียงแต่สร้างโอกาสให้นำเสนอ กิจกรรมการพัฒนาปรับปรุงของบริษัทหรือ การแลกเปลี่ยนความเห็น หรือ การเร่งเร้าผู้เข้าร่วมเท่านั้น  แต่ยังทำคุณประโยชน์ ในการพัฒนาไอเดีย และวิธีการมากมายได้ด้วย    นอกจากนี้ บทความที่นำเสนอทั้งหมด จาก การประชุมนี้ ได้มีการตีพิมพ์ ในฉบับพิเศษของวารสาร Hinshitsu Kanri (Statistical Quality Control)     ซึ่งผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วม Conference จำนวนมาก จะได้อ่าน  ทำให้สามารถขยายผลในการกระจายการนำมาใช้ในเชิงปฏิบัติ เรื่อง approaches and methods ใหม่ๆ  ซึ่งจับมือกันไปกับการจัด conference นี้

ตัวอย่างเช่น Matsuyama Conference ซึ่งจัดขึ้นในปี 1964  การนำเสนอ และ panel discussion เกี่ยวกับ  “control point” มีผลกระทบอย่างโดดเด่น ในการคิดเกี่ยวกับการควบคุม  ในปี 1972 Fukuoka Conference  การนำเสนอโดย  Mitsubishi Heavy Industries Kobe Shipyard and Machinery Work  ได้มีการแนะนำเรื่อง “Quality Table” ซึ่งภายหลังได้รับการปรับปรุงเพิ่มขึ้นโดยบริษัทอื่นๆ จำนวนมาก  ทำให้ปัจจุบัน ได้กลายเป็น เทคนิคที่ขาดไม่ได้ ในเรื่องคุณภาพ และ การขยายผลกลไกคุณภาพ สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และในปัจจุบัน ก็ได้มีการใช้อย่างกว้างขวาง ในสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ในชื่อของ QFC (Quality Function Deployment)   ในวิถีนี้  การจัด Conferences  เป็นประจำในเรื่องเหล่านี้  เป็น คุณลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของ กิจกรรมการควบคุมคุณภาพระดับชาติ ในญี่ปุ่น

ในเวลาเดียวกัน  สำหรับนักวิจัยการควบคุมคุณภาพ  ฉบับพิเศษของวารสาร เป็นเอกสารอ้างอิงที่สำคัญ เมื่อจะดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับ การควบคุมคุณภาพของญี่ปุ่น

ในช่วงที่ ศาสตรจารย์.อิชิกาวามีชีวิตอยู่  เช่น จนถึงปี 1988 บทความจำนวนมาก ที่ได้มีการนำเสนอ ใน Manager/Staff Quality Control Conference มีจำนวนทั้งสิ้น 4,375 บทความ

(Teruo  Okubo,  Manager of JUSE Division 3)


 

8.6  การจัดทำให้เกิด Quality Month (Implementation of Quality Month)

มันเป็นช่วงที่กล่าวได้ว่า “ถูกแต่ คุณภาพต่ำ”  ได้เป็นคำเปรียบเทียบกับสินค้าส่งออกของญี่ปุ่น  เพราะว่า การพัฒนาปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะไม่มีความเข้าใจของสาธารณะ  ศาสตราจารย์คะโอรุ  อิชิกาวา มีไอเดียที่จะสร้างสรรค์งานนิทรรศการที่จะอ้อนวอนให้เห็นความสำคัญของคุณภาพ และเพิ่มการรับรู้เรื่องคุณภาพ  ดังนั้น ในปี 1960 คณะกรรมการ Quality Month ได้ถูกจัดตั้งขึ้น โดยที่ ศาสตราจารย์อิชิกาวา เป็นประธาน และ มีสมาชิกจาก ภาคอุตสาหกรรม  ภาครัฐ และภาควิชาการ  มีความจริงจัง ในสาขาของการควบคุมคุณภาพ  ได้มีการเลือกให้เดือนพฤศจิกายน ของปีนั้น เป็น  “Quality Month”  และการเตรียมตัวก็ได้เกิดขึ้น

กิจกรรมนี้ได้รับการสนับสนุน และดำเนินการโดย  3 องค์การ  ได้แก่ Union of Japanese Scientists and Engineers (JUSE) ,  Japan Standards Association (JSA)   และ Japanese  Chamber of Commerce and Industry   กิจกรรมได้มีการจัดอย่างกว้างขวางทั่วทั้งประเทศ ภายใต้การสนับสนุนทางการเงินจากองค์การและสถาบันได้แก่ Science and Technology Agency,  Economic Planning Agency, Ministry of Welfare,  Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries,  Ministry of International Trade and Industry’s Agency of Industrial Science and Technology,  Ministry of Transport,  Ministry of Posts and Telecommunications   Tokyo  Metropolitan Government,  Japan Productivity Center(JPC) ,  Japan Management Association (JMA),  Japan Broadcasting Corporation (NHK)  (เข้าร่วมในปีต่อมา คือ Japan Consumers’ Association  และ Japan Society for Quality Control)

ได้มีการกำหนดว่า งานแรกๆ ของ คณะกรรมการ Quality Month คือการ จัดตั้ง “Q flag” ซึ่งได้กลายเป็นสัญลักษณ์ ของ  Quality Month  และได้นำมาขาย   ยังมีการจัดให้มีการบรรยายสาธารณะในภูมิภาค จำนวน 11 ภูมิภาค  การเตรียมการ และขาย เอกสารประกอบ Quality Month    การจัดทำและขาย โปสเตอร์ Quality Month   หลังจากนั้น เพื่อเป็น การชักชวน  การเตรียมการ และการขายไอเดียสำหรับ Quality Month slogan ซึ่งได้จัดทำรายชื่อ กิจกรรมนิทรรศการ สำหรับ Quality Month  เสร็จสิ้น  สิ่งเหล่านี้ยังคงดำเนินการอยู่ ในปัจจุบัน

ตั้งแต่ปี 1969   ได้มีการจัดบรรยาย สำหรับผู้บริโภค  ซึ่งมีการให้การศึกษาที่ฟรี และ ฝึกอบรมกลุ่มผู้บริโภค และแม่บ้าน ทั้งหลายของแต่ละครอบครัว   เพื่อปลุกเร้าให้ผู้บริโภคมีความสนใจต่อปัญหาคุณภาพ และการควบคุมคุณภาพ  กิจกรรมนิทรรศการต่างๆ ที่นำเสนอผลงานการวิจัย ที่ดำเนินการโดยกลุ่มต่างๆ  ก็มีการจัดขึ้นจำนวนมาก  การบรรยายเหล่านี้ ก็เป็นผลลัพธ์จากการแนะนำของศาสตราจารย์อิชิกาวา เช่นกัน

พร้อมกับความเชื่อที่มั่นคงของท่านว่า สติปัญญา และ การกระทำ ของ แต่ละปัจเจกบุคคล เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการฟื้นฟู และเติบโตของญี่ปุ่น  และ ปรัชญานี้ จำเป็นจะต้องได้รับการเผยแพร่ขยายให้กว้างขวางในกลุ่มประชาชน  ศาสตราจารย์อิชิกาวาเอง ก็นำเสนอเกี่ยวกับ Quality Month แก่ผู้สื่อข่าวในการแถลงข่าวที่หอการค้า และเรียกร้องความร่วมมือจากพวกเขา  ในคณะกรรมการ Quality Month ท่านพูดถึง เรื่องคุณภาพอยู่เสมอๆ  นำเสนอภาพที่ชัดว่า ด้วยความเชื่อมั่นของประเทศต่อผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาและสร้างความเติบโตให้กับเศรษฐกิจ  ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพ จะเป็นปัญหาวิกฤติสำหรับญี่ปุ่น และท่าน ได้ เริ่มต้นที่จะสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้สูงขึ้น   ในเวลาเดียวกัน   สำนึกพิเศษของท่านเกี่ยวกับจังหวะเวลา ทำให้ท่านอยู่บนระดับสูงสุดของประเด็นปัญหาในขณะนั้นอยู่เสมอ  เช่น ในช่วงของ globalization และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม  และนำไปสู่การปฏิบัติจริง   ข้าพเจ้า คิดว่า สำหรับประชาชนในยุคนั้นแล้ว   คำถามว่า การฟื้นตัวของญี่ปุ่นจะขึ้นอยู่กับอะไรร นั้นเป็นประเด็นที่สำคัญมาก  แต่ ก็มีไอเดีย ในการใช้ ไอเดียของการควบคุมคุณภาพ เพื่อปรับปรุงคุณภาพ เพื่อช่วยให้ญี่ปุ่นเติบโต  และพัฒนา ซึ่ง เรา สมาชิกของ JUSE  จะได้ยินเสมอจาก ศาสตราจารย์อิชิกาวา

ในฐานะผู้นำ  ศาสตราจารย์อิชิกาวา มักจะสั่งสอนสมาชิกคณะกรรมการถึงความสำคัญของ ไม่ซ่อนเร้นอยู่ในกะลา และธำรงรักษาจิตวิญญาณของ การยอมรับ  ใช้ไอเดียที่ดี ปราศจาก ไอเดียที่ยึดติด หรือ อคติ  นี่คือจิตวิญญาณที่แท้จริงของ Quality Month  และ ข้าพเจ้าเชื่อว่านื่คือ  code of conduct (จรรยาบรรณ)  ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งเราต้องทำให้ยั่งยืน

ระบบ Quality Month ก็ได้รับการปรับใช้ในหลายๆ ประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา   ไอเดียของศาสตราจารย์อิชิกาวายังได้รับการยอมรับในระหว่างประเทศอยู่เสมอมา (กรุณาอ่านใน Section 12.1 (4))

(Teruo Okubo)


ส.ส.ท. ได้รับอนุญาตจาก JUSE ในการแปลและเผยแพร่บทความเรื่อง  “Kaoru Ishikawa, The Man and Quality Control”


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที