แพรวรา

ผู้เขียน : แพรวรา

อัพเดท: 30 มิ.ย. 2021 11.31 น. บทความนี้มีผู้ชม: 214436 ครั้ง

รวมสาระน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องการประกันภัยรถยนต์ ฉบับง่าย ๆ ที่ไม่มีใครบอก


สรุปแล้วเราสามารถขาดต่อภาษีรถยนต์ได้กี่วันกันแน่ อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

ขาดต่อภาษีรถยนต์

การทำเรื่องต่อภาษีรถยนต์เป็นสิ่งที่คนมีรถนั้นต้องทำเป็นประจำทุกปี ไม่สามารถ ขาดต่อภาษีรถยนต์ ได้เลยสักปี หากมีการปล่อยให้ภาษีรถยนต์ขาดต่อ แน่นอนเลยว่าในปีถักไปก็จะต้องเสียค่าปรับให้กับกรมขนส่งทางบก แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีคนจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ที่เล็งเห็นว่าการทำเรื่องต่อภาษีรถยนต์นั้นเป็นเรื่องวุ่นวาย ยุ่งยาก สุดท้ายก็ผลัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายก็ลืมไปต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปี จนทำให้ขาดต่อภาษีรถยนต์

เรื่องราวที่จำนำมาแชร์ในวันนี้ ก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขาดต่อภาษีรถยนต์ ว่าสามารถ ขาดต่อภาษีรถยนต์ ได้หรือไม่ หากใครที่ปล่อยให้ภาษีรถยนต์นั้นขาดต่อ จะต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง รับรองว่ารู้อย่างแน่นอน 100%

ในเบื้องต้น เราจะมาดูข้อมูลของค่าปรับทะเบียนรถขาดกันก่อน ว่าจะต้องเสียค่าปรับเท่าไหร่กันบ้าง ?

 

ค่าปรับทะเบียนรถขาด

สำหรับอัตราค่าปรับเมื่อขาดต่อภาษีรถยนต์ จะแบ่งรายละเอียดเป็นดังนี้

 

ขาดต่อภาษีรถยนต์ 2 ปี ทำอย่างไร

หากใครที่ปล่อยให้ขาดต่อภาษีรถยนต์ 2 ปี โดยไม่ถึง 3 ปี เจ้าของรถสามารถทำเรื่องต่อภาษีรถยนต์ได้แลยแบบปกติ เพราะทะเบียนรถยนต์ยังไม่ถูกระงับการใช้งาน แต่ทั้งนี้.. จำเป็นจะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน ซึ่งจะมีการคิดคำนวณจนถึงวันที่มาต่อภีรถจริง ๆ

เอกสารที่ใช้

-สมุดทะเบียนรถยนต์

-พ.ร.บ.รถยนต์

-ใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. หรือ กรมขนส่ง (ใช้สำหรับรถยนต์ที่เกิน 7 ปี)

 

ขาดต่อภาษีรถยนต์ 3 ปี

ใครที่ตกอยู่ในสถานะนี้ ก็ขอแสดงความเสียใจด้วยค่ะ เพราะขั้นตอนการต่อภาษีหลังจากที่ขาดต่อภาษีรถยนต์ 3 ปี หรือเกิน 3 ปีขึ้นไป ทะเบียนรถยนต์ของคุณจะอยู่ในสถานะที่ถูกระงับการใช้งานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ทำได้ คือ

1.นำสมุดทะเบียนรถมาให้ทางราชการบันทึกข้อมูลรายละเอียดการระงับทะเบียนที่สำนักงานขนส่งในพื้นที่นั้น ๆ

2.จ่ายเงินค่าต่อภาษีรถยนต์ที่ค้างเอาไว้ และต้องเสียภาษีรถยนต์เพิ่มเติมร้อยละ 1 ต่อเดือน จนถึงวันที่ได้มีการชำระค่าภาษีรถยนต์จริง ๆ

3.ทำเรื่องขอใช้รถยนต์หลังจากที่ถอนอายัด และชำระเงินค่าธรรมเนียมใหม่ทั้งหมด นอกจากนี้ยังต้องซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ด้วย

เอกสารที่ใช้

-สมุดทะเบียนรถยนต์

-พ.ร.บ.รถยนต์

-สมุดทะเบียนรถที่บันทึกการระงับทะเบียน

หมายเหตุ : หากเจ้าของรถยนต์นั้นไม่สามารถเดินทางมาทำเรื่องเองได้ จำเป็นต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ พร้อมกับสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.newlorry.com

 

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที