suriya

ผู้เขียน : suriya

อัพเดท: 12 มี.ค. 2019 06.34 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1002 ครั้ง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการระดมทุนของภาคเอกชน


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการระดมทุนของภาคเอกชน

 

          เคยสงสัยกันมั้ยว่าการที่บริษัทเอกชนต้องการหาเงินทุนเพิ่มมาใช้หมุนเวียนในกิจการสามารถทำได้โดยวิธีไหนบ้าง รูปแบบใดที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ และเพราะเหตุใด ลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กัน
 
หลักทรัพย์มีอยู่หลายประเภท สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลักคือ
 
1.ตราสารทุน (Equity securities) เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เป็นต้น
 
2.ตราสารหนี้ (debt securities) แบ่งเป็น
 
   : ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล
 
   : ตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ เช่น เช่น พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
 
   : ตราสารหนี้ภาคเอกชน เช่น หุ้นกู้ ตั๋วแลกเงิน
 
3.ตราสารอนุพันธ์ (Derivative securities) เช่น สัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างๆ
 
          กรณีที่บริษัทเอกชนต้องการระดมทุนเพิ่ม สามารถทำได้ 2 อย่างคือ ขายหุ้น และขายหนี้
 
1.การขายหุ้นอาจอยู่ในรูปแบบการออกหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
 
2.การขายหนี้ มี 2 แบบหลักๆ คือ กู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ กู้เงิน ลงทุน หรือออกตราสารหนี้ขายนักลงทุน แต่การกู้ธนาคารมีต้นทุนที่สูงกว่า บริษัทจึงมักเลือกการออกตราสารหนี้แทน
          สำหรับการออกตราสารหนี้มีข้อดีกว่าออกหุ้นสามัญตรงที่บริษัทไม่ต้องจ่ายปันผล จ่ายเพียงดอกเบี้ยที่ตกลงกันเท่านั้น หากบริษัทได้กำไรจากธุรกิจสูง ก็ไม่เกิดการเพิ่มดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายแต่อย่างใด เพราะสถานะของผู้ซื้อนั้นเป็นเจ้าหนี้ไม่ได้มีสถานะเป็นเจ้าของเหมือนการซื้อหุ้นสามัญ
 
ตราสารหนี้โดยภาคเอกชนถือเป็นการขายหนี้เพื่อระดมทุนไปใช้หมุนเวียนในธุรกิจการค้า มีอยู่หลายแบบ เช่น หุ้นกู้ที่ถือเป็นการระดมทุนระยะยาว มีอายุ 1 ปีขึ้นไป และ ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) หรือ B/E ที่เป็นการระดมทุนในระยะสั้น อายุไม่เกิน 270 วัน B/E เป็นที่นิยมกว่าหุ้นกู้ เพราะมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก และระยะเวลากู้ยืมสั้นกว่าทำให้บริษัทเสียดอกเบี้ยน้อยกว่า อีกทั้งการออกหุ้นกู้นั้นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือที่เรียกว่า Rating ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจ้าง Rating Agency เข้ามาวิเคราะห์สถานะของบริษัท ในขณะที่ B/E ไม่จำเป็นต้องมี Rating ก็ได้
 
ทั้งนี้การออก B/E จะต้องกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน(จ่ายเงินต้น) และระบุดอกเบี้ยที่จะจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ ซึ่งดอกเบี้ยจะแปรผกผันกับระดับความน่าเชื่อถือของบริษัท (ลูกหนี้) ดังนั้นหากบริษัทที่สถานะการเงินไม่ค่อยดี ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็จะสูง บริษัทเหล่านั้นจึงหลีกเลี่ยงการจัดอันดับเนื่องจากหากได้ Rating ที่ต่ำก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงอยู่ดี B/E ที่ออกมาก็จะถูกเรียกว่า Non-rated B/E ในขณะเดียวกันก็มีบางบริษัทที่สถานะทางการเงินดีแต่ไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของการจ้าง Rating Agency ก็จะอยู่ในประเภท Non-rated B/E ไปด้วย
 
จะเห็นว่าในมุมมองของภาคเอกชนนั้น การออกตั๋วแลกเงิน ถือเป็นการระดมทุนที่มีต้นทุนในการจัดการที่ต่ำ เงื่อนไขการออกไม่ยุ่งยากและมีความคล่องตัว รูปแบบนี้จึงได้รับความนิยมมาก ดังจะเห็นว่าหลายปีให้หลังมานี้มีบริษัทเอกชนจำนวนมากเลือกที่จะใช้รูปนี้กันมากขึ้น และยิ่งบริษัทได้รับการจัดระดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สูงและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในแง่ของการดำเนินธุรกิจมายาวนาน มีความมั่นคงทางการเงิน ก็จะยังคงได้ร้บความสนใจจากนักลงทุนแม้ระดับดอกเบี้ยจะไม่สูงมากเท่าบริษัทที่ความเชื่อถือน้อยกว่าก็ตาม

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที