KC

ผู้เขียน : KC

อัพเดท: 02 มี.ค. 2007 19.31 น. บทความนี้มีผู้ชม: 44192 ครั้ง

ในเมืองใหญ่ปัญหาจราจรติดขัดเป็นปัญหาที่ต้องมีการแก้ไข วิธีการหนึ่งก็คือการทำให้การจราจรไหลอย่างต่อเนื่องและคล่องตัว ซึ่งวิธีการหนึ่งก็คือ การก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางแยกต่างๆ ติดตามในรายละเอียดว่าการออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่างในอุโมงค์ทำได้อย่างไร


ตัวอย่างการออกแบบไฟแสงสว่างอุโมงค์รถยนต์และทางลอด

 

โครงการทางลอดแห่งหนึ่งบริเวณทางแยกแห่งหนึ่งที่มีการจราจรหนาแน่น มีความยาวของอุโมงค์ส่วนปิด (Enclosed tunnel) 300 เมตร โดยเป็นอุโมงค์ชนิด one – way traffic หรือเดินรถทางเดียว จำนวน 2 อุโมงค์แยกกันโดยมี design limit เท่ากับ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ขั้นตอนที่ 1 กำหนด stopping distance จากค่า design limit

จากตารางที่ 2 ค่า design limit ที่ 60 km/hr จะได้ค่า stopping distance = 70 เมตร

 

ขั้นตอนที่ 2 กำหนด tunnel lighting classification จาก traffic flow และ  traffic type

ในกรณีนี้อาจจะประเมินได้ว่า traffic flow สูง และมีการใช้สำหรับรถยนต์เท่านั้นไม่อนุญาตให้มอเตอร์ไซด์วิ่งในอุโมงค์ ดังนั้น Tunnel lighting class จึงเป็น class 3

 

ขั้นตอนที่ 3 กำหนดค่า access zone luminance

จากตารางที่ 4 ที่ stopping distance 70 m และ sky percentage 25% จะได้ค่า L20 = 5,000 cd/m2

 

ขั้นตอนที่ 4 กำหนด ค่าความส่องสว่างเวลากลางวันของโซนต่างๆของอุโมงค์

(4.1)       คำนวณค่า Threshold zone luminance

ค่า L20 = 5,000 cd/m2

ค่า k = 0.04 จะได้ค่า            Lth                          =             k x L20

                                                Lth                          =             0.04 x 5,000         =             200 cd/m2

Threshold zone 1:  50 เมตร Lth                       =             200 cd/m2 maintained

Threshold zone 2: 20 เมตร Lth                        =             150 cd/m2 maintained

(4.2)           คำนวณค่า Transition zone luminance

ความส่องสว่างเมื่อสิ้นสุด transition zone ต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 3 เท่าของค่า interior zone หรือไม่น้อยกว่า 6 cd/m2 หรือเท่ากับ 2.7% จาก reduction curve ลากเส้นหาจุดสิ้นสุดของ transition zone จะได้ว่า ความยาวทั้งหมดของ transition zone เท่ากับ 166 เมตร โดยแบ่ง transition zone เป็น 3 ช่วง

Transition zone 1: 35 m. Ltr             =             80 cd/m2 maintained

Transition zone 2: 35 m. Lth             =             30 cd/m2  maintained

Transition zone 3: 50 m. Lth             =             17 cd/m2  maintained

 

(4.3)       คำนวณค่า Interior zone luminance

ค่าความส่องสว่างของ interior zone เท่ากับ 9.4 cd/m2 maintained โดยมีความยาวของ Interior zone เท่ากับ 50 เมตร

 

(4.4)           คำนวณค่า Exit zone luminance

ค่าความส่องสว่างของ exit zone มีค่าเท่ากับ 5 x 9.4 = 47 cd/m2 maintained และมีความยาวเท่ากับ 60 เมตร

 

(4.5)           การกำหนดค่าความสม่ำเสมอของความส่องสว่าง

จากตารางที่ 8 จะได้ค่า Uo และค่า Ui ที่ tunnel lighting class 3 เท่ากับ มากกว่าหรือเท่ากับ 0.4 และ 0.6 ตามลำดับ

 

รูปที่ 12: Luminance reduction curve for Case study 1

 

สรุป Tunnel lighting design criteria ได้ดังตารางที่ 10

 ตารางที่ 10: Tunnel lighting design criteria

 

เอกสารอ้างอิง

1.                   BS 5489 – 2 : 2003 Code of practice for the design of road lighting Part 2: Lighting of tunnels

2.                   Philips Lighting Fifth edition Lighting Manual section 7.2 Tunnel Lighting Page 308 – 323

Thorn Lighting Tunnel lighting publication No: 283(INT) publication date: 8/04

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที