ทีมงาน

ผู้เขียน : ทีมงาน

อัพเดท: 19 มิ.ย. 2020 13.43 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4484 ครั้ง

การวัดความรู้ ความสามารถของบุคลากรด้าน QCC เพื่อพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ


ตอนที่ 2/3 หมวดความรู้ ความสามารถที่บุคลากรด้าน QCC ต้องมี

เมื่อทราบถึงบทบาทหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมแล้ว จึงจำแนกความรู้ความสามารถได้ดังนี้

No

หมวดความรู้

ระดับผู้ปฏิบัติกิจกรรม QCC

ระดับที่ปรึกษากิจกรรม

ระดับกรรมการตัดสินผลงาน

1

แนวคิดคิวซี (QC Concept)

O

O

O

2

แนวคิดการบริหาร (QCC Management)

O

O

O

3

เครื่องมือคิวซี (QC Tools)

O

O

O

4

เครื่องมือคิวซี (QC Story )

O

O

O

5

ความเข้าใจความสำคัญของ Bottom up Activity ต่อองค์กร

 

 

O

6

ความสามารถในการให้คำปรึกษากลุ่ม

 

O

 

7

ความสามารถในการให้ข้อเสนอแนะแบบมืออาชีพ

 

 

O

 

ความหมายของ ความรู้ ความสามารถ เพิ่มเติม

หมวดที่ 5. ความเข้าใจความสำคัญของ Bottom up Activity ต่อองค์กร

หมวดย่อยที่ 5.1 Business Process knowledge
หมายถึง ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กร การจัดแบ่งโครงสร้างองค์กร โครงสร้างตำแหน่ง วิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์การดำเนินงานขององค์กร รวมทั้งความสามารถในการถ่ายทอด ให้ข้อเสนอแนะในข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่กลุ่มกิจกรรม และส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม

หมวดย่อยที่ 5.2 การส่งเสริมกิจกรรม QCC อย่างเป็นระบบ
หมายถึง ความเข้าใจการส่งเสริมกิจกรรม QCC อย่างเป็นระบบ ที่มุ่งเน้น กระตุ้น ส่งเสริมอย่างต่อเนื่องให้พนักงานทุกระดับได้มีส่วนร่วมแบบทั่วทั้งองค์กร 

หมวดย่อยที่ 5.3 การบริหารงานประจำวัน
หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถอธิบายถึงระบบ และขั้นตอนการทำงานของหน่วยงานที่ตนรับผิดชอบ และหน่วยงานอื่นๆ ที่อยู่ภายในองค์กร รวมทั้งความสามารถในการคิดวิเคราะห์ความมีประสิทธิภาพของกระบวนการ หรือขั้นตอนการทำงานใหม่ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่าง QCC กับ การบริหารงานประจำวัน

หมวดย่อยที่ 5.4 บทบาทการพัฒนาพนักงาน
หมายถึง เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ ในด้านการพัฒนาความรู้ให้กับกลุ่ม QCC และสามารถระบุสิ่งที่กลุ่มควรปรับปรุงได้อย่างเหมาะสม 


หมวดที่ 6. ความสามารถในการคำปรึกษากลุ่ม

หมวดย่อยที่ 6.1 การให้คำปรึกษา (การรับฟังและการจูงใจกลุ่ม)
หมายถึง การให้คำแนะนำและฝึกสอนผู้อื่นถึงเทคนิคและวิธีการในการทำกิจกรรม QCC ให้บรรลุผลสำเร็จ รวมถึงการพัฒนาความรู้และทักษะในการทำกิจกรรม QCC ทั้งของตนเองและผู้อื่นได้อย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ

หมวดย่อยที่ 6.2 การแก้ไขปัญหา
หมายถึง การวิเคราะห์และแจกแจงประเด็นปัญหาเพื่อหาแนวทางเลือกหรือคำตอบของปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์หนึ่ง ๆ

หมวดย่อยที่ 6.3 การบริหารเวลาของกลุ่ม
หมายถึง การจัดสรรเวลาในการบริหารจัดการงานประจำวันและงานเร่งด่วนที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จและได้คุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานซึ่งสามารถนำส่งมอบงานให้ผู้อื่นได้ตามเวลาที่กำหนด

หมวดย่อยที่ 6.4 ทัศนคติที่ดีต่อกิจกรรม QCC
หมายถึง ความเข้าใจและแสดงออกถึงความสำคัญของกิจกรรมต่อการบริหารงานประจำวันของตนเอง ความสำคัญของกิจกรรมต่อองค์กร และสมาชิกกลุ่ม

หมวดย่อยที่ 6.5  ความกระตือรือร้น
หมายถึง ความต้องการที่จะทำงานของตนให้ประสบความสำเร็จตามแผนที่กำหนดรวมถึงความรู้สึกตื่นตัวในการเรียนรู้ที่จะพัฒนาความสามารถ และศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ ตลอดจนความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการทำงานของสมาชิกในทีม


หมวดที่ 7. ความสามารถในการให้ข้อเสนอแนะแบบมืออาชีพ

หมวดย่อยที่ 7.1 การอ่าน การฟัง วิเคราะห์ สรุปประเด็น
หมายถึง ความสามารถในการอ่าน การฟัง การตั้งคำถาม การวิเคราะห์ และสรุปประเด็น ข้อดี ข้อเสียของผลงาน ในทุกมิติ ได้อย่างเหมาะสม(กระบวนการนำเสนอ, QC Story, Tools, Technique, อื่น)

หมวดย่อยที่ 7.2 การประเมินผลงาน
หมายถึง ความสามารถในการประเมินผลงานโดยอาศัยองค์ความรู้ทางวิชาการของกิจกรรมQCC และเกณฑ์การประเมินผลงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

หมวดย่อยที่ 7.3 การสื่อสารเพื่อยกระดับทักษะกลุ่ม QCC
หมายถึง ความสามารถในการให้ข้อเสนอแนะด้วยการพูดเพื่อจูงใจให้เกิดการพัฒนา ในจุดสำคัญทั้งข้อดี ข้อเสียของผลงาน ในทุกมิติ (กระบวนการนำเสนอ, QC Story, Tools, Technique, อื่น)

หมวดย่อยที่ 7.4 ทัศนคติที่ดีต่อกิจกรรม QCC
หมายถึง ความเข้าใจ และแสดงออกซึ่ง ความเชื่อ แนวคิดในการปฏิบัติกิจกรรม QCC ที่จะพัฒนาพนักงาน การทำงานเป็นทีม ไปตามทิศทางที่องค์กรต้องการ และรวมถึงการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการโดยรวมขององค์กร

หมวดย่อยที่ 7.5 ภาวะผู้นำ (การกระตุ้น จูงใจกลุ่ม QCC)
หมายถึง ความสามารถในการแสดงออกถึงความรับผิดชอบของคณะกรรมการที่รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองต่อการบริหารกิจกรรม QCC ในองค์กร ในการปฏิบัติหน้าที่ และจูงใจการปฏิบัติกิจกรรมของกลุ่มกิจกรรม QCC ในโอกาสที่เหมาะสม


บทความโดย เรไร เฟื่องอาวรณ์
 
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
สนใจวัดความสามารถทางด้าน QCC รอบด้าน ครบทุกมิติ ที่สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) http://www.tpif.or.th/consult/
 
ติดต่อสอบถาม
admin.sc@tpa.or.th
02-717-3000
(ต่อ คุณพณิตา 629, คุณวิชุดา 622)
 
----------------------------------------------------------

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที