GIT Information Center

ผู้เขียน : GIT Information Center

อัพเดท: 02 ก.ย. 2020 14.57 น. บทความนี้มีผู้ชม: 888 ครั้ง

ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและกำลังซื้อผู้บริโภคลดลงจากผลกระทบการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ในระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2563 ได้ลดลง 41.87% หรือมีมูลค่า 12,069.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หากรวมทองคำพบว่าไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้น 33.73% จากการส่งออกทองคำฯ สินค้าหลักในสัดส่วนราวม 80% ได้สูงกว่า 1.06 เท่า เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคาในช่วงที่ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนสินค้าสำคัญอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ต่างมีมูลค่าหดตัวลงมาก ส่วนตลาดส่งออกสำคัญก็ปรับตัวลดลงมากเกือบทุกตลาด ปัจจัยเสี่ยงการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังยังคงต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน และสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ


สถานการณ์นำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2563

การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2563 มีมูลค่า 3,877.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (121,198.24 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 41.95 (ร้อยละ 43.11 ในหน่วยของเงินบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยนำเข้าสินค้าสำคัญทุกรายการลดลง โดยเฉพาะสินค้าสำคัญอย่างทองคำ เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ซึ่งปรับตัวลดลงมาก

ตารางที่ 1 มูลค่าการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม ปี 2563

รายการ

มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

ม.ค.-ก.ค. 62

ม.ค.-ก.ค. 63

ม.ค.-ก.ค. 62

ม.ค.-ก.ค. 63

ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป

3,519.87

2,286.57

52.70

58.97

-35.04

เพชร

1,197.82

651.60

17.93

16.81

-45.60

เครื่องประดับแท้

534.54

314.59

8.00

8.11

-41.15

โลหะเงิน

309.83

251.99

4.64

6.50

-18.67

พลอยสี

357.51

205.17

5.35

5.29

-42.61

อื่นๆ

759.53

167.46

11.37

4.32

-77.95

รวม

6,679.10

3,877.38

100.00

100.00

-41.95

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.73 (ร้อยละ 32.54 ในหน่วยของเงินบาท) หรือมีมูลค่า 12,069.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (375,985.30 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 9,025.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (283,678.40 ล้านบาท) นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 1 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.06 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย โดยเป็นผลจากการส่งออกทองคำฯ ในสัดส่วนราวร้อยละ 79 ได้เพิ่มสูงกว่า 1.06 เท่า อันเนื่องมาจากการทำกำไรจากส่วนต่างของราคา ในช่วงที่ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เมื่อหักทองคำฯ ออก การส่งออกสินค้า
อัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 2
,576.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (79,423.87 ล้านบาท) ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 41.87 (ร้อยละ 43.07 ในหน่วยของเงินบาท) ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกสุทธิของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม ปี 2563

รายการ

มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

ม.ค.-ก.ค. 62

ม.ค.-ก.ค. 63

ม.ค.-ก.ค. 62

ม.ค.-ก.ค. 63

มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด

9,025.05

12,069.53

100.00

100.00

33.73

หัก มูลค่าส่งออกทองคำฯ

4,592.20

9,492.85

50.88

78.65

106.72

คงเหลือมูลค่าการส่งออกที่ไม่รวมทองคำฯ

4,432.85

2,576.68

49.12

21.35

-41.87

หัก มูลค่าสินค้าส่งกลับจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และอื่นๆ

337.03

148.28

3.73

1.23

-56.00

คงเหลือมูลค่าส่งออกสุทธิ

4,095.82

2,428.40

45.38

20.12

-40.71

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม ปี 2563

รายการ

มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

ม.ค.-ก.ค. 62

ม.ค.-ก.ค. 63

ม.ค.-ก.ค. 62

ม.ค.-ก.ค. 63

  1. ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป

4,592.20

9,492.85

50.88

78.65

106.72

  1. เครื่องประดับแท้

1,918.82

1,330.64

21.26

11.02

-30.65

2.1 เครื่องประดับเงิน

778.37

713.82

8.62

5.91

-8.29

2.2 เครื่องประดับทอง

1,020.50

559.40

11.31

4.63

-45.18

2.3 เครื่องประดับแพลทินัม

42.72

27.08

0.47

0.22

-36.61

2.4 อื่นๆ

77.23

30.35

0.86

0.25

-60.71

3. เพชร

922.30

488.33

10.22

4.05

-47.05

3.1 เพชรก้อน

49.80

18.45

0.55

0.15

-62.96

3.2 เพชรเจียระไน

872.13

469.12

9.66

3.89

-46.21

3.3 อื่นๆ

0.37

0.77

0.00

0.01

107.78

4. พลอยสี

866.04

355.44

9.60

2.94

-58.96

4.1 พลอยก้อน

81.87

35.92

0.91

0.30

-56.13

4.2 พลอยเนื้อแข็งเจียระไน

550.14

211.06

6.10

1.75

-61.64

4.3 พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน

234.02

108.46

2.59

0.90

-53.66

5. เครื่องประดับเทียม

240.28

147.03

2.66

1.22

-38.81

6. เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า

317.76

137.69

3.52

1.14

-56.67

7. อื่นๆ

167.64

117.55

1.86

0.97

-29.88

 

รวมทั้งสิ้น

(1+2+3+4+5+6+7)

9,025.05

12,069.53

100.00

100.00

33.73

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

จากตารางที่ 3 เมื่อแยกพิจารณาการส่งออกในรายผลิตภัณฑ์สำคัญพบว่า

  1. สินค้าสำเร็จรูป เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเทียม และเครื่องประดับแพลทินัม ลดลงร้อยละ 8.29, ร้อยละ 45.18, ร้อยละ 38.81 และร้อยละ 36.61 ตามลำดับ
  2. สินค้ากึ่งสำเร็จรูป เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ลดลงร้อยละ 46.21, ร้อยละ 61.64 และร้อยละ 53.66 ตามลำดับ

ทั้งนี้ ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 ลดลงมากถึง
ร้อยละ 41.87 ปัจจัยหลักยังคงเป็นผลกระทบมาจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย โดยการส่งออกไปยังตลาด/ภูมิภาคสำคัญในการส่งออกสินค้า
อัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ)
(ดังตารางที่ 4) ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 ลดลงร้อยละ 41.87 จากการส่งออกไปยังหลายตลาดสำคัญได้ลดลง ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักอย่างสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง รวมถึงตลาดสำคัญทั้งกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อินเดีย อาเซียน ญี่ปุ่น จีน และประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก

 

การส่งออกไปยังสหภาพยุโรป หดตัวลงร้อยละ 21.08 เนื่องจากการส่งออกไปยังเบลเยียม อิตาลี สหราช-อาณาจักร และฝรั่งเศส ตลาดในอันดับ 2-5 ได้ลดลง โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังเบลเยียมเป็นเพชรเจียระไน สินค้าส่งออกหลักไปยังอิตาลีและสหราชอาณาจักรเป็นเครื่องประดับทอง ส่วนสินค้าหลักส่งออกไปฝรั่งเศสเป็นเครื่องประดับเทียม ที่ล้วนมีมูลค่าลดลงอย่างมาก ส่วนการส่งออกไปยังเยอรมนี ตลาดอันดับ 1 ยังขยายตัวได้
ร้อยละ 12.37 จากการส่งออกเครื่องประดับเงิน สินค้าหลักในสัดส่วนราวร้อยละ 80 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.99      

มูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ปรับตัวลดลงร้อยละ 25.51 จากการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการได้ลดลงไม่ว่าจะเป็นสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน และสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และเพชรเจียระไน ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงมากจากผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งในไตรมาส 2 เศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัวลงร้อยละ 32.9 ซึ่งเป็นการลดต่ำที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

ส่วนการส่งออกไปยังฮ่องกง อีกตลาดหลักของไทย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 61.02 จากการส่งออกเพชร-เจียระไน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า เนื่องจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังเดินหน้าได้ไม่เต็มที่ รวมถึงการประท้วงที่ยังคงมีอยู่เรื่อยๆ

ตลาดสำคัญอื่นๆ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 40.31 เนื่องจากการส่งออกไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และอิสราเอล ตลาดหลักใน 3 อันดับแรกได้ลดลงร้อยละ 48.91, ร้อยละ 5.21 และร้อยละ 56.72 ตามลำดับ โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และกาตาร์เป็นเครื่องประดับทอง ต่างมีมูลค่าลดลง จากปัจจัยด้านราคาทองคำที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนสินค้าส่งออกหลักไปยังอิสราเอลเป็นเพชรเจียระไนและเพชรก้อน ที่ต่างปรับตัวลดลง

การส่งออกไปยังอินเดียลดลงร้อยละ 55.26 เนื่องจากอินเดียยังมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นสูง ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย จึงทำให้ไทยส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการไปยังอินเดียได้ลดลง ได้แก่ เพชร-เจียระไน โลหะเงิน พลอยก้อน และเครื่องประดับเงิน ตามลำดับ

ส่วนการส่งออกไปยังอาเซียนลดลงร้อยละ 46.18 อันเป็นผลจากการส่งออกไปยังสิงคโปร์ และมาเลเซีย ตลาดอันดับ 1 และ 3 ได้ลดลงร้อยละ 53.68 และร้อยละ 13.24 ตามลำดับ โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังสิงคโปร์เป็นเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าได้ลดลงมาก ส่วนมูลค่าการส่งออกไปยังมาเลเซียลดลงเพราะการส่งออกเครื่องประดับเงินซึ่งเป็นสินค้าหลักในปีที่ผ่านมาลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง แม้ว่าการส่งออกเครื่องประดับทองจะเพิ่มขึ้น
ก็ตาม สำหรับการส่งออกไปยังเวียดนาม ที่อยู่ในอันดับ 2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.97 โดยการส่งออกสินค้าสำคัญถัดมาอย่างโลหะเงินและเพชรเจียระไนได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าหลักอย่างอัญมณีสังเคราะห์หดตัวลง

ส่วนมูลค่าการส่งออกไปยังญี่ปุ่นหดตัวลงร้อยละ 22.08 จากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาลงต่อเนื่องของญี่ปุ่นทำให้ไทยส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการได้ลดลงไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับทอง เครื่องประดับแพลทินัม เพชร-เจียระไน และเครื่องประดับเงิน ตามลำดับ

การส่งออกไปยังจีนลดลงร้อยละ 26.72 โดยเป็นผลจากการส่งออกเครื่องประดับเงิน สินค้าหลักในสัดส่วนร้อยละ 90 และเครื่องประดับเทียม สินค้าสำคัญถัดมาได้ลดลงร้อยละ 12.63 และร้อยละ 23.05 ตามลำดับ ทั้งนี้ บริษัทส่งออกเครื่องประดับเงินอันดับหนึ่งของไทยไปยังจีนคือ บริษัท แพนดอร่า เซอร์วิสเซส

มูลค่าการส่งออกไปยังหมู่เกาะแปซิฟิกหดตัวลงร้อยละ 7.50 จากการส่งออกไปยังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ตลาดหลักในอันดับ 1 และ 2 ของไทยได้ลดลงร้อยละ 7.52 และร้อยละ 4.99 ตามลำดับ โดยการส่งออกไปยังออสเตรเลียลดลง เนื่องจากสินค้าสำคัญถัดมาอย่างเครื่องประดับทองลดลงร้อยละ 39.82 ในขณะที่สินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินก็เติบโตได้เพียงร้อยละ 2.79 ส่วนการส่งออกไปยังนิวซีแลนด์ เป็นผลจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินได้ลดลง ส่วนสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า และโลหะเงินยังขยายตัวได้ดี

สำหรับการส่งออกไปยังรัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราชเติบโตได้ร้อยละ 24.62 จากการส่งออกไปยังรัสเซีย ที่ครองส่วนแบ่งสูงสุดราวร้อยละ 85 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.42 โดยเป็นผลจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน และสินค้าสำคัญถัดมาอย่างเพชรเจียระไนและเครื่องประดับทองได้สูงขึ้นมาก ส่วนการส่งออกไปยังอาร์เมเนีย และยูเครน ตลาดในอันดับ 2 และ 3 ลดลงร้อยละ 6.96 และร้อยละ 53.90 ตามลำดับ ซึ่งการส่งออกไปยังอาร์เมเนียลดลง จากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างพลอยเนื้อแข็งเจียระไนได้ลดลง ในขณะที่สินค้าสำคัญอื่นอย่างเพชรเจียระไนและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนยังขยายตัวได้ ส่วนการส่งออกไปยังยูเครนลดลง อันเป็นผลจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างอัญมณีสังเคราะห์ ส่วนสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเครื่องประดับเงินยังสามารถเติบโตได้

ตารางที่ 4 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ไปยังตลาด/ภูมิภาคต่างๆ ในระหว่างปี 2562 – 2563

ประเทศ/ภูมิภาค

มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

ม.ค.-ก.ค. 62

ม.ค.-ก.ค. 63

ม.ค.-ก.ค. 62

ม.ค.-ก.ค. 63

สหภาพยุโรป

841.52

664.14

18.98

25.78

-21.08

สหรัฐอเมริกา

737.05

549.04

16.63

21.31

-25.51

ฮ่องกง

1,074.52

418.88

24.24

16.26

-61.02

กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

328.43

196.05

7.41

7.61

-40.31

อินเดีย

393.34

175.98

8.87

6.83

-55.26

อาเซียน

247.59

133.25

5.59

5.17

-46.18

ญี่ปุ่น

124.00

96.62

2.80

3.75

-22.08

จีน

121.77

89.24

2.75

3.46

-26.72

ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก

76.47

70.73

1.73

2.75

-7.50

รัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช

10.08

12.56

0.23

0.49

24.62

อื่นๆ

478.08

170.19

10.78

6.60

-64.40

รวม

4,432.85

2,576.68

100.00

100.00

-41.87

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

      

       จากการแพร่ระบาดโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลกในขณะนี้ และยังไม่มีประเทศใดผลิตวัคซีนได้สำเร็จ
อีกทั้งหลายประเทศยังคงมีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น จึงคาดว่าจะยังกระทบต่อการส่งออกของไทยในไตรมาส 3 ให้ยังคงอยู่ในภาวะทรงตัว แม้จะมีคำสั่งซื้อมาบ้างแต่ก็ไม่ได้มากนัก โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่จะยังคงระมัดระวังในการใช้จ่ายและซื้อสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพเป็นหลัก สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ ยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกที่อาจกลับมาระบาดรอบใหม่ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน และสงครามการค้าที่ต้องจับตาการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในช่วงปลายปี

          ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

2 กันยายน 2563

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที