GIT Information Center

ผู้เขียน : GIT Information Center

อัพเดท: 07 ต.ค. 2020 10.45 น. บทความนี้มีผู้ชม: 871 ครั้ง

ส่งออกของไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำลดลง 43.99% หรือมีมูลค่า 2,935 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยส่งออกสินค้าสำคัญเกือบทุกรายการไปยังประเทศคู่ค้าได้ลดลง ส่วนตลาดส่งออกสำคัญของไทยเกือบทุกตลาดก็หดตัวลงด้วย


สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเดือนมกราคม-สิงหาคม 2563

            การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2563 มีมูลค่า 4,341.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (245,665.51 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 43.85 (ร้อยละ 44.65 ในหน่วยของเงินบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยนำเข้าสินค้าสำคัญทุกรายการลดลง ไม่ว่าจะเป็นทองคำ เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน

ตารางที่ 1 มูลค่าการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี 2563

   

รายการ

มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

ม.ค.-ส.ค. 62

ม.ค.-ส.ค. 63

ม.ค.-ส.ค. 62

ม.ค.-ส.ค. 63

ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป

4,110.64

2,527.75

53.17

58.23

-38.51

เพชร

1,338.39

755.65

17.31

17.41

-43.54

เครื่องประดับแท้

684.34

352.55

8.85

8.12

-48.48

โลหะเงิน

359.45

288.59

4.65

6.65

-19.71

พลอยสี

394.59

225.90

5.10

5.20

-42.75

อื่นๆ

843.62

190.83

10.91

4.40

-77.38

รวม

7,731.02

4,341.28

100.00

100.00

-43.85

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

            การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2563 เติบโตร้อยละ 32.77 (ร้อยละ 32.58 ในหน่วยของเงินบาท) หรือมีมูลค่า 15,206.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (474,557.95 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 11,452.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (357,947.10 ล้านบาท) นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 1 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.91 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย โดยเป็นผลจากการส่งออกทองคำฯ ในสัดส่วนราวร้อยละ 80 ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 97.52 เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคา ในช่วงที่ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในวันที่ 6 สิงหาคม 2563 ราคาทองคำสามารถทำสถิตินิวไฮอยู่ที่ระดับ 2,067.15 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เนื่องจากความกังวลในสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกที่มีความผันผวนสูง ทั้งนี้ เมื่อหักทองคำฯ ออก การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 2,935 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (90,685.12 ล้านบาท) ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 43.99 (ร้อยละ 44.77 ในหน่วยของเงินบาท) ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกสุทธิของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี 2563

รายการ

มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

ม.ค.-ส.ค. 62

ม.ค.-ส.ค. 63

ม.ค.-ส.ค. 62

ม.ค.-ส.ค. 63

มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด

11,452.65

15,206.06

100.00

100.00

32.77

หัก มูลค่าส่งออกทองคำฯ

6,212.41

12,271.06

54.24

80.70

97.52

คงเหลือมูลค่าการส่งออกที่ไม่รวมทองคำฯ

5,240.24

2,935.00

45.76

19.30

-43.99

หัก มูลค่าสินค้าส่งกลับจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และอื่นๆ

363.62

156.77

3.17

1.03

-56.89

คงเหลือมูลค่าส่งออกสุทธิ

4,876.62

2,778.23

42.58

18.27

-43.03

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี 2563

รายการ

มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

ม.ค.-ส.ค. 62

ม.ค.-ส.ค. 63

ม.ค.-ส.ค. 62

ม.ค.-ส.ค. 63

  1. ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป

6,212.41

12,271.06

54.24

80.70

97.52

  1. เครื่องประดับแท้

2,281.79

1,535.03

19.92

10.09

-32.73

2.1 เครื่องประดับเงิน

907.57

833.93

7.92

5.48

-8.11

2.2 เครื่องประดับทอง

1,238.96

629.87

10.82

4.14

-49.16

2.3 เครื่องประดับแพลทินัม

48.93

35.56

0.43

0.23

-27.31

2.4 อื่นๆ

86.33

35.66

0.75

0.23

-58.69

3. เพชร

1,028.73

574.28

8.98

3.78

-44.18

3.1 เพชรก้อน

55.24

18.84

0.48

0.12

-65.90

3.2 เพชรเจียระไน

973.06

554.66

8.50

3.65

-43.00

3.3 อื่นๆ

0.43

0.78

0.00

0.01

81.40

4. พลอยสี

930.91

383.10

8.13

2.52

-58.85

4.1 พลอยก้อน

95.57

38.39

0.83

0.25

-59.83

4.2 พลอยเนื้อแข็งเจียระไน

588.01

228.44

5.13

1.50

-61.15

4.3 พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน

247.33

116.27

2.16

0.76

-52.99

5. เครื่องประดับเทียม

277.80

162.92

2.43

1.07

-41.35

6. เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า

539.89

148.12

4.71

0.97

-72.57

7. อื่นๆ

181.13

131.56

1.58

0.87

-27.37

 

รวมทั้งสิ้น

(1+2+3+4+5+6+7)

11,452.65

15,206.06

100.00

100.00

32.77

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

จากตารางที่ 3 เมื่อแยกพิจารณาการส่งออกในรายผลิตภัณฑ์สำคัญพบว่า

  1. สินค้าสำเร็จรูป เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเทียม และเครื่องประดับแพลทินัม ลดลงร้อยละ 8.11, ร้อยละ 49.16, ร้อยละ 41.35 และร้อยละ 27.31 ตามลำดับ
  2. สินค้ากึ่งสำเร็จรูป เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน หดตัวลงร้อยละ 43,
    ร้อยละ 61.15 และร้อยละ 52.99 ตามลำดับ

            ทั้งนี้ ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 ลดลงมากถึงร้อยละ 43.99 เนื่องจากเศรษฐกิจทั่วโลกยังคงผันผวนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยการส่งออกไปยังตลาด/ภูมิภาคสำคัญในการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ)(ดังตารางที่ 4) ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 ที่ลดลงนั้น เป็นผลมาจากการส่งออกไปเกือบทุกตลาดสำคัญได้ลดลงไม่ว่าจะเป็นสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อินเดีย อาเซียน ญี่ปุ่น จีน และประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก ตามลำดับ 

            การส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ปรับตัวลดลงร้อยละ 28.26 จากการส่งออกไปยังหลายตลาดสำคัญได้ลดลง โดยเฉพาะตลาดหลักอย่างเบลเยียม อิตาลี สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ในอันดับ 2-5 ที่ล้วนมีมูลค่าลดลงมาก โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังเบลเยียมเป็นเพชรเจียระไน สินค้าหลักส่งออกไปยังอิตาลี สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสเป็นเครื่องประดับทอง ต่างมีมูลค่าหดตัวลง เว้นเพียงเยอรมนี ตลาดที่ครองส่วนแบ่งสูงสุดราวร้อยละ 46 ยังเติบโตได้ร้อยละ 13.98 เนื่องจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน ในสัดส่วนราวร้อยละ 80 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.37 ทั้งนี้ในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้ ส่งออกไทยจะได้รับอานิสงค์จากแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ซึ่งอียูจัดสรรงบประมาณ 390,000 ล้านยูโรเพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิก      

            มูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 25.80 อันเป็นผลจากการที่สหรัฐฯ ยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ได้ จำนวนผู้ติดเชื้อมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อ ชาวสหรัฐฯ จึงลดการใช้จ่ายซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็นลง ทำให้ไทยส่งออกสินค้าสำคัญเกือบทุกรายการไปยังสหรัฐฯ ได้ลดลงทั้งสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน และสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน เพชรเจียระไน และเครื่องประดับเทียม

            การส่งออกไปยังฮ่องกง หดตัวลงร้อยละ 59.29 เนื่องจากสินค้าส่งออกสำคัญเกือบทุกรายการมีมูลค่าลดลงไม่ว่าจะเป็นเพชรเจียระไน เครื่องประดับทอง พลอยสีทั้งพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน รวมถึงเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า อันเป็นผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในรอบที่ 2 ทำให้การใช้จ่ายภายในประเทศลดลง ทั้งนี้ การค้าปลีกฮ่องกงยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนสิงหาคมลดลงร้อยละ 13.10 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2562  

            สำหรับการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลางนั้น ลดลงร้อยละ 43.43 จากการส่งออกไปตลาดหลักใน 3 อันดับแรกอย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และอิสราเอล ได้ลดลงร้อยละ 53.03, ร้อยละ 5.92 และร้อยละ 56.84 ตามลำดับ โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และกาตาร์เป็นเครื่องประดับทอง ส่วนสินค้าส่งออกหลักไปยังอิสราเอลเป็นเพชรเจียระไนและเพชรก้อน ที่ล้วนมีมูลค่าลดลง

            มูลค่าการส่งออกไปยังอินเดียหดตัวลงร้อยละ 55.23 อันเป็นผลกระทบจากการที่อินเดียกำลังเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 ที่ระบาดอย่างหนักจนถึงปัจจุบันนี้ ทำให้ผู้บริโภคใช้จ่ายซื้อสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพเท่านั้น อีกทั้งความต้องการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยของประเทศคู่ค้าก็ลดลงด้วย จึงทำให้ไทยส่งออกสินค้าสำคัญไปยังอินเดียได้ลดลง อาทิ เพชรเจียระไน โลหะเงิน พลอยก้อน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน รวมถึงเครื่องประดับเงิน ที่ต่างปรับตัวลดลงมาก

            ส่วนการส่งออกไปยังอาเซียนลดลงร้อยละ 63.20 จากการส่งออกไปยังสิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม ตลาดหลักใน 3 อันดับแรกได้ลดลงร้อยละ 69.45, ร้อยละ 12.77 และร้อยละ 7.98 ตามลำดับ โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังสิงคโปร์เป็นเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า และสินค้าสำคัญถัดมาเป็นเครื่องประดับทอง ต่างมีมูลค่าหดตัวลง ส่วนการส่งออกไปยังมาเลเซียลดลง เนื่องจากการส่งออกเครื่องประดับเงินซึ่งเป็นสินค้าหลักในปีที่ผ่านมาลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง ในขณะที่เครื่องประดับทองขยับขึ้นมาเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 เติบโตได้ร้อยละ 36.99 สำหรับตลาดเวียดนาม ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ โดยสินค้าหลักเป็นอัญมณีสังเคราะห์ ซึ่งหดตัวลง ส่วนสินค้าสำคัญอื่นยังขยายตัวได้ ได้แก่ เพชรเจียระไน โลหะเงิน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน

            ส่วนมูลค่าการส่งออกไปยังญี่ปุ่นปรับตัวลดลงร้อยละ 21.51 โดยเป็นผลจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับทอง และสินค้าสำคัญรองลงมาอย่างเครื่องประดับแพลทินัม เพชรเจียระไน และเครื่องประดับเงิน ได้ลดลง อันเนื่องจากความต้องการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยภายในประเทศลดลง จากภาวะเศรษฐกิจหดตัวอย่างต่อเนื่อง

            การส่งออกไปยังจีนปรับตัวลดลงร้อยละ 27.89 แม้ว่าจีนจะควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้และผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์แล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม หากแต่ธุรกิจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ การเดินทาง และการค้าขายก็ยังไม่กลับมาในระดับปกติ ผู้นำเข้าจีนจึงชะลอการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย ส่งผลให้ไทยส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงิน ในสัดส่วนราวร้อยละ 90 และเครื่องประดับเทียม สินค้าสำคัญลำดับถัดมาไปยังตลาดนี้ได้ลดลง  

            มูลค่าการส่งออกไปยังหมู่เกาะแปซิฟิกลดลงร้อยละ 5.73 อันเป็นผลจากการส่งออกไปยังออสเตรเลีย ซึ่งครองส่วนแบ่งสูงสุดราวร้อยละ 86 ได้ลดลงร้อยละ 5.46 โดยไทยส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเครื่องประดับทองได้ลดลงมาก ในขณะที่สินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินก็เติบโตได้เพียงเล็กน้อย อีกทั้งไทยยังส่งออกไปยังนิวซีแลนด์ ตลาดในอันดับ 2 ได้ลดลงร้อยละ 4.72 เนื่องจากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินหดตัวลง ส่วนสินค้าสำคัญถัดมาอย่างเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า และโลหะเงิน ยังสามารถขยายตัวได้ดี

            สำหรับการส่งออกไปยังรัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราชเติบโตได้ร้อยละ 5.29 โดยเป็นผลจากการส่งออกไปยังรัสเซีย ตลาดหลักอันดับ 1 ได้สูงขึ้นร้อยละ 13.77 จากการส่งออกสินค้าสำคัญทั้งเครื่องประดับเงิน เพชร-เจียระไนและเครื่องประดับทองได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งไทยยังสามารถส่งออกไปยังคาซัคสถาน ตลาดในอันดับ 4 ได้สูงกว่า 1.48 เท่า เนื่องจากการส่งออกเครื่องประดับทอง ที่เติบโตกว่า 64.55 เท่า ส่วนการส่งออกไปยังอาร์เมเนีย และยูเครน ตลาดในอันดับ 2 และ 3 หดตัวลงร้อยละ 8.12 และร้อยละ 63.09 ตามลำดับ ซึ่งการส่งออกไปยังอาร์เมเนียลดลง จากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนได้ลดลง ส่วนการส่งออกไปยังยูเครนลดลงนั้น เนื่องจากการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายได้ลดลง ได้แก่ อัญมณีสังเคราะห์ เครื่องประดับเงิน พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน และเพชรเจียระไน ตามลำดับ

ตารางที่ 4 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ไปยังตลาด/ภูมิภาคต่างๆ ในระหว่างปี 2562 – 2563

ประเทศ/ภูมิภาค

มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

ม.ค.-ส.ค. 62

ม.ค.-ส.ค. 63

ม.ค.-ส.ค. 62

ม.ค.-ส.ค. 63

สหภาพยุโรป

1,073.04

769.78

20.48

26.23

-28.26

สหรัฐอเมริกา

832.60

617.75

15.89

21.05

-25.80

ฮ่องกง

1,206.77

491.25

23.03

16.74

-59.29

กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

368.25

208.32

7.03

7.10

-43.43

อินเดีย

438.56

196.35

8.37

6.69

-55.23

อาเซียน

405.78

149.33

7.74

5.09

-63.20

ญี่ปุ่น

142.45

111.81

2.72

3.81

-21.51

จีน

138.28

99.71

2.64

3.40

-27.89

ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก

91.51

86.27

1.75

2.94

-5.73

รัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช

13.26

13.97

0.25

0.48

5.29

อื่นๆ

529.74

190.46

10.11

6.49

-64.05

รวม

5,240.25

2,935.00

100.00

100.00

-43.99

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

7 ตุลาคม 2563

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที